กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต
กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต

กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน “ธนชาต”

กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต
กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต

กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน “ธนชาติ”

อันเนื่องมาจากการควบรวมกับแบงก์นครหลวงไทย มิหนำซ้ำยังต้องสู้รบในสนามแข่งขันที่มีดีกรีความร้อนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะ เป็นเหตุผลที่ทำธนชาตต้องหันมาโฟกัสในเรื่องของ Internal Branding ด้วยซิทคอม “บ้านนี้…สีส้ม” ละครสนุกๆ และเบาสมอง แต่กลับช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องแบรนด์ให้แก่พนักงาน “เพราะแบรนด์นั้นไม่ใช่สินค้า แต่เกิดจากความรู้สึกที่ประทับใจของลูกค้า แบรนด์ไม่อาจสร้างขึ้นได้หากพนักงานทุกคนต่างคนต่างทำ ไม่มีความสม่ำเสมอ ไม่มีความชัดเจน” “วิชา กุลกอบเกียรติ” ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ย้ำว่า การสร้างแบรนด์ต้องอาศัยพนักงานทุกคนให้ ความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์กร

กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต
กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต

ธนชาต วาดหวังจะให้พนักงานทุกคนทำหน้าที่เป็น Brand Ambassador

ซึ่งแต่เดิมเกือบทุกองค์กรต่างก็ใช้เงินก้อนโตเพื่อทำให้ลูกค้าภายนอกมองเห็นถึงภาพลักษณ์ดีๆ หรือ External Branding แต่ที่สุดก็อาจกลายเป็นเหมือนการตำ น้ำพริกละลายแม่น้ำ ในเมื่อแบรนด์เกิดจากผลลัพธ์ซึ่งเป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของ “คน” ก็ย่อมควรต้องเกิดขึ้นจากการกระทำของ “คน” เท่านั้น สินค้าหรือบริการแม้จะถูกโฆษณาหรือสื่อสารออกไปว่าสุดยอด ดีเยี่ยม แต่หากพนักงานขององค์กรปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอาการที่สุดแย่ เช่น บึ้งตึง เย็นชา ฯลฯ แม้จะ เป็นแบรนด์ไฮเอนด์เพียงใดก็คงไม่มีวันแจ้งเกิด

กูรูนักสร้างแบรนด์อย่าง “ดลชัย บุณยะรัตเวช” ก็คอนเฟิร์มว่า ในความเป็นจริงปัญหาที่หลายต่อหลายองค์กรกำลังประสบเป็นเรื่องของ การทำงานที่ไม่ซินเนอยี่ แต่ละฝ่าย แต่ละแผนกทำงานกันแบบไซโล คือ ต่างฝ่ายต่างคนจะทำเฉพาะหน้างานของตัวเองให้สำเร็จเท่านั้น เป็นที่มาว่าทำไมองค์กรยุคนี้จึงหันมาให้ความสำคัญกับการสร้าง Internal Branding มากขึ้น

พร้อมทั้งได้ชี้แนะว่า เพื่อการดุ่มเดินบนเส้นทางสายนี้ และไปให้ถึงเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องมี “เข็มทิศ” ไว้คอยป้องกันการสับสน การหลงทาง อย่างไรก็ดีเขาบอกว่าธรรมชาติของคนหรือมนุษย์นั้น Many Minds One Brain คืออาจมีเพียงหนึ่งสมองทว่ามีหลากหลายความคิดและจิตใจ

ดังนั้นความท้าทายจึงหนีไม่พ้นเรื่องของ การทำความเข้าใจถึงจิตใจของมนุษย์ โดยทั่วไปมนุษย์ไม่ชอบการบังคับ ความสำเร็จอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะความยอมรับและความสมัครใจ แน่นอนว่ามันคงไม่ได้เกิดขึ้นมาจากวิธีการใดวิธีการ เดียว และแน่นอนยังต้องอาศัยกาลเวลาในการบ่มเพาะ ..ความรู้สึกดีๆ ไม่อาจเกิดขึ้นแค่ชั่วข้ามคืน

กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต
กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต

เข็มทิศของธนชาติ กำหนดทิศทางไว้อย่างไร?

องค์กรแห่งนี้มีหัวข้อที่ต้องการจะสื่อสารให้พนักงานเกิดความซึมซับอยู่หลายข้อความ แต่ที่เป็นหัวใจสำคัญอยู่ที่คำว่า CUBE ที่ต้องปลูกฝังให้เกิดกลายเป็นดีเอ็นเอ ของพนักงานทุกคน คำๆ นี้ย่อมาจาก C-Creative ความคิดสร้างสรรค์ , U-Understanding ความเข้าอกเข้าใจ ทั้งเพื่อนพนักงาน หัวหน้า, ลูกค้า B-Bold ความกล้า คมชัด ในความคิด คำ พูดและการกระทำ (ไม่ก้าวร้าวแต่ต้องชัดเจน ตรงประเด็น)และ E-Enthusiastic ความกระตือรือร้นในการทำงาน

นอกจากนั้นยังมีเรื่องของบรรยากาศองค์กรที่แสนอบอุ่นและอยู่กันเป็นแบบครอบครัว การแต่งกายเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมที่สุภาพ เสริมสร้างบุคลิกภาพ (สำหรับพนักงานสาขาต้องสวมใส่ยูนิฟอร์มอย่างเรียบร้อยตั้งแต่เดินทางออกจากบ้านกระทั่งกลับถึงบ้าน) ทั้งยังมีเรื่องความหมายของแบรนด์ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างไปจากธนาคารอื่นๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สีส้ม” ซึ่งถือเป็นสีแห่งสัญลักษณ์นั้น ธนชาตต้องการให้พนักงานทุกรับรู้ว่า นี่คือสีที่เป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ซึ่งทำงานอย่างกระฉับกระเฉง คล่อง แคล่ว ให้การบริการต่อลูกค้าได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว

ว่ากันว่า ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ถือเป็นรากฐานที่สำคัญ จึงไม่พลาดที่ธนชาตต้องเชื่อมโยงไปถึงเรื่องนี้ ซึ่งมีรหัสอยู่ว่า C3 SIP (อ่านว่าซี สามสิบ) ได้แก่ C-Customer Focus การให้ความสำคัญสูงสุดกับความต้องการของลูกค้า ,C-Collaboration ความร่วมแรงร่วมใจ ,C-Commitment ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับปาก หรือสัญญาไว้ ,S-Spirit ความมุ่งมั่น เอาใจใส่ ทุ่มเท,I-Integrity ความซื่อสัตย์ และ P-Professional ความเป็นมืออาชีพ

อีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจก็คือ คิดได้ก็ทำได้ หรือการให้บริการลูกค้าด้วยทัศนคติแบบ The Doing Attitude ที่มีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้ 1. ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางเสมอ 2. พูดคุยเพื่อค้นหาลูกค้าให้เจอ 3. ให้คำแนะนำที่ตอบโจทย์และสนองความต้องการลูกค้า 4.เป็นธุระเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ให้ทุกความคิดของลูกค้าเป็นจริง และ 5. ลงมือทำทันที

กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต
กลยุทธ์สร้างแบรนด์ Inside out คิดกลับด้าน ธนชาต

วิสัยทัศน์ของธนชาตก็คือการก้าวเป็น Universal Banking

ดังนั้นหัวข้อส่วนใหญ่ที่องค์กรแห่งนี้ต้องการสื่อสารไปยังพนักงานจึงว่าด้วยเรื่องของลูกค้าการให้บริการที่ดี ก็เพื่อไปตอบโจทย์กับเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และเมื่อเข็มทิศถูกกำหนดขึ้นอย่างชัดเจนและมีความแน่นอนแล้วลำดับต่อไปก็คือ การลงมือทำ

วิชา ยอมรับว่า ที่ผ่านมาธนชาตเองมีการสร้าง Internal Branding มาระยะหนึ่งและทำด้วยการเกณฑ์พนักงานเข้าห้องอบรม ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับองค์กรอื่นๆ หรือ me too แต่จากนี้จะใช้วิธีการที่ต่างไป โดยการลงมือสร้างเป็นละครซิทคอมเรื่อง “บ้านนี้..สีส้ม” จำนวน 10 ตอน เพื่อสื่อสารความรู้ความเข้าใจในองค์กรไปยังพนักงาน ผ่านทางสื่อทีวี “Thanachart Channel” ซึ่งออกอากาศภายในสาขาของธนาคารธนชาตที่มีอยู่ด้วยกันกว่า 620 สาขาทั่วประเทศ

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การทำให้คนซึมซับไม่ได้เกิดมาจากการ “ยัดเยียด” ขณะที่ซิทคอมซึ่งแม้ว่าจะเรียกเสียงหัวเราะ สร้างความเฮฮาแต่ก็ไม่ได้หมายถึงอะไรที่ “ไร้สาระ”และเมื่อซิทคอมบ้านนี้สีส้มที่ในเวลานี้ถูกฉายไปแล้วจำนวน 2-3 ตอน วิชาบอกว่าเขาเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ แม้ว่าความรักและการตระหนักถึงคุณค่าของแบรนด์องค์กรของพนักงานนั้นเป็นเรื่องของนามธรรมก็ตาม แต่ก็วัดผลได้ไม่ยากจากการสังเกตุปฏิกริยารวมทั้งการเปลี่ยนแปลงตัวเองของพนักงาน

ถึงจะเป็นเรื่องราวดีๆ ก็ไม่อาจหวังผลได้ในเวลาสั้นๆ!!

ขอบคุณข้อมูลจาก : ธนชาต

แสดงความคิดเห็น