อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน!

อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน!

อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน!

อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง
สร้างอาชีพชุมชน!

ในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการถนอมอาหารก้าวหน้าไปมาก มีการพัฒนาวิธีการและอาหารที่นำมาบรรจุอย่างหลากหลาย วิธีถนอมอาหารที่นิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ อาหารกระป๋อง สินค้าประเภทอาหารกระป๋องนั้นมีหลากหลายตั้งแต่อาหารธรรมดาที่หาทานได้ง่าย เช่น ผลไม้กระป๋อง ผักกาดดอง ข้าวโพดกระป๋อง ปลากระป๋อง จนถึงอาหารที่หาทานได้ยากอย่าง ไข่มดแดงกระป๋องและเห็ดกระป๋อง

“คุณลำพูน นิลไชย” หนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกกลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ดค้อเหนือ ต.ค้อเหนือ อ.เมือง จ.ยโสธร ได้ให้ข้อมูลว่าจุดเริ่มต้นของอาหารกระป๋องแบรนด์ “วนาทิพย์” เกิดจากปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในบริเวณพื้นที่ ต.ค้อเหนือ พื้นที่ทำนาของชาวบ้านได้รับความเสียหาย ทำให้ชาวบ้านมีความเดือนร้อนเป็นระยะเวลายาวนาน ประกอบกับภูมิศาสตร์ของพื้นที่ซึ่งมีพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ถึง 3,600 ไร่ อยู่บริเวณสันดอนเนินทรายขนาดใหญ่ น้ำจึงท่วมไม่ถึง ชาวบ้านจึงได้ใช้ผืนป่าบริเวณนี้เป็นที่หล่อเลี้ยงชีวิต โดยเก็บของป่าต่างๆมาบริโภคแต่ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การค้า โดยของป่าที่สามารถหาได้ง่ายและมีจำนวนมากคือเห็ดโคนและไข่มดแดง

อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน! อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน!

จนปีพ.ศ.2543 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จมาเยี่ยมราษฎร และทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานราชการช่วยสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านทดแทนความสูญเสียที่เกิดจากอุทกภัย ทางหน่วยงานราชการต่างๆจึงมีแนวคิดใช้วัตถุดิบของป่ามาทำเป็นสินค้าแปรรูปและถนอมอาหารวางจำหน่าย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยงานราชการได้ส่งนักวิชาการมาสอนคนในท้องถิ่นถึงวิธีการแปรรูปอาหารและถนอมอาหาร อีกทั้งยังมีการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อใช้ในการตั้งต้นอาชีพอีกจำนวนหลายแสนบาท

อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน!

วัตถุดิบของป่าที่นำมาแปรรูป ได้แก่ ไข่มดแดง เห็นโคน เห็ดเผาะ เห็ดระโงก และเห็ดตับเต่า จะแปรรูปและถนอมอาหารด้วยวิธีการแช่ในน้ำเกลือ ส่วนแม่เป้งจะใช้วิธีคั่วเกลือ ผลิตภัณฑ์ของป่าแปรรูปเหล่านี้มีทั้งในรูปอาหารกระป๋องและบรรจุในขวดโหล ซึ่งกระบวนการบรรจุได้ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่พร้อมอย่างดี เช่น เครื่องฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เครื่องบรรจุ รวมถึงสถานที่ที่ได้มาตรฐาน ทำให้มั่นใจในความสะอาดและปลอดภัยได้ หลังจากนั้นจึงออกวางจำหน่าย โดยช่วงแรกจะจำหน่ายตามตลาดจังหวัดและได้รับเสียงตอบรับอย่างดีเยี่ยม จนเป็นที่นิยมและมีคนรู้จักมากยิ่งขึ้น และได้รับรางวัลการันตีคุณภาพเป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว ประจำจังหวัดยโสธร ยอดการสั่งซื้ออาหารกระป๋องจึงมีมาอย่างต่อเนื่อง

การทำอาหารกระป๋องแปรรูปวนาทิพย์ยังเป็นกิจกรรมสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นได้จำนวนมาก โดยรายได้ของกลุ่มเป็นหลักล้านบาทต่อปี สมาชิกกลุ่มมีรายได้เดือนละหลักหมื่นบาท จากเดิมที่มีผู้บุกเบิกเพียง 20 คนได้ขยายตัวมากขึ้น 3 เท่าเป็น 63 คนแล้วในปัจจุบัน

อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน! อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน!

นอกจากนี้ อาหารกระป๋องวนาทิพย์ ยังมีข้อได้เปรียบตรงที่อาหารที่นำมาแปรรูปเป็นของที่ไม่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป มีการเจริญเติบโตเฉพาะพื้นที่เท่านั้น ไม่สามารถเพาะปลูกเองได้ และของป่าเหล่านี้ยังมีการเติบโตตามฤดูกาลทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าก่อนแปรูปจำหน่ายที่ค่อนข้างสูง เรื่องคู่แข่งทางอุตสาหกรรมจึงไม่ใช่ประเด็นปัญหาหลักสำหรับกลุ่มธุรกิจชาวบ้านนี้ ยอดขายอาหารกระป๋องจึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะมีลูกค้าจองคิวซื้อล่วงหน้าหลายราย ซึ่งมักจะเป็นร้านอาหารทั่วประเทศ ข้อดีของอาหารกระป๋องวนาทิพย์อีกสิ่งหนึ่งคือ เป็นธุรกิจที่ทำให้คนมีความสำนึกรักในบ้านเกิด ปลูกฝังค่านิยมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะวัตถุดิบที่นำมาผลิตนั้นสามารถหาได้ง่ายที่ป่าในพื้นที่ ถ้าป่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก วัตถุดิบก็จะมีมาก แต่ถ้าชาวบ้านไม่สนใจรักษาผืนป่านั้นไว้ การหาของป่ามาเป็นวัตถุดิบแปรรูปอาหารก็จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป

อาหารกระป๋อง “วนาทิพย์” จับไข่มดแดง-เห็ดโคนมาใส่กระป๋อง สร้างอาชีพชุมชน!

แนวทางการประกอบอาชีพดีๆแบบนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแต่ละคนได้ แต่การประกอบอาชีพที่สุจริตคือ ต้องอย่าลืมว่าเราต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อนทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลติดต่ออาหารกระป๋องวนาทิพย์
เบอร์โทรศัพท์ : 087-1537934 , 088-7251430

 

หมายเหตุ : รูปภาพที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น 

แสดงความคิดเห็น