เอสเอ็มอีไทย-เออีซี
เอสเอ็มอีไทย-เออีซี

ชี้เอสเอ็มอีไทยกว่า60%ปรับตัวไม่ทันรับเออีซี

เอสเอ็มอีไทย-เออีซี
เอสเอ็มอีไทย-เออีซี

ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย ชี้เอสเอ็มอีไทยกว่า 60% ปรับตัวไม่ทันรับเออีซีปี58

ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความเห็น”ผู้ประกอบการผลิตและส่งออกไทย ปรับตัวไปแค่ไหนภายใต้เออีซี”จากการสำรวจผู้ผลิตและส่งออกไทยจำนวน 1,000 ราย ครอบคลุม 19 รายการสินค้า

นายอัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผู้ผลิตและส่งออกที่เป็นกลุ่มเอสเอ็มอีมากกว่า 63.1% หรือประมาณ 3.21 แสนราย จากจำนวนเอสเอ็มอีในภาคผลิตทั้งหมด 5.12 แสนราย คิดว่าปรับตัวไม่ทันเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558

การที่ผู้ผลิตและส่งออกเอสเอ็มอีไทยยังไม่มีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อเข้าสู่เออีซีนั้น จะทำให้สูญเสียในแง่ของมูลค่าการค้าไป และเสียเปรียบขีดความสามารถการแข่งขันกับเพื่อนบ้าน เพราะไม่รู้และไม่เข้าใจว่ าจะใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่เออีซีอย่างไรได้บ้าง

อีกทั้งยังเสียโอกาสในการเข้าไปลงทุนตั้งบริษัทใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหากปล่อยไว้ในอนาคตเอสเอ็มอีกลุ่มนี้ที่ปรับตัวไม่ทันก็จะต้องทยอยปิดกิจการไป เพราะแข่งขันไม่ได้ แต่คงจะยังไม่เห็นทันทีในปี 2558

ทั้งนี้ ผู้ผลิตและส่งออกที่เป็นเอสเอ็มอีในกลุ่มสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ประมง ไก่ และยางพารา ส่วนเอสเอ็มอีในภาคอุตสาหกรรมที่พบว่าปรับตัวไม่ทัน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น อุตสาหกรรมเซรามิก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

“จากผลสำรวจจะเห็นว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนมากกว่า 60.8% หรือประมาณ 3.09 แสนราย ต้องการเวลาอีก 2 ปีครึ่งในการปรับตัว หรือพร้อมที่ปรับตัวเข้าสู่เออีซีได้เสร็จภายในปี 2559 ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ส่วนมากต้องการเวลาอีกปีครึ่งในการปรับตัว หรือพร้อมปรับตัวเข้าสู่เออีซีในปี 2558”

นอกจากนี้ยังพบว่า ในปี 2556 มีผู้ผลิตและส่งออกในกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ยังไม่ดำเนินการปรับตัวเพื่อเข้าสู่เออีซีมากถึง 43.7% หรือประมาณ 2.25 แสนราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการ 42.2% หรือประมาณ 2.14 แสนราย ทั้งนี้สาเหตุที่ผลิตและส่งออกเอสเอ็มอีที่ยังไม่ปรับตัวเพราะ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเออีซีในเชิงลึกเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าต่างๆและการเข้าถึงตลาดในอาเซียนมากถึง 53% รองลงมาคือ รอแนวทางและนโยบายช่วยเหลือที่ชัดเจนจากภาครัฐ 13% และกำลังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อหาแนวทางปรับตัว 13%

ขณะเดียวกันผู้ผลิตและส่งออกเอสเอ็มอี ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ ในการปรับตัวเข้าสู่เออีซีคือ การสนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือสำหรับการปรับตัวและพัฒนาธุรกิจ 23.4% ส่งเสริมเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพแรงงานฝีมือและทักษะด้าน

ขอบคุณข้อมูลจาก  กรุงเทพธุรกิจ

แสดงความคิดเห็น