การออกบูธแสดงสินค้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร

การนําธุรกิจไปออกบูธแสดงสินค้าเป็นสิ่งจําเป็นในการขยายธุรกิจและสามารถเพิ่มยอดขายได้ โดยเฉพาะการขายสินค้าและบริการ การออกบูธจึงเป็นสิ่งจําเป็นจะต้องมีการวางแผนดําเนินการ แต่ความสําเร็จของการออกบูธนั้นไม่ใช่เพียงแค่ตั้งโชว์ และจําหน่ายให้หมดๆไปแล้วก็กลับ แต่ยังต้องคํานึงถึงวิธีการออกบูธที่มีประสิทธิภาพ น่าสนใจและดึงดูดให้ลูกค้าอยากเข้ามาชม และเคล็ดลับการออกบูธให้โดดเด่น และดึงดูดก็คือ

1.การเลือกงานแสดงสินค้าต้องตรงความต้องการ
ความต้องการในที่นี้ก็คือทั้งผู้จําหน่ายเองและผู้บริโภคด้วย เพราะหัวข้อหลักของงานทุกงานก็จะมีระบุไว้อยู่ชัดเจนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรเลือกและตัดสินใจให้ดีก่อนจะไปเปิดบูธกัน สินค้าหรือบริการก็เหมือนเหยื่อเฉพาะที่ปลาบางชนิดชอบ การจะตกปลาให้ได้มากนั่นก็ต้องนําไปตกในแหล่งที่มีปลาชนิดที่เหมาะกับเหยื่อและจํานวนปลาก็ต้องมากพอ นอกจากจะต้องคํานึงถึงวัตถุประสงค์หลักของแต่ละงานแล้วยังต้องพิจารณาขนาดของ

งานด้วยว่าเป็นงานระดับไหน ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ ซึ่งงระดับของงานนั่นนจะเป็นดัชนีชีวัดกลุ่มผู้บริโภคที่จะเข้ามาร่วมงานว่าอยู่ในระดับใดและปริมาณมากน้อยเพียงใด ประเด็นต่อมาก็ต้องดูความน่าเชื่อถือ ของงานที่จัดขึ้น งานที่ได้รับความน่าเชื่อถือนั้นก็จะมีการจัด งานมาหลายครั้งแล้ว แต่ถึงจะจัดมาหลายครั้งแล้วก็ยังคงต้องตรวจสอบหาข้อมูลการจัดงานนี้เพิ่มอยู่ดีว่าได้รับการตอบรับ มากน้อยเพียงใด ทั้งจากผู้สนับสนุนและเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคเองก็ตาม จําไว้ว่าการเปิดตัวสินค้าหรือบริการของเราเข้าสู่บูธการแสดงงานนั่นเป็นการเปิดช่องทางใหม่ๆให้กับธุรกิจย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นธรรมดา แต่เมื่อต้องจ่ายแล้วจะได้กลับมาคุ้มค่าหรือไม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนกันให้รัดกุม

2. จัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเริ่มงาน
เมื่อทําการคดัเลือกงานที่จะร่วมแสดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะต้อง ดําเนินการต่อไปก็คือ การจัดเตรียมความพร้อมในการออกบูธสิ่งที่ควรสนใจเป็นอันดับแรกคือ“ลูกค้า”เป็นชาวไทยหรือต่างชาติ ถ้าเป็นชาวต่างชาติแล้วเราเองมีความพร้อมในเรื่องการสื่อสารมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่มีก็ควรจัดเตรียมในเรื่องล่ามไว้ด้วยเพื่อความสะดวกในการติดต่อกับลูกค้า ในขณะเดียวกันก็จัดเตรียมเอกสารประกอบอย่างอื่นให้ครบถ้วยเพื่ออํานวย ความสะดวกกับลูกค้า เช่น แคตตาล็อกสินค้าพร้อมราคาและส่วนลดหรือโปรโมชั่นต่างๆ

สินค้าที่จะทําการนําเสนอนั่นอาจเปนสินค้าเดียวกับอีกหลายๆที่ก็ได้ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรจะแสดงจุดเด่นที่แตกต่างจากสินค้าอื่นอย่างชัดเจนเพื่อให้ลูกค้าได้เกิดการเปรียบเทียบว่าคุ้มค่ามากกว่าหรือไม่ ใบเสนอราคา เผื่อในกรณีที่ลูกค้าไม่ใช่ผู้ตัดสินใจซื้อขายเอง หนังสือสัญญาการซื้อขายเผื่อในกรณีที่ลูกค้าอาจมีความต้องการสินค้าในปริมาณมากแต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายกลับไปได้ สัญญาซื้อขายก็จะมีทั้งแบบขายแบบครั้งต่อครั้งและสัญญาซื้อขายระยะยาว ซึ่งราคาจะเหมือนหรือต่างกันก็อยู่ที่เจ้าของธุรกิจจะเป็นผู้กําหนดราคาแต่เรื่องราคาก็ควรที่จะตรวจสอบราคากลางตลาดไว้ด้วยเพราะลูกค้าที่เป็นมืออาชีพจะทราบราคากลางเหล่านี้อยู่แล้ว หากต้องมีการตัดสินใจที่จะซื้อขายกันเป็นระยะยาวในอนาคต ราคาที่เราตั้งจะเป็นตัวชี้วัดอนาคตของธุรกิจเราได้ จําไว้ว่ายิ่งมีการเตรียมตัวดีเพียงใดก็ยิ่งเป็นเงาสะท้อนความเป็นมืออาชีพ ให้ลูกค้าได้เห็นมากเท่านั้น รอบคอบและรัดกุมเข้าไว้เพื่อช่องทางธุรกิจที่กว้างไกลในวันหน้า

3.ลูกค้าทุกกลุ่มคือเครื่องมือวิจัยตลาดที่ดีเยี่ยม
ไม่ว่าลูกค้าที่เข้าร่วมงานนั่นจะเป็นลูกค้าที่ซื้อขายสินค้าของคุณ หรือไม่ก็ตามสิ่งที่คุณควรจะเรียนรู้คือกลุ่มใด อาชีพใด รายได้ประมาณเท่าใด ที่ตัดสินใจซื้อทันที กลุ่มใดที่สนใจแต่ไม่ซื้อในทันทีและกลุ่มใดที่ไม่มีท่าทีสนใจเพื่อจะได้นํากลับมาปรับปรุงในเรื่องสินค้าหรือบริการ ซึ่งในส่วนของข้อมูลเรื่องอาชีพหรือ อายุพอสอบถามได้ไม่ยาก แต่เรื่องรายได้เปนเรื่องละเอียดอ่อนให้ ใช้การประมาณการเอาจากอาชีพจะดีกว่า หรือการเก็บข้อมูลเรื่องรูปแบบการจัดบูธ การจัดบูธแบบใดที่มีลูกค้าให้ความสนใจเข้าชมมากๆก็สามารถที่จะเก็บข้อมูลไว้ใช้ในการปรับรูปแบบของ การจัดบูธคุณในครั้งต่อไปให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าเป็นสินค้าประเภทเดียวกับคุณยิ่งมีประโยชน์กับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าบูธของคุณจะเป็นแบบ walk in หรือแบบ meeting ก็ตาม ดังนั้นทุกการออกบูธของคุณคือการลงทุนซื้อสิทธิ์เข้าไปวิจัยตลาดในตลาดจริงอย่าคิดว่าเป็นการสิ้นเปลืองแต่จงคิดว่ามันเป็นการลงทุนเพิ่มเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ จงสนุกกับผลวิจัยตลาดที่ได้ซึ่งไม่สามารถพบเจอได้ในบทเรียนใดๆทั้งสิ้น

4. ติดตามลูกค้าสม่ำเสมอ
หลังจากแสดงงานเป็นที่เรียบร้อยแล้วแน่นอนว่าคุณย่อมมีข้อมูลลูกค้าอยู่บ้างแล้วอย่าลืมส่งจดหมายขอบคุณทั้งลูกค้าที่ซื้อสินค้าและลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมบูธของคุณ พยายามส่งข้อมูลความเคลื่อนไหวของคุณไปให้ลูกค้าอยู่เรื่อยๆอย่างสม่ำเสมอ แบบนําซึมบ่อทรายจากไม่รู้จักก็จะกลายเป็นคุ้นเคย เมื่อลูกค้าได้พบคุณอีกครั้งก็จะเหมือนกับได้รู้จักมักคุ้นกันมาเป็นอย่างดีเพราะคุณพยายามนําเสนออะไรใหม่ๆให้กับลูกค้าเสมอ ทั้งข้อมูลที่สําคัญๆไม่จําเป็นต้องเกี่ยวกับธุรกิจของคุณก็ได้ แต่ก็ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของคุณสอดแทรกไปบ้าง กลุ่มลูกค้าที่มองเห็นว่าสินค้าคุณมีคุณค่า ควรแก่การเลือกหาไว้ก็จะรู้นึกว่าคุณมีการติดตามผลและประทับใจลูกค้าที่ยังไม่ตัดสินใจก็จะเริ่มมองเห็นความจริงใจใน การทําธุรกิจของคุณและอาจเกิดอยากลองเปลี่ยนมาใช้สินค้า

หรือบริการของคุณดูก็ได้ จําไว้ว่าการติดตามลูกค้านั่นไม่ใช่ การตื้อเพราะฉะนั่นอย่าเร่งเร้าใดๆทั้งสิ้น ค่อยๆใช้เวลาสลายกําแพงความไม่ไว้วางใจออกไปทีละน้อยๆ จนวันหนึ่งมันจะกลายเป็นทางโล่งกว้างที่ลูกค้ากรุยเข้ามาหาคุณเอง ลองยกตัวอย่างธุรกิจหนึ่งที่ควรให้ความสําคัญกับการติดตามลูกค้าก็คือธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งในช่วงแรกนั่นตัวแทนต่างพุ่งเข้าใส่ลูกค้ากันอย่างไม่คิดชีวิต แต่เมื่อลูกค้าตัดสินใจทําประกันแล้วก็กลับหายหน้ารอกินส่วนแบ่ง ลูกค้าก็มีสิทธ์ที่จะเปลี่ยนตัวแทนได้หากต้องการไม่ใช่แค่รอให้เกิดเหตุต้องเคลมประกัน แล้วจึงจะเข้ามาถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกัน หรือวันเกิดที่ก็ส่งการ์ดมาอวยพรเท่านั่น แนวความคิดแบบนี้มักเกิดกับตัวแทนทียังอ่อน ประสบการณ์ว่าเมื่อลูกค้าซื้อกรมธรรม์แล้วก็ต้องใช้ตลอดไปซึ่งเป็นความคิดที่ผิด แตกต่างกับตัวแทนที่มีประสบการณ์สูงๆที่ไม่ ว่าจะเหตุต้องเคลมประกันหรือไม่ก็ตามก็จะพยายามติดตามถามไถ่ อยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้ง และยังคงใช้บริการต่อไป และไม่แน่ว่าการบอกปากต่อปากของลูกค้านั้นอาจให้ผลทางธุรกิจที่เกินคาดก็ได้

5.วิเคราะห์และสรุปผลพร้อมหาแนวทางแก้ปัญหา
ทุกครั้งที่มีการจัดแสดงงานแล้วให้ทําการวิเคราะห์และสรุปผล ด้วยทุกครั้งเพื่อประเมินว่าการนําสินค้าจัดแสดงนี้บรรลุ วัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ การทํางานแบบมืออาชีพไม่ควรทําให้ลูกค้าเห็นเท่านั่น แต่ควรฝึกให้เป็นปกตินิสัยกันไปเลย เมื่อเคยชินแล้วมันก็ไม่ได้ทําให้การทําธุรกิจคุณยุ่งยากขึ้นตรงกันข้าม กลับทําให้ขั้นตอนในการทําธุรกิจยิ่งชัดเจนมากขึ้นเสียอีก ใน ส่วนของการสรุปผลนั่นที่ลืมไม่ได้เลยก็คือปัญหาที่เกิดขึ้น มีปัญหาใดบ้างที่แก้ไขสถานการณ์ได้ และปัญหาใดที่แก้ สถานการณ์ไม่ได้ให้วิเคราะห์หาแนวทางการแก้ปัญหาไว้ให้ เรียบร้อยเผื่อไว้สําหรับการออกบูธในครั้งต่อไป และส่วนสําคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือคําติชมของลูกค้า คําชมมีไว้เพื่อให้เข้าใจจุดเด่นของธุรกิจของคุณชื่นชมยินดีแต่อย่าลืมตัว คําติมีไว้ เพื่อหาแนวทางแก้ไขในคราวต่อไป มุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราได้มุมมองที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ของการออกบูธมาถือเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง ไม่ใช่เรื่องน่าโมโหแต่อย่างใด

6.ออกบูธอย่างต่อเนื่อง
เมื่อคุณมีการตัดสินใจที่จะออกบูธแสดงสินค้าแล้วแสดงว่าคุณมีความต้องการให้สินค้า หรือบริการของคุณเป็นที่รู้จักให้หมู่ลูกค้าที่มากขึ้น ดังนั้นการ ออกงานให้สม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่ง ลูกค้าเดิมที่ไปก็จะได้เห็นว่าธุรกิจของคุณยังดําเนินการอยู่เพิ่มความเชื่อมั่นให้ ลูกค้าได้ดีเยี่ยมทีเดียว หรือลูกค้าใหม่ๆที่เข้าไปร่วมงาน ซึ่งก็อาจเป็นลูกค้าเดิมแต่ชมงานไม่ทั่วถึงก็มีโอกาสได้เยี่ยมชมบูธของคุณในขั้นตอนที่ 2 – 5 คุณสามารถทําซ้ำได้ทุกครั้งที่มีการออกบูธ การทําบ่อยๆจะทําให้คุณเฉียบคม ปัญหาต่างๆทีจะเกิดขึ้นจะเริ่มเป็นนวัฏจักรเดิมที่คุ้นเคยแล้ว การแก้ปัญหาของคุณก็จะเป็นธรรมชาติไหลลื่นมากขึ้น ฐานลูกค้าที่มีก็จะเพิ่ม้ปริมาณมากขึ้นจากธุรกิจ SMEs เล็กๆก็จะขยายตัวเป็น ธุรกิจขนาดใหญ่และไม่แน่ว่าอาจติดตลาดแบบว่าวติดลมบนเลยก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณเองทั้งนั้นธุรกิจของคุณ คุณต้องเป็นคนกําหนดทิศทาง

แสดงความคิดเห็น