Credit: baranq/Shutterstock

เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการ : 5 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ

Credit: baranq/Shutterstock
Credit: baranq/Shutterstock

เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการ : 5 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จ

หลายคนฝันที่จะเป็นผู้ประกอบที่ประสบความสำเร็จกับธุรกิจในแบบที่ตัวเองต้องการและอยากทำมันออกมาให้คนทั้งโลกได้รู้ว่า นี่คือธุรกิจในฝันและฉันทำมันออกมาได้ดี!! แต่กว่าจะมายืนอยู่จุดนั้นได้ หลายๆคนก็ล้มเลิกความตั้งใจไปเสียกลางครันบ้างด้วยเหตุผลนานัปการ เพราะโลกแห่งความจริงนั้นมันต่างจากโลกแห่งความฝัน ซึ่งเราไม่มีวันจะออกแบบมันได้ตามใจ หากรีบร้อนจนเกินไปอาจส่งผลให้ก้าวผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย แต่หากไม่เริ่มต้นทำอะไรเลย ก็ไปไม่ถึงฝั่งอยู่ดี ดังนั้นการเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสความเสี่ยง ย่นระยะเวลาไปสู้ความสำเร็จได้เร็วขึ้น และนี่คือ 5 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในฐานะผู้ประกอบการ

1. ประเมินศักยภาพของตัวเอง
การประเมินศักยภาพของตัวเองถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเริ่มต้นในอันดับต้นๆ ประเมินตัวเองอย่างตรงไปตรงมาหรือให้บุคคลรอบข้างที่ไว้ใจได้หรือครอบครัวช่วยประเมินร่วมด้วย เพื่อมองหาข้อบกพร่องด้านต่างๆและเตรียมแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไข เพราะเมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าจะต้องเจอกับปัญหาน้อยใหญ่ตามมาในรูปแบบต่างๆอย่างแน่นอน หากมีความพร้อมและมีศักยภาพพอก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและรับมือกับสถานการณ์อันยากลำบากอื่นๆได้อย่างง่ายดายทั้งในเรื่องธุรกิจและบุคลากร

2. หาที่ปรึกษา
ไม่ว่าคุณจะกำลังศึกษาเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการหรือกำลังจะเริ่มต้นธุรกิจใดๆ การขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาจากมืออาชีพ จะช่วยให้การเริ่มต้นธุรกิจของคุณหรือการเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ประกอบการเป็นไปด้วยดี เพราะพวกเขาเหล่านั้นจะมีคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ และกลยุทธ์ต่างๆ รวมทั้งวิธีแก้ไขปัญหาเมื่อคุณต้องเผชิญได้อย่างตรงจุดและตอบโจทย์ “ประสบการณ์ของนักธุรกิจมืออาชีพ คือ วิชาความรู้ที่หาไม่ได้จากในห้องเรียน”

3. เรียนรู้ที่จะฟัง
บทเรียนที่สำคัญที่สุดของนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการคือ “เรียนรู้ที่จะรับฟังลูกค้า” หากขาดลูกค้านั่นหมายถึงความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์รวมทั้งธุรกิจนั้นๆด้วย กุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยงที่จะเกิดความล้มเหลวนั้น นั่นคือผู้ประกอบการจะต้องรับฟังเสียงจากลูกค้าและจัดหาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลุกค้าหรือผู้บริโภคนั่นเอง วิธีการคือ ออกไปพบลูกค้าและพูดคุยกับลูกค้า ย้ำว่า “อย่าขาย” แค่พูดคุยเท่านั้นไม่ใช่เป็นการไปเชิญชวนขายสินค้า แต่ให้ฟังและเรียนรู้เกี่ยวปัญหาในขอบเขตที่คุณอยากทราบ เก็บข้อมูล และกลับมาวิเคราะห์เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตสินค้าในขั้นต่อไป

4. สร้างนิสัยที่ดี
บางคนชื่อว่ากามี”บุคลิกภาพ”ที่ดีเป็นแนวโน้มที่จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนทำธุรกิจใดๆ แต่อันที่จริงนอกจากบุคลิกภาพภายนอกแล้ว “การสร้างลักษณะนิสัยที่ดี”ต่างหากที่จะส่งผลยั่งยืนในระยะยาว การรู้จักปฏิบัติต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงานที่จริงใจนั่นคือกุญแจสำคัญในการทำงานร่วมกัน ผู้ประกอบการควรจะปลูกฝังนิสัยที่ดีเกี่ยวกับการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของโอกาสต่างๆที่ผ่านเข้ามา การรับรู้สิ่งเร้าที่เป็นไปได้ การปฏิบัติจริงและการชักชวน เป็นต้น องค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยสร้างอุปนิสัยของการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ

5. ค้นหาทรัพยากรที่เหมาะสม
ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่ครั้งแรกด้วยทรัพยากร(สินค้า)เพียงประเภทเดียวที่คุณลงมือทำ ซึ่งจริงๆแล้วบนโลกใบนี้ยังมีทรัพยากรอีกมากมายที่รอให้ค้นหามันให้ เพียงแค่คุณต้องมองหาทรัพยากรที่เหมาะสมนั่นคือ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย(ลูกค้า), เหมาะสมกับตลาด(เป็นที่ต้องการของตลาด), และที่สำคัญเหมาะสมกับความถนัดและความเชี่ยวชาญของคุณพอสมควร หากมีความเหมาะสมทั้งสามอย่างนี้แล้ว ทรัพยากรต่างๆรอบตัวก็สามารถนำมาสร้างเป็นสินค้าต่อยอดเป็นธุรกิจได้ ซึ่งไม่แน่มันอาจจะกลายเป็นสินค้าที่ทำให้คุณกลายเป็นผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจชั้นแนวหน้าก็เป็นได้

แสดงความคิดเห็น