ธุรกิจมาแรงหลัง “รถคันแรก” ปลดล็อค 5 ปี

%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%81

จากโครงการรถยนต์คันแรกที่เริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2011 และได้ครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2016 เป็นต้นมา ซึ่งเงื่อนไขสำคัญที่ผูกพันผู้ใช้สิทธิ์โครงการรถยนต์คันแรก คือ ต้องครอบครองรถยนต์และห้ามโอนเปลี่ยนมือในระยะเวลาดังกล่าวโดยที่ผู้บริโภคมักใช้ระยะเวลาในการผ่อนชำระประมาณ 5-6 ปี อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้จองใช้สิทธิ์เกือบ 1.3 ล้านคัน แต่ใช้สิทธิ์จริงประมาณ 1.1 ล้านคัน ทั้งนี้ อีไอซีจึงได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคสำหรับการจับจ่ายใช้สอยในระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้า เพื่อศึกษาแนวโน้มของผู้บริโภคที่กำลังซื้อจะฟื้นคืนกลับมาภายหลังหมดภาระการผ่อนชำระภายใต้โครงการดังกล่าว โดยมีจำนวนผลสำรวจทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 7,249 คน

  • การสิ้นสุดเงื่อนไขรถยนต์คันแรกคาดว่าจะมีผลเพียงเล็กน้อยต่อยอดขายรถยนต์ในประเทศ จากผลสำรวจพบว่าจำนวนผู้ใช้สิทธิ์โครงการฯ ที่ต้องการขายรถคันเก่าแล้วซื้อใหม่โดยรวมประมาณ 7.2% แบ่งเป็นอุปสงค์ที่มีแนวโน้มจะกลับมาในปี 2017 ประมาณ 2.6% คิดเป็นประมาณ 30,000 คัน เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนจะยังชะลอการใช้จ่ายออกไปก่อน อีกทั้งในช่วงต้นปีถึงกลางปีจะยังไม่มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ โดยอุปสงค์อีกส่วนประมาณ 3.2% คาดว่าจะกลับมาในปี 2018 ซึ่งเป็นปีที่จะมีการเปิดตัวรถยนต์นั่งอเนกประสงค์รุ่นใหม่หลายรุ่น สอดคล้องกับผลการสำรวจที่ว่าผู้ใช้สิทธิ์โครงการฯ กว่าครึ่งมีความต้องการซื้อรถคันใหม่ในกลุ่มรถยนต์นั่งอเนกประสงค์ ในขณะที่อุปสงค์ที่เหลือ 1.4% จะกลับมาในปี 2019
  • ผู้ทำแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่าการซื้อหาสินทรัพย์ โดยผลการสำรวจสะท้อนถึงมุมมองของผู้บริโภคที่ต้องการใช้จ่ายในด้านอุปโภคบริโภค โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) การท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศคิดเป็น 24% 2) ของใช้บริโภคประจำวันคิดเป็น 15% และ 3) การตกแต่ง-ต่อเติม-ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยคิดเป็น 13%
  • ตลาดอสังหาฯ มีแนวโน้มได้อานิสงส์ โดย 22% ของผู้ใช้สิทธิ์โครงการฯ สนใจที่จะซื้อที่อยู่อาศัยเป็นลำดับถัดไป จากผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือนและมากกว่าครึ่งต้องการแยกจากครอบครัวหรือเปลี่ยนจากเช่ามาเป็นซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยทำเลที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ซื้อในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนใหญ่เลือกใกล้สถานที่ทำงานและรถไฟฟ้า ในขณะที่ผู้ซื้อในต่างจังหวัด จะเลือกทำเลที่อยู่ใกล้สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้าและโรงพยาบาล นอกจากนี้ ที่น่าสนใจอีกอย่างคือกลุ่มผู้ใช้สิทธิ์โครงการฯ ส่วนใหญ่สนใจที่อยู่อาศัยในแนวราบมากกว่าแนวสูง

อีไอซีมองว่าธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจค้าส่งค้าปลีกมีแนวโน้มที่จะได้อานิสงส์จากการหมดภาระผ่อนจ่ายรถยนต์ โดยภาระการผ่อนรถยนต์ที่ลดลงจะเป็นการผ่อนคลายแรงกดดันด้านกำลังซื้อของครัวเรือนไทยที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัวทั้งจากค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นช้าลงและหนี้ครัวเรือนที่ยังทรงตัวในระดับสูง ทั้งนี้ กลุ่มที่หมดภาระดังกล่าวส่วนมากจะเป็นกลุ่มชนชั้นกลางที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000-50,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ อีไอซีคาดว่าเม็ดเงินจำนวนราว 3-3.3 หมื่นล้านบาทจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ในช่วงปลายปี 2016 ไปจนถึงปี 2018

ขอบคุณข้อมูลจาก  SCB Economic Intelligence Center

แสดงความคิดเห็น