โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป
โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป

เสื้อผ้า เป็นสินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่อง เนื่องจากเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่สำคัญ ขณะที่ผู้คนในสังคมทุกวันนี้ก็ให้ความสำคัญกับการแต่งกาย จึงไม่น่าแปลกใจที่จะกลายเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้ามาลงทุนและประกอบกิจการ สะท้อนจากมูลค่าตลาดของธุรกิจแฟชั่นเสื้อผ้ามีความคึกคักและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในรูปแบบของการค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้า

ที่มีอยู่ให้เห็นอย่างแพร่หลายกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามีมูลค่าในประเทศไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท ทั้งนี้ แหล่งค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ใหญ่ที่สุดของไทยอยู่ที่ประตูน้ำ แพลทินัม โบ๊เบ๊ และจตุจักร เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าสำคัญที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะสามารถเลือกซื้อและนำไปจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง ไม่ว่าจะตามหน้าร้านของตนเอง ตลาดนัด ตลาดเปิดท้าย หรือย่านช็อปปิ้ง เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ กลุ่ม Designer ที่ผลิตและจำหน่ายเอง มีการจัดหน้าร้านที่แปลกตาดูทันสมัยเข้ากับธีมเสื้อผ้าที่จัดจำหน่าย หรือการเปิดขายออนไลน์ในอินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งร้านค้าเสื้อผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศแล้วนำมาจำหน่ายต่ออีกทอด เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การประกอบกิจการในลักษณะนี้ทำได้ไม่ยาก แต่การอยู่รอดในธุรกิจกลับสวนทางกัน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเข้ามาสู่สนามการแข่งขันในธุรกิจนี้ แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นั่นเป็นผลมาจากพลวัตในการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป ตามทิศทางของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภค จะเห็นได้ว่า โดยธรรมชาติของสินค้าแฟชั่นต้องวิ่งแข่งกับเวลาตามความรู้สึกของลูกค้า ในขณะเดียวกัน ระยะเวลาการขายก็เริ่มสั้นลงเรื่อยๆ เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าแต่ก่อน ประกอบกับแนวโน้มการจับจ่ายของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เช่น เดิมผู้บริโภคเคยจับจ่ายเสื้อผ้าที่มีคุณภาพ เน้นราคาและตราสินค้าเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเริ่มปรับเปลี่ยนไปสู่สินค้าที่มีราคาถูกลง แต่เน้นจับจ่ายเสื้อผ้าที่สามารถมิกซ์แอนด์แมทซ์และเป็นไปตามแฟชั่นสมัยนิยม ภายใต้ราคาที่ไม่สูงมากนัก

นอกจากนี้ วิถีชีวิตของกลุ่มลูกค้าร้านเสื้อผ้าในยุคใหม่ ที่ผูกพันกับการเข้าถึงเทคโนโลยี อาทิ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต/สังคมออนไลน์ ผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตยุคใหม่อย่างสมาร์ทโฟน ส่งผลให้กระแสการตื่นตัวกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เข้ามามีอิทธิพลต่อการจับจ่ายสินค้าในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (เนื่องจากคนส่วนใหญ่มีเวลาในการออกไปช็อปปิ้งน้อยลง แต่ยังต้องการสินค้ากลุ่มเครื่องแต่งกายเข้ามาเติมเต็มความต้องการในชีวิตอยู่ โดยเฉพาะวัยรุ่น/วัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจนี้) ทำให้ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้า จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และวิธีการจัดการของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น แม้ว่าธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ก็ยังเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในแง่ของโอกาสทางการค้าในการที่จะจับกำลังซื้อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น/วัยทำงาน ที่มีความถี่ในการซื้อและมีความเต็มใจที่จะจ่ายในสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างสูง

กระแสความเคลื่อนไหวในธุรกิจที่น่าจับตา & โอกาสและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเรียนรู้

หากวิเคราะห์ถึงความเคลื่อนไหวในธุรกิจ จะพบว่า ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ทั้งในแง่ของผู้เล่นในตลาด พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจ รวมไปถึงกลยุทธ์การตลาด โดยมีประเด็นที่น่าจับตามอง ดังนี้

ช็อปปิ้งออนไลน์มีบทบาทกับการจับจ่ายของผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น: การค้าปลีกบนโลกออนไลน์ หรือที่เรียกว่า “E-Commerce” เป็นช่องทางการซื้อสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในปัจจุบัน เนื่องจากความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางด้านไอทีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่ อาทิ อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ทำให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในการทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น และใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ ของผู้ประกอบการได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ บรรดาผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้า เริ่มหันมาให้ความสนใจขยายช่องการทำตลาดผ่านทางออนไลน์มากขึ้น นอกเหนือจากการทำตลาดผ่านช่องทางหลัก เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโต ในขณะที่ผู้บริโภคก็ให้การตอบรับกับการซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้เพิ่มขึ้น

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่ยังคงมีแผนขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง: โดยเฉพาะพื้นที่ในต่างจังหวัด เนื่องจากมองเห็นโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในต่างจังหวัด รวมถึงพื้นที่ที่เชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านในระยะข้างหน้า จากปัจจัยหนุนทางด้านการเติบโตของความเป็นเมือง (Urbanization) และการค้าชายแดน ที่กระตุ้นให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าในการที่จะเข้าไปเปิดตลาดในทำเลสำคัญดังกล่าว อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครราชสีมา ขอนแก่น ภูเก็ต สระแก้ว เป็นต้น

ผู้บริโภคหันมาสนใจการแต่งกายเพื่อเสริมบุคลิกภาพ ต้องการสินค้าที่ทันสมัยและแตกต่างไม่ซ้ำใคร: รสนิยมของกลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบันมีความหลากหลาย มีความต้องการสินค้าที่มีเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงความเป็นตัวเองและเริ่มกล้าแต่งตัวกันมากขึ้น จะเห็นได้จากรูปแบบของแฟชั่นที่เริ่มมีความแตกต่างและหลากหลายกว่าสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบการแต่งตัว และกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องการหาจุดเด่นให้กับตนเอง เพื่อเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีมีรสนิยม เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งในเรื่องของการทำงาน หรือไลฟ์สไตล์ในการดำเนินชีวิต เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเพื่อสวมใส่ออกงานสังคม งานปาร์ตี้ ออกไปช็อปปิ้ง กินข้าวกับกลุ่มเพื่อนฝูง เป็นต้น

มีร้านค้าใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละร้านมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น: เช่น เสื้อผ้าของกลุ่ม Designer หน้าใหม่ที่ผลิตและจำหน่ายเอง มีการจัดหน้าร้านที่แปลกตาดูทันสมัยเข้ากับธีมเสื้อผ้าที่จัดจำหน่าย หรือการเปิดขายออนไลน์ในอินเทอร์เน็ต ร้านเสื้อผ้าที่ตอบโจทย์เฉพาะกลุ่ม อาทิ คนที่มีปัญหารูปร่างเฉพาะส่วนอย่าง คนที่มีรูปร่างอ้วน หรือแม้กระทั่งร้านค้าเสื้อผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศแล้วนำมาจำหน่ายต่ออีกทอด ซึ่งการเปิดตัวของร้านค้าใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการเพิ่มคู่แข่งในสมรภูมิการค้าด้วยเช่นกัน

แฟชั่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการสต็อกสินค้าน้อยลง และต้องระบายสินค้าให้รวดเร็วมากขึ้น: อุปสรรคอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้า ก็คือ การบริหารจัดการเกี่ยวกับสต็อกสินค้า จะเห็นได้ว่า แฟชั่นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (เดิมเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 เดือน/ครั้ง แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น 1-2 สัปดาห์/ครั้ง) โดยหากเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม ทางร้านจะต้องมีสินค้าวางอยู่หน้าร้านอย่างรวดเร็วและต้องรีบระบายสินค้าออกสู่ตลาดให้ได้มากที่สุด ดังนั้น การวิเคราะห์หรือคัดเลือกสินค้าที่จะเข้ามาจำหน่ายจึงมีความสำคัญมาก โดยหากผู้ประกอบการคาดการณ์หรือมอง เทรนด์ตลาดได้อย่างถูกต้อง สินค้าจะได้รับการตอบรับสูงและมียอดสั่งซื้อมาก ในทางกลับกันหากมองเทรนด์ตลาดผิดไป สินค้าก็จะได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคน้อยทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ
โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป

จากความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในตลาด จะเห็นได้ว่าเป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทาย หากผู้ประกอบการ SMEs สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว โดยเฉพาะการวางแผนการตลาด การบริหารร้านค้า และการเพิ่มยอดขาย

กลยุทธ์การบริหารธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป ภายใต้พลวัตทางการค้า & ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

สำหรับกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าที่ผู้ประกอบการ SMEs ยุคใหม่จะต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวทางที่ดียิ่งขึ้น ในช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้น “การนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์” ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเป้าหมาย ที่จะส่งผลให้ผู้ประกอบการมีช่องทางการจัดจำหน่ายและเข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่าเดิม

ทั้งนี้ การนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ สื่อโซเซียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นทาง Facebook Instagram Line หรือเว็บไซต์โดยตรงของทางร้าน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้งและเงินทุนในการที่จะมีหน้าร้าน อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นช่องทางในการทดลองตลาดสำหรับสินค้าเสื้อผ้าใหม่ๆ ว่าจะเป็นที่ถูกตาต้องใจผู้บริโภคหรือไม่ นอกจากนี้ รูปแบบนี้ยังก่อให้เกิดกระแสบอกต่อหรือขยายฐานผู้บริโภคในวงกว้างได้ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงาน ที่ชื่นชอบและให้ความสนใจกับการช็อปปิ้งออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ก็คือ การสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาเลือกชมสินค้าในร้าน อาทิ การนำเสนอผ่านนางแบบ/นายแบบ ที่สามารถดึงความสนใจของผู้บริโภคจากการสวมใส่เครื่องแต่งกาย ทั้งนี้ ควรมีการบ่งบอกไซส์หรือขนาด โทนสีให้เลือกสรรอย่างชัดเจน มีการมิกซ์แอนด์แมทซ์เสื้อผ้าให้เป็นทางเลือกหรือไอเดียในการแต่งกายให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งควรมีการนำเสนอคอลเลคชั่นเสื้อผ้าใหม่ๆ ออกมาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีบริการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคภายในระยะเวลาไม่นาน เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเพลิดเพลินและสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ผู้ประกอบการเองก็สามารถลดต้นทุนต่างๆ ไปได้มาก อาทิ ค่าเช่าหน้าร้าน (ในกรณีที่ต้องเช่าพื้นที่) ค่าโฆษณา ค่าประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านออนไลน์ ผู้ประกอบการ SMEs ควรจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการมากขึ้น โดยแนวทางที่น่าสนใจและน่าจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาด รวมถึงเพิ่มกำไรและลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ ได้แก่

ให้ความสำคัญกับการมองเทรนด์ของตลาด เพื่อคัดเลือกประเภทเสื้อผ้าที่จะจำหน่าย: ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการควรมีการศึกษาแนวโน้มตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้พลาดการเปลี่ยนแปลงของแฟชั่นในตลาด และคาดการณ์ไปถึงความต้องการของผู้บริโภคที่จะมีต่อกระแสแฟชั่นนั้นๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ อาทิ กระแสสังคมในขณะนั้น (เช่น การแต่งตัวตามแบบผู้มีชื่อเสียง/ ภาพยนตร์หรือละคร) มุมมองของลูกค้าที่มีต่อสินค้า รูปแบบดีไซน์เปรียบเทียบกับคู่แข่ง และเทรนด์ที่มีอยู่ในท้องตลาด ฤดูกาลของแฟชั่นนั้นๆ รวมไปถึงสภาพทางสังคม ภูมิอากาศ รูปร่างของลูกค้าที่เป็นผู้สวมใส่ เป็นต้น โดยช่องทางที่ผู้ประกอบการสามารถศึกษาเทรนด์ของตลาด ได้แก่ สื่ออินเทอร์เน็ต แฟชั่นวีคในแต่ละฤดูกาล หรือกระแสการแต่งตัวของดารา/นางแบบในสังคมผ่านสื่อบันเทิงต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ในลำดับต่อไปหากผู้ประกอบการคัดเลือกประเภทเสื้อผ้าที่คาดว่าจะเกิดเป็นความต้องการของตลาดแล้ว ผู้ประกอบการควรทำการจัดซื้อและนำสินค้ามาวางจำหน่ายอย่างรวดเร็ว (ไม่ควรเกิน 1-2 สัปดาห์) และต้องรีบระบายสินค้าออกสู่ตลาดให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะสินค้าระดับแมส หรือมีขายอยู่ทั่วไปๆ ตามท้องตลาด เพราะหากดำเนินการช้ากว่าคู่แข่งจะทำให้สูญเสียโอกาสในการสั่งซื้อหรือทำกำไรมาก

เพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการบริหารสต๊อกและระบายสินค้า: การบริหารสต๊อกก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ผู้ประกอบการควรมีการบริหารจัดการที่ดี ไม่ควรมีสินค้าคงคลังที่มากเกินไป ซึ่งจะนำมาสู่ภาวะการขาดสภาพคล่องทางการเงิน อาทิ ในการวางแผนเลือกสินค้าที่จะเข้ามาจำหน่าย ควรมีปริมาณในการสั่งซื้อต่อชุดไม่มาก และหากมีเสียงตอบรับที่ดีอาจจะมีการรับออร์เดอร์เพิ่ม ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะมองเทรนด์ของตลาดไปในทิศทางใด นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการจัดการมากขึ้น ควรมีการลงทุนนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการด้านการจัดเก็บ-จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า การสรรหาซัพพลายเออร์ที่หลากหลายเพื่อเข้ามาสนับสนุนในกระบวนการจัดซื้อ รวมถึงการจัดเก็บของคลังสินค้าให้มีระบบมากขึ้น เป็นต้น

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป

การนำเสนอสินค้าไปสู่กลุ่มเป้าหมายของตลาดที่มีกำลังซื้อสูง: สำหรับสินค้าประเภทเสื้อผ้า กลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มวัยรุ่น-วัยทำงาน ดังนั้น การคัดเลือกประเภทของเสื้อผ้าที่จะตอบโจทย์ของลูกค้ากลุ่มนี้ จะต้องเน้นความแปลกใหม่ เพื่อให้มีรูปแบบสินค้าที่โดดเด่นและแตกต่างตามความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน เช่น

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป
รูปแบบการนำเสนอสินค้าที่ฉีกแนวจากคู่แข่ง: เสื้อผ้าเป็นสินค้าที่มีการเลียนแบบกันค่อนข้างสูง ทั้งยังมีหลายระดับคุณภาพและราคา แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงจากประเด็นดังกล่าวได้ ก็คือ การสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าที่จัดจำหน่ายและบริการที่ลูกค้าจะได้รับ อาทิ

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: จากการที่กลุ่มเป้าหมาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน ดังนั้น ปัจจัยด้านราคาและกิจกรรมส่งเสริมการขายยังมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างสูง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดที่เกิดขึ้น อาทิ

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป
มองหาโอกาสทางธุรกิจในต่างประเทศ: เป็นหนึ่งโอกาสทางการค้าอีกทางหนึ่งที่จะสามารถสร้างกำไร นอกเหนือจากการทำตลาดในประเทศสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมด้านเงินทุน ภาษาและการขนส่งสินค้า โดยประเทศที่เป็นเป้าหมายและมีโอกาสสูงที่จะเข้าไปเจาะตลาดผู้บริโภคได้ ก็คือ กลุ่มประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม) ซึ่งผู้บริโภคมีวัฒนธรรมการบริโภคที่คล้ายคลึงกับไทย ทำให้รับรู้และติดตามความเคลื่อนไหวของรูปแบบการบริโภคสินค้าอยู่เสมอจากสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และที่มาแรงในขณะนี้ คือ สื่อในสังคมออนไลน์ที่เปิดกว้างสำหรับผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้มากขึ้น

โอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูป
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ภายใต้การแข่งขันทางธุรกิจที่มีความเข้มข้นมากขึ้น การปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคและการวางแผนดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ มีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มยอดขายและกำไรที่เข้ามาสู่ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งเสื้อผ้าเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นคงไม่มีกลยุทธ์ที่เป็นสูตรเฉพาะตายตัวสำหรับผู้ประกอบการได้ทุกราย เพราะเงื่อนไขของความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ประเภทหรือชนิดสินค้าเสื้อผ้าที่จัดจำหน่าย หรือแม้กระทั่งช่องทางในการจัดจำหน่าย เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องระลึกไว้อยู่เสมอก็คือ ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาไอเดียและการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ให้แก่ผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ สามารถประยุกต์ใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับสภาพตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกันได้ และประการสำคัญ ควรมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเพิ่มฐานลูกค้าและโอกาสเติบโตในระยะข้างหน้า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กุมภาพันธ์ 2558

แสดงความคิดเห็น