ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน
ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

ธุรกิจการขายปลาสวยงามในประเทศไทยนั้นไม่อยู่ในกระแสมากนัก แต่เมื่อพิจารณาในแง่ของตลาดต่างประเทศกลับเป็นที่ต้องการมาก สำหรับผู้ที่สนใจการขายปลาสวยงามเพื่อส่งออกต่างประเทศสามารถเริ่มต้นได้จากการหาความรู้และอาจหาหุ้นส่วนทางธุรกิจที่มีความมั่นคงและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน อย่างเช่น “บริษัท ไทยเฉียนหวู่ จำกัด” ธุรกิจขายปลาสวยงามส่งออกต่างประเทศทั่วโลก สร้างรายได้กว่า 200 ล้านบาทต่อปี

ธุรกิจขายปลาสวยงามไทยเฉียนหวู่มีคุณ “วีรวัฒน์ วลัยเสถียร” ทายาท ดร.ดำรง วลัยเสถียร อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป ซึ่งคอยบริหารงานทุกอย่าง ทั้งการรับซื้อปลาจากเกษตรกรและการหาตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ ไทยเฉียนหวู่ได้ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลากว่า 13 ปีแล้ว โดยมีจุดเริ่มต้นคือ เดิมคุณวีรวัฒน์มีความชื่นชอบการเลี้ยงปลาสวยงามประกอบกับได้รู้จัก CEO บริษัทเฉียนหวู่ สิงคโปร์ ซึ่งเดิมนั้นได้มีการสั่งซื้อปลาจากไทยกว่า 60-70 เปอร์เซ็นต์ จึงคิดที่จะเปิดสาขาที่ไทยเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและสามารถส่งออกจากประเทศไทยไปยังลูกค้าได้เลย ไม่ต้องส่งกลับไปยังสิงคโปร์แล้วกระจายสินค้าอีกครั้ง

ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

กระแสตอบรับหลังจากการเปิดสาขาในไทยนั้นถือว่าดีมาก เพราะอัตราการเจริญเติบโตของกิจการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งการส่งออกและการนำเข้า โดยสามารถแบ่งสัดส่วนการส่งออกได้ 90 เปอร์เซ็นต์ การนำเข้า 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปลาทั้งหมดเป็นการซื้อมาจากเกษตรกรไทยทั้งจากฟาร์มเลี้ยงปลาโดยตรงหรือซื้อจากผู้รวบรวม เพราะผู้ขายบางรายสามารถผลิตปลาสวยงามได้จำนวนน้อยทำให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มกับต้นทุนค่าขนส่ง การซื้อจากผู้รวบรวมทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก

ลูกค้าส่วนใหญ่ของธุรกิจขายปลาสวยงามมาจากทั้งทวีปเอเชีย อเมริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และรัสเซีย โดยปลาส่วนใหญ่ที่ส่งออกเป็นปลาติดอันดับที่คนนิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลาทอง ปลาหมอสี ปลากัด ปลามังกร และปลาคาร์ฟ นอกจากนี้ยังมีปลาสวยงามชนิดอื่นๆที่เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น ปลาหางนกยูง ปลาเงินปลาทอง ปลาแม่น้ำ ปลาอเมริกาเผือกหางไหม้ ฯลฯ

ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

การที่กิจการของคุณวีรวัฒน์สามารถเติบโตและรุ่งเรืองมาได้กว่า 13 ปีนั้นมาจากความใส่ใจในการส่งออกปลาที่ได้มาตรฐานทั้งขนาดและคุณภาพ เพราะเมื่อลูกค้าซื้อปลาสวยงามไปแล้วต้องคาดหวังให้ได้ตามที่ตนสั่ง ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสวยงามเพื่อส่งให้พ่อค้าคนกลางอย่างไทยเฉียนหวู่ต้องดูเทรนด์ตลาดต่างประเทศ อย่ายึดติดกับการเลี้ยงสายพันธุ์ใดเพียงสายพันธุ์เดียว เพราะตลาดปลาสวยงามนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และบริษัทไทยเฉียนหวู่ยังมีมาตรการคัดเลือกเกษตรผู้ส่งปลา โดยเริ่มจากการคัดเลือกขนาดปลาให้ได้ตามคำสั่งซื้อ พิจารณาว่าเป็นปลาที่มีโรคหรือไม่ รวมทั้งดูความชำนาญของเกษตรกรว่าสามารถเลี้ยงและต้อนปลาได้ดีขนาดไหน เพราะบางรายไม่มีประสบการณ์จึงทำให้เกล็ดปลาหลุดลอก ไม่สามารถขายได้

ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

นอกจากการติดตามข้อมูลความนิยมปลาในแต่ละชนิดแล้วอาจมีการเลี้ยงปลาที่เป็นที่นิยมโดยพื้นฐานทั่วไป เพราะเป็นความนิยมที่ยาวนานสามารถขายได้เรื่อยๆแม้กระแสจะไม่แรงมาก เช่น ปลากัด ที่นิยมทั้งในไทยและต่างประเทศมาเป็นเวลาหลายสิบปี เช่นปลากัดจีนสีต่างๆ ปลากัด Crowntailเป็นต้น

ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

สำหรับคนที่สนใจเริ่มต้นดำเนินธุรกิจขายปลาสวยงามต้องพิจารณาตนเองก่อนว่ามีความชื่นชอบและรักในการเลี้ยงปลาสวยงามมากขนาดไหน เพราะเป็นงานที่เหนื่อย ไม่สามารถหยุดงานได้บ่อย เพราะปลาเป็นสัตว์ที่ต้องมีการดูแลตลอดเวลา เนื่องจากอาศัยอยู่ในน้ำซึ่งง่ายต่อการติดเชื้อโรคและทำให้ป่วยตายได้ อีกทั้งต้องทุ่มเทและมีการตามข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ และสิ่งสำคัญคือควรมีมาตรฐานในการเลี้ยงปลาซึ่งภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาช่วยดูแล เพื่อให้ธุรกิจขายปลาสวยงามของไทยไปได้ไกลมากกว่านี้

ขายปลาสวยงาม “ไทยเฉียนหวู่” ปลาสวยงามฝีมือคนไทย ส่งออกสร้างรายได้ปีละ 200 ล้าน

ข้อมูลติดต่อขายปลาสวยงามไทยเฉียนหวู่
ที่ตั้ง : 30/25 หมู่ 8 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2516-1155-8
เว็ปไซต์: www.thaiqianhu.com
Facebook :https://www.facebook.com/qianhu.thailand
E-mail :order@thaiqianhu.com

หมายเหตุ รูปภาพและวีดิโอที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น

แสดงความคิดเห็น