ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำทำกำไร ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย
ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำทำกำไร ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย

ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำ ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย

ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำทำกำไร ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย

ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำ ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย

“ขายสบู่” อีกหนึ่งช่องทางทำเงินสร้างกำไรหรือสร้างอาชีพทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม และสำหรับใครที่อยากขายสบู่เป็นอาชีพ หรือกำลังมองหาแนวทางอยู่นั้นทางเราก็ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากด้วยเช่นกัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เก็บเกี่ยวและนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพให้เหมาะสม

ขายสบู่ ปัจจุบันมีการขายในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การรับสบู่แบบสำเร็จมาจำหน่ายต่อ การสมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย รวมถึงการผลิตและสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองเพื่อจำน่าย สำหรับใครก็ตามที่กำลังมองหาแนวทางว่าจะขายแบบไหนดี ก็ขอให้ลองดูข้อมูลคร่าวๆ เพื่อประเมินความสามารถของตนเองดูว่าเหมาะกับแบบไหนมากกว่า ความน่าสนใจในเรื่องของการขายสบู่นั้นก็คือมีต้นทุนที่ต่ำ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าหากจ้างโรงงานผลิตเพื่อสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง สบู่ 1 ก้อนมีต้นทุนเพียง 5 บาทเท่านั้น แต่สามารถตั้งราคาขายได้สูงเป็นหลักร้อยบาท

ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำทำกำไร ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย
1.ขายสบู่แบบรับมาขายไป

รูปแบบการขายสบู่แบบรับมาขายไป คือการไปรับสินค้ามาจากแหล่งผลิตหรือจากแหล่งขายส่งแล้วนำมาจำหน่ายต่อในราคาที่สูงขึ้นกว่าราคาต้นทุนที่รับมา ส่วนต่างของต้นทุนและราคาขายจะกลายเป็นกำไรนำมาซึ่งรายได้ ผู้ที่ลงทุนขายสบู่ในรูปแบบนี้คือผู้ขายสินค้า สามารถขายหลายแบรนด์รวมกันก็ได้หรือขายแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งไปเลยก็ได้เช่นกัน

ข้อเสนอแนะ

  • เริ่มต้นควรทำการศึกษาตลาดก่อนถึงความนิยมที่มีต่อสบู่ โดยอ้างอิงจากพฤติกรรมผู้บริโภค
  • สิ่งที่ต้องรู้คือวัตถุดิบชนิดไหนที่คนนิยมใช้ เช่น ขมิ้น มะขาม กลูต้า เป็นต้น
  • สิ่งที่ต้องรู้ต่อมาคือแบรนด์ซึ่งเป็นที่นิยม ก่อนจะรับสบู่แบรนด์นั้นๆ มาขายควรศึกษาให้ดีว่าแบรนด์นั้นได้รับความนิยมหรือไม่อย่างไร เป็นที่รู้จักมากน้อยแค่ไหน แล้วจึงตัดสินใจรับมาขาย
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าให้ชัดเจนแล้วเลือกประชาสัมพันธ์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
  • รูปแบบการขาย ได้แก่ ตั้งแผงขายตามตลาดนัด, เปิดเป็นร้านขายผลิตภัณฑ์ความงาม, ขายออนไลน์
  • หากตั้งแผงขายตามตลาดนัด ควรสำรวจก่อนว่าตลาดนัดนั้นมีกลุ่มเป้าหมาย (ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง) เดินตลาดนั้นมากน้อยแค่ไหน และผู้ที่เดินตลาดนัดนิยมซื้ออะไร หากเป็นตลาดนัดกับข้าว ผู้คนอาจนิยมซื้อกับข้าวมากกว่าจะมานั่งหาซื้อสินค้าความงาม และอาจไม่เหมาะสำหรับการขายสบู่
  • หากเปิดเป็นร้าน ควรสำรวจทำเลแนะนำให้เป็นพื้นที่ตลาดสดขนาดใหญ่ เพราะมีคนเดินพลุกพล่านและหลากหลายกลุ่มคน แต่การเปิดเป็นร้านใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการเซ้งร้าน การเช่าร้าน บางร้านติดแอร์ บางร้านจ้างพนักงาน
  • การเปิดขายบนช่องทางออนไลน์ ต้องมีเว็บไซต์หรือบัญชีโชเชีบลฯ ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วทำการอัพโหลดภาพสินค้าพร้อมรายละเอียดสินค้าและราคา ที่สำคัญต้องมีบัญชีธนาคารรองรับการโอนเงินจากลูกค้าด้วย
  • ต้นทุนการซื้อมาขายไป มีความหลากหลายมาก เปิดเป็นแผงขายเล็กๆ ต้นทุนเริ่มต้นอยู่ที่ 5,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดเป็นร้านค้าต้นทุนค่อนข้างสูง และถ้าหากขายออนไลน์ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการสั่งซื้อขั้นต่ำของทางแบรนด์

ข้อดี

การรับมาขายไป มีขั้นตอนไม่ยุ่งยากซับซ้อน เงื่อนไขต่ำทำให้ข้อจำกัดน้อย การรับมาขายมีตั้งแต่ซื้อครึ่งโหลก็ได้ราคาส่งแล้ว (แล้วแต่แบรนด์) และสามารถนำมาจำหน่ายต่อได้แบบง่ายดาย ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์สินค้าหากเลือกที่เป็นแบรนด์ดังหรือเป็นที่นิยมอยู่แล้ว ก็แทบไม่ต้องประชาสัมพันธ์อะไร เพียงแค่ประกาศให้ผู้บริโภครับรู้ว่าที่ร้านมีแบรนด์นั้นๆ จำหน่ายอยู่ก็เพียงพอ

ข้อเสีย

ข้อเสียต้องพิจารณาแบรนด์ที่รับมาให้ดีก่อนตัดสินใจ หากแบรนด์ที่รับมามีความไม่มั่นคงในธุรกิจ อาจต้องเปลี่ยนแบรนด์ที่รับมาขายบ่อยๆ หรือถ้าหากไม่น่าเชื่อถือ เช่น มีสารอันตรายเจือปน ร้านค้าที่จำหน่ายอาจมีโทษตามไปด้วย หรือสินค้าถูกสั่งเก้บร้านค้าที่รับมาขายก็จะได้รับผลกระทบ และอาจมีปัญหาในเรื่องของต้นทุนจม หากรับสินค้ามาแล้วระบายสินค้าออกได้ช้า

ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำทำกำไร ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย
2.ขายสบู่แบบสมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย

เป็นการสมัครร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายให้แบรนด์ที่เปิดรับสมัคร ส่วนมากมักมาจากการเป็นลูกค้าก่อนหรือเป็นคนรู้จักแล้วเข้าไปร่วมเป็นเครือข่ายเดียวกัน หน้าที่หลักคือการขยายฐานลูกค้าให้กับแบรนด์ ต้องนำสินค้าไปบอกต่อกเพื่อขาย บางรายมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการสต๊อคสินค้า บางรายไม่มี ผู้ที่คิดสมัครต้องศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจสมัคร

ข้อเสนอแนะ

  • หากเป็นลูกค้าของแบรนด์อยู่แล้วในด้านสรรพคุณคงไม่ต้องศึกษามาก เพราะเป็นผู้ใช้งานเองย่ทราบดี แต่ถ้าหากไม่ได้เป็นลูกค้า ควรศึกษาให้ดีและเปรียบเทียบสินค้า เช่น ความนิยม ราคาขาย สรรพคุณ เป็นต้น อาจศึกษาจากรีวิวของผู้ที่เคยใช้งานจริงนำมาเปรียบเทียบกัน
  • ควรเลือกสมัครกับแบรนด์ที่ไม่เก็บค่าสมัคร (สมัครฟรี)
  • บางแบรนด์อาจมีเงื่อนไขห้ามจำหน่ายแบรนด์อื่น คือต้องเป็นตัวแทนสบู่แบรนด์นั้นๆ เพียงแบรนด์เดียว ผู้สมัครต้องศึกษาให้ดีก่อนและมั่นใจว่ารับเงื่อนไขนั้นได้
  • การสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายมีทั้งสต๊อคสินค้าได้หรือไม่สต๊อคก็ได้ ทางที่ดีควรเลือกที่ไม่ต้องสต๊อคสินค้า เพราะช่วยลดภาระเรื่องต้นทุนจมลงไปได้มาก
  • ควรมีเว็บไซต์ หรือบัญชีโซเชียลฯ อย่างน้อยสักหนึ่งบัญชี เพื่อโพสต์ขายสินค้า
  • การตั้งราคาขายควรพิจารณาราคาตลาดดูว่าราคาเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไรและไม่ควรขายสูงหรือต่ำกว่านั้น

ข้อดี

  • หากเป็นลูกค้าของแบรนด์อยู่แล้วการเป็นตัวแทนจำหน่ายย่อมเป็นเรื่องง่ายเพราะเข้าใจสินค้าดีและแทบไม่ต้องสูญเสียอะไร เนื่องจากตนเองก็ใช้สินค้าอยู่แล้ว
  • ไม่ต้องแบกรับภาระเรื่องของการตลาด เพราะเป็นภาระของเจ้าของแบรนด์
  • หากเลือกแบบที่ไม่ต้องสต๊อคสินค้า จะไม่มีในเรื่องของต้นทุนจม

ข้อเสีย

  • อาจมีข้อจำกัดในเรื่องของแบรนด์ เพราะบางแบรนด์อาจมีข้อบังคับไม่ให้จำหน่ายสินค้าของแบรนด์อื่น
  • หากขายได้เฉพาะแบรนด์เดียวอาจมีกำไรน้อยกว่าการขายแบบรับมาขายไปที่สามารถขายได้หลากหลาย
  • บางแบรนด์อาจมีเรื่องของการกำหนดยอดขาย อาจมีความเสี่ยงหากยอดไม่ถึงเป้า
ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำทำกำไร ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย
3.ขายสบู่แบบเป็นผู้ผลิต

ขายแบบผู้ผลิตเป็นอีกหนึ่งความฝันของใครหลายๆ คน สู่การเป็นเจ้าของแบรนด์ ผู้ที่ลงทุนในรูปแบบนี้คือ “ผู้ผลิต” เป็นเจ้าของสินค้าต้องออกแบบสินค้าเอง คิดเองว่าจะใช้วัตถุดิบอะไรในการผลิตออกมาเป็นสบู่ของตัวเอง ต้องทำการตลาดเอง หาตลาดเอง เกือบทุกขั้นตอนต้องทำเองทั้งหมด

ข้อแสนอแนะ

  • เริ่มต้นจากคิดคอนซปต์ก่อนว่าจะทำสบู่รูปแบบไหน ขายใคร ขายแบบไหน
  • รูปแบบของสบู่ เช่น สบู่บำรุงผิว สบู่สวยงาม เป็นต้น
  • หากคิดได้แล้วว่าจะทำสบู่แบบไหนให้สำรวจความนิยมของตลาดก่อน อย่างวัตถุดิบยอดนิยมที่ได้รับความสนใจสูง เช่น น้ำนม ขมิ้นชัน เมือกหอยทาก โสม เป็นต้น
  • คัดสรรโรงงานที่ได้มาตรฐาน มีบริการแบบครบวงจร และคิดค่าบริการต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานที่มีมาตรฐานในระดับเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุน คำว่าครบวงจรคือบริการผลิตสบู่ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงจดทะเบียน ขอเครื่องหมาย อย. เป็นต้น
  • สำรวจช่องทางการจำหน่ายแล้ววางแผนว่าจะจำหน่ายช่องทางไหนบ้าง เช่น ออนไลน์ ฝากขายร้านทั่วไป ฝากขาย Modern Trade และควรเลือกช่องทางการจำหน่ายที่เหมาะสมกับต้นทุนของตนเองและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตนเอง หมายเหตุ ช่องทางการขายผ่าน Modern Trade มักมีการกำหนดขั้นต่ำในจำนวนการผลิตต่อวันซึ่งสูง หากมีกำลังการผลิตต่ำย่อมไม่ผ่านการพิจารณา
  • พิจารณาช่องทางการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า เช่น การซื้อแบนเนอร์โฆษณา ซื้อ Ads บน Google/Facebook/Instagram เป็นต้น โดยให้พิจารณาถึงมูลค่าที่สอดคล้องกับต้นทุน และกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
  • เปิดรับสมัครตัวแทนจำหน่ายเพื่อขยายฐานลูกค้า
  • กลุ่มลูกค้า สำหรับสบู่บำรุงผิว คือผู้บริโภค และกลุ่มลูกค้าสำหรับสบู่สวยงาม คือผู้บริโภคและธุรกิจจำพวกที่พัก โรงแรม

ข้อดี

เป็นเจ้าของสินค้าเอง ออกแบบเอง ทำให้ได้สินค้าที่ตัวเองต้องการ อีกทั้งยังได้รับผลกำไรสูงเพราะเป็นผู้ผลิตเอง จึงได้ต้นทุนที่ต่ำ สามารถจำหน่ายได้ในจำนวนมากๆ เช่น ขายให้ร้านขายส่ง เป็นต้น

ข้อเสีย

ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจค่อนข้างซับซ้อน เพราะต้องทำเองทุกขั้นตอน ใช้เงินทุนสูงกว่าผู้ที่รับมาขายไปและผู้ที่สมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่สำคัญต้องแบกรับภาระการตลาด ซึ่งต้องวางแผนการตลาดให้ดี ต้องมีความรู้พอสมควรหรือมีทีมที่ชำนาญ เพื่อให้สินค้าขายได้

ขายสบู่ อาชีพทำเงินต้นทุนต่ำทำกำไร ขายง่ายหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวที่กี่ยวกับการขายสบู่เป็นอาชีพ เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังมองช่องทางการสร้างรายได้ และเหมาะสำหรับผู้ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : instructables.com, The Prairie Homestead, www.cornwallsoapbox.co.uk, groupon.com, offbeatandinspired.com

แสดงความคิดเห็น