ไอเดียกระเป๋าสุดเท่จาก ‘ถุงล้างไต’ เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น

ไอเดียกระเป๋าสุดเท่จาก ‘ถุงล้างไต’ เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น

ไอเดียกระเป๋าสุดเท่จาก ‘ถุงล้างไต’ เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น

ไอเดียกระเป๋าสุดเท่จาก ‘ถุงล้างไต’ เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น

ผลพวงจากผู้ป่วยโรคไตที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกิด“ขยะถุงล้างไต” ซึ่งผลิตจากพลาสติกเนื้อดีที่ปลอดเชื้อจำนวนมหาศาล กลายเป็นโจทย์ให้นิสิตเกษตรศาสตร์ขบคิดหาหนทางเปลี่ยนขยะเป็นเงินในรูปแบบกระเป๋าแฟชั่น ล่าสุดผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากถุงน้ำยาล้างไตได้รับตราสัญลักษณ์ G-Upcycle ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์และวัสดุที่นำของเหลือใช้ในทุกระดับ กลับมาพัฒนาเป็นวัสดุทดแทนหรือสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่งเสริมให้มีการออกแบบอย่างสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดมูลค่าสูงสุดในระดับทองจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ไอเดียกระเป๋าสุดเท่จาก ‘ถุงล้างไต’ เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น

เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น 

รุ่งทิพย์ ลุยเลา อาจารย์ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเกษตร และที่ปรึกษาร้าน Scrap Shop มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า แนวคิดการออกแบบถุงน้ำยาล้างไตปลอดเชื้อเกิดจากโรงงานผู้ผลิตน้ำยาล้างไตให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วและผู้ป่วยโรคไตทั่วประเทศมาปรึกษาว่า มีปริมาณของถุงน้ำยาล้างไตปลอดเชื้อจำนวนมากเนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องล้างไตจะใช้ถุงน้ำยาล้างไต 4 ถุงต่อวันที่เป็นถุงน้ำยาดี ปลอดเชื้อ ส่วนที่เป็นถุงปล่อยน้ำเสียออกจากร่างกายอีก 4 ถุงจะถูกนำไปกำจัดตามกระบวนการที่ถูกต้อง

หากคำนวณเฉพาะถุงปลอดเชื้อที่ผู้ป่วยใช้ล้างไตใช้มากถึง 120 ถุง 30 วัน รวมเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1ล้านถุง ขณะที่แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคไตกว่า 2 หมื่นคนทั่วประเทศและแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงมีแนวคิดที่จะนำถุงล้างไตสำหรับใส่น้ำยาสะอาดที่ยังไม่ผ่านร่างกายของผู้ป่วยมาทำความสะอาด เพราะผลิตจากพลาสติกเนื้อดีมาเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นกระเป๋าถือหลากดีไซน์ภายใต้แบรนด์ Scrap Shop ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  “ด้วยคุณภาพถุงล้างไตที่มีความเหนี่ยว ทนทาน เหมาะที่นำกลับมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าและบรรจุภัณฑ์ โดยใช้กระบวนการรีดหลายชั้นก่อนนำมาผลิตเป็นกระเป๋า”

ไอเดียกระเป๋าสุดเท่จาก ‘ถุงล้างไต’ เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น

สร้างเครือข่ายรักษ์โลก

อาจารย์รุ่งทิพย์ กล่าวว่า 2 ปี หลังจากวางจำหน่ายได้รับการตอบรับที่ดีมากโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดแนวคิดที่จะทำตลาดต่างประเทศมากขึ้นผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์ Scrap Shop ซึ่งเป็นทั้งชื่อแบรนด์ ศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุและร้านแนวอีโค-ดีไซน์ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ต้องการสอนให้นิสิตคิดและสร้างสรรค์ผลงานให้กลายเป็นของที่ใช้ได้จริงและขายได้

ผลงานทุกชิ้นจะถูกผลิตขึ้นจากเศษวัสดุเหลือใช้ทั้งจากอุตสาหกรรมและจากครัวเรือน ที่นำมาผ่านกระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่าและมูลค่าภายใต้แนวคิด Upcycling เทรนด์ใหม่ที่เข้ามามีบทบาทกับการออกแบบมากยิ่งขึ้น ด้วยกระบวนการนำเศษวัสดุมาแปลงสภาพให้กลายเป็นวัสดุใหม่ มีคุณภาพดีขึ้นกว่าเดิม ทั้งยังเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น และใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เนื่องจากเป้าหมายของมหาวิทยาลัยคือ ต้องการส่งเสริมให้ผู้ประกอบในทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากขึ้น โดยการกระจายองค์ความรู้ที่มีอยู่ในการพัฒนาเศษวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่า สามารถทำได้จริงทั้งในกระบวนการออกแบบ ผลิตและการจำหน่าย

เป้าหมายต่อไปของร้านจะมุ่งตลาดต่างประเทศมากขึ้น พร้อมกับการพัฒนาเรื่องของวัสดุเพราะยังมีเศษวัสดุที่หลากหลายเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยใช้องค์ความรู้จากทั้งในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเปลี่ยนวัสดุเหล่านั้นให้เป็นวัสดุใหม่ ทั้งยังเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์และใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม

ไอเดียกระเป๋าสุดเท่จาก ‘ถุงล้างไต’ เปลี่ยนขยะเป็นสินค้าแฟชั่น

ร้าน Scrap shop มีรายได้ 6-7แสนบาทต่อปี สัดส่วนรายได้หลักมาจากในประเทศ 80% และ 20% จากตลาดต่างประเทศในโซนยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ รวมทั้งออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ที่ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม คาดว่า 2-3 ปีต่อจากนี้สัดส่วนในประเทศและต่างประเทศจะขยับเป็น 50:50

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://eureka.bangkokbiznews.com

แสดงความคิดเห็น