บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”
บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”

บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”

บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”

บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”

“บอร์ดเกมคาเฟ่” เกมกระดาน หรือเกมบอร์ด สุดแท้แต่ใครจะเรียก พูดแล้วอาจไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรแต่อย่างใดสำหรับยุค 2000 แต่สำหรับคนบางกลุ่มและวัยรุ่นสมัยใหม่ บอร์ดเกมคาเฟ่ อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับพวกเขา การวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไป สังคมยุคโซเช๊ยล สื่อดิจิตอลเข้ามาแทนที่ รูปแบบการละเล่นก็เปลี่ยนแปลงเข้าสู่เกมออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน แลปท็อปเสียเกือบทั้งหมด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอาจบดบังความคลาสสิก จนหลงลืมบอร์ดเกมคาเฟ่กันไปเสียแล้ว

บอร์ดเกมคาเฟ่ เริ่มขึ้นที่ประเทศไทยครั้งแรกเมื่อราวปี 2009 ใช้ชื่อว่า “ลานละเล่น” ตั้งอยู่ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดีสำหรับนักศึกษามหิดล เจ้าของร้านคือ “คุณสราวดี ผดุงศิริเศรษฐ์” หรือคุณหญิง ร่วมกับเพื่อน “คุณพนม ศิริมงคลสกุล” (เล็ก) และ “คุณพรเทพ โสภณสกุลสุข” (เทพ) เริ่มแรกเปิดเป็นสถาบันติวให้กับเด็กชั้นประถม โดยพยายามหาสิ่งที่เสริมทักษะเข้ามาสอนควบคู่ไปกับวิชาการ เห็นว่าบอร์ดเกมนั้นจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนได้ ทั้งการฝึกสมาธิ ไหวพริบ การแก้ปัญหา กระบวนการคิด และนันทนาการ จริงๆแล้วบอร์ดเกมนั้นมีมานานแล้วในต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากผู้คนหันมาสนใจเทคโนโลยีสมัยใหม่เสียมากกว่า

บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”  บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”

ก่อนที่จะกลายมาเป็นบอร์ดเกมคาเฟ่อย่างปัจจุบันนั้น นอกจากจะเป็นสถาบันติวแล้วยังเปิดเป็นร้านกาแฟ ขายกาแฟควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้ปกครองที่มารอรับเด็กได้นั่งทานเครื่องดื่มเย็นๆระหว่างที่รอรับบุตรหลาน ต่อมาช่วงหลังเมื่อมีการเล่นบอร์ดเกมซึ่งเป็นเกมที่สามารถเล่นร่วมกับผู้ใหญ่ได้ จึงได้เริ่มให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการเล่นบอร์ดเกมกับเด็กๆด้วย พอถึงวันหยุดหลายคนก็พาลูกๆมานั่งเล่นบอร์ดเกมที่ร้านอยู่บ่อยๆ ต่อมาก็ได้กลายเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งไปโดยปริยาย เมื่อเห็นเช่นนั้นจึงตัดสินใจเปิดเป็นร้านบอร์ดเกมคาเฟ่จนถึงทุกวันนี้

แรกเริ่มที่เปิดเป็นบอร์ดเกมคาเฟ่นั้นไม่คาดว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี แต่พอข้าจริงๆแล้วกลับมีลูกค้าแวะเวียนเข้ามาเล่นแน่นร้านทุกวัน เสน่ห์ของบอร์ดเกมจะอยู่ที่การได้สร้างปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่ม ไม่ว่าจะครอบครัว กลุ่มเพื่อน การได้พูดคุย หยอกล้อ ร่วมมือกันแข่งกันแบบซึ่งหน้า อารมณ์และความรู้สึกที่สัมผัสได้ ณ ขณะนั้น เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของบอร์ดเกมซึ่งเกมออนไลน์นั้นไม่มี

บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”

ปัจจุบันร้านบอร์ดเกมคาเฟ่ มีเกมให้เลือกเล่นกว่า 400 เกม คัดสรรเกมสนุกๆจากทั่วโลกมารวมไว้ที่นี่ นอกจากนี้ยังบริการขายกาแฟหอมๆ พร้อมเสิร์ฟให้ตลอดทั้งวัน กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษา นักเรียน นิยมมากันแบบกลุ่ม ก๊วน ทีม ฉบับครอบครัวก็มีมาอยู่บ่อยๆ

อัตราค่าบริการจะคิดแบบรายชั่วโมง ชั่วโมงแรก 65 ชั่วโมงต่อไปชั่วโมงละ 35 บาท นอกจากนี้ยังมีบริการให้เช่าบอร์ดเกมไปเล่นนอกสถานที่ โดยคิดค่าบริการเป็นวัน วันละ 80 บาท 120 บาท และ 150 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกมที่เลือก หรือถ้าหากใครที่เล่นแล้วติดใจอยากจะซื้อกลับไปเล่นที่บ้าน ทางร้านก็มีขายทั้งปลีก-ส่ง จัดส่งให้ทั่วประเทศกันเลยทีเดียว

บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”  บอร์ดเกมคาเฟ่ ดึงสังคมก้มหน้าสู่กระดานเกม ไอเดียย้อนกระแสโซเชียล “ลานละเล่น”

บอร์ดเกมคาเฟ่ ธุรกิจร้านที่ดูเหมือนธรรมดาๆ แต่สามารถดำเนินธุรกิจมาได้หลายปี และมีการขยายตัวขึ้นในทุกๆปี เป็นที่รู้จักมากขึ้น ลูกค้ามากขึ้น เม็ดเงินที่เข้ามาก็มากขึ้นตามไปด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วการได้ใช้เวลาร่วมกัน รับรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันต่อหน้า เป็นการเพิ่มความสุขและช่วงเวลาอันแสนอบอุ่น แทนที่จะต่างคนต่างนั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไป เป็นสังคมก้มหน้าดังเช่นทุกวันนี้

ข้อมูลติดต่อบอร์ดเกมคาเฟ่
ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตรงข้ามมหิดล ศาลายา, Nakhon Pathom 73170
เบอร์โทร : 081 850 1453, 081 559 5016
Email : lanlalen_cafe@hotmail.com, lanlalenbgcafe@gmail.com
Website : http://www.youtube.com/LanlalenCafe
Facebook : https://www.facebook.com/lanlalencafe

หมายเหตุ : รูปภาพและวีดีโอที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น

แสดงความคิดเห็น