นำเข้าสินค้าจากจีน ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้กรมศุลกากร

นำเข้าสินค้าจากจีน ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้กรมศุลกากร

นำเข้าสินค้าจากจีน ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้กรมศุลกากร

นำเข้าสินค้าจากจีน ขั้นตอนการยื่นเรื่องให้กรมศุลกากร

นำเข้าสินค้าจากจีน เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ใครหลายๆ คนให้ความสนใจ เพราะสินค้าจากประเทศจีนมีราคาที่ค่อนข้างต่ำ สามารถนำมาขายในเมืองไทยได้ดี สังเกตจากข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ในท้องตลาดของบ้านเรา ส่วนมากมักเป็นสินค้าจากจีน ซึ่งขายราคาไม่แพงและเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่นร้าน 20 บาทเป็นต้นที่นำเข้าสินค้าจากจีนมาจำหน่ายต่อ

นำเข้าสินค้าจากจีน คือการนำสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาขายในประเทศไทย เป็นการนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าเหล่านั้นย่อมถูกควบคุมโดยกรมศุลกากรอย่างเข้มงวด หลายคนอยากนำเข้าสินค้าจากจีนมาขาย แต่พอนึกถึงขั้นตอนอันยุ่งซึ่งตนไร้ความรู้ในส่วนนั้นแล้ว ก็รู้สึกท้อใจและถอดใจไปในที่สุด วันนี้เราจึงนำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นไกด์นำทางให้ผู้ประกอบการทั้งหลายสามารถนำเข้าสินค้าจากจีนมาขายได้สำเร็จ

ขั้นตอนแรกของการทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีน คือการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นเรื่องกับกรมศุลกากร โดยเอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อนำเข้าสินค้าจากจีน มีดังนี้

  1. ใบขนสินค้าขาเข้า
  2. ใบตราส่งสินค้า
  3. กรมศุลกากรออกใบเลขที่ส่งสินค้าขาเข้า พร้อมตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง
  4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ
  5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
  6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)
  7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ลิ้งนี้  : แบบฟอร์มทั่วไปกรมศุลการกร

เมื่อเตรียมเอกสารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ของทุกๆ รายการเข้าไปในผ่านทางระบบ Service Counter เป็นลำดับ โดยโปรแกรมดังกล่าวจะทำการแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นใบขนส่งสินค้า จากนั้นผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าจากจีนก็สามารถนำใบขนส่งสินค้าที่แปลงข้อมูลแล้วมาส่งให้กับกรมศุลกากรผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้เลย แล้วกรมศุลกากรก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หากพบความผิดพลาดก็จะทำการส่งคืนให้ผู้ประกอบการแก้ไขอีกครั้ง เมื่อแก้ไขเรียบร้อยก็ทำการส่งกลับมาที่กรมศุลกากรใหม่ หลังจากที่ข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ทางกรมศุลฯ ก็จะออกใบเลขที่ขนสินค้าขาเข้าให้กับผู้นำเข้าสินค้าจากจีน

การตรวจสอบข้อมูลของทางกรมศุลกากร

ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้ตรงกับข้อกำหนดที่ทางกรมศุลกากรกำหนดไว้ โดยจะแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) และใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับสินค้าประเภท Green Line สามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากร และวางประกันที่เกี่ยวข้องได้เลย จะเลือกชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือชำระที่ธนาคารก็ได้ แต่สำหรับสินค้าประเภท Red Line จะต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำเข้าสินค้านั้นๆ ก่อนจึงจะสามารถชำระภาษีอากร และวางประกันที่เกี่ยวข้องได้

การตรวจและปล่อยสินค้า

เมื่อผ่านการตรวจสอบข้อมูลจนเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการตรวจและปล่อยสินค้าออกจากกรมศุลฯ ซึ่งข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบอีกครั้ง พร้อมทั้งผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นในกรณีที่ได้รับการยกเว้น เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยครบถ้วน สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือ

สรุปขั้นตอนของการยื่นเรื่องในกรมศุลกากร

  1. เตรียมเอกสาร
  2. ยื่นเรื่องเพื่อทำการบันทึกข้อมูลและทำการตวรจสอบ
  3. กรมศุลกากรออกใบเลขที่ส่งสินค้าขาเข้า พร้อมตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง
  4. นำใบขนสินค้าไปชำระภาษีอากร (กรณีใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ) หากเป็นกรณีสินค้าที่ต้องตรวจสอบพิธีการให้นำไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าสินค้านั้นๆ ก่อนแล้วจึงจะชำระภาษีอากรได้
  5. สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังท่าเรือ

หมายเหตุ รูปภาพที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น

แสดงความคิดเห็น