ขั้นตอนเปิดร้าน “ขายส่งเครื่องดื่ม” ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ร้านขายส่งเครื่องดื่ม อาจฟังดูเฉพาะทางไปเสียหน่อย แต่จริงๆแล้วเราก็มักเรียกรวมๆว่าร้านโชว์ห่วยนั่นแหละ ถึงแม้ว่าปัจจุบันการซื้อสินค้าสะดวกสบาย มีร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าอยู่เรียงรายเต็มไปหมด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านขายของชำหรือร้านโชว์ห่วย ยังคงได้รับความนิยมอยู่เป็นอย่างมาก และยิ่งในต่างจังหวัดยังคงเป็นตัวเลือกในการซื้อของสำหรับผู้บริโภคในชุมชนนั้นๆอยู่ ร้านขายของชำจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ สำหรับคนที่เล็งเห็นโอกาสและอยากจะต้องการที่เปิดร้านขายส่งเครื่องดื่ม

สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการเริ่มต้นเปิดร้านใหม่

  1. ทุน
  2. แหล่งของสินค้า จะซื้อจากที่ใหนดี
  3. การขออนุญาตและการเสียภาษี
  4. การตั้งราคาขาย
  5. การจัดเรียงสินค้า
  6. รายการสินค้าที่ควรมีลงขาย
  7. เทคนิคการจัดร้าน

ทุน

เงินที่จะลงทุน ควรมีสัก 1 แสนบาท สำหรับร้านเล็ก งบ 1แสนบาทนี้ เราจะเอามาใช้

  1. ชั้นวางของ โต๊ะเก็บเงิน ตู้แช่ ฯลฯ
  2. สินค้า ที่จะขาย
  3. เงินทุนสำรอง

เงินลงทุนถ้าจะน้อยกว่านี้ พวกชั้นวางของเราอาจจะทำเองหรือจ้างช่างทำก็จะได้ชั้นวางของที่ถูกกว่าชั้นสำเหร็จรูปที่มีขายถูกกว่าตามท้องตลาดได้เยอะเลย ลงทุนไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับของที่จะลง ลองไปเชคดูตามร้านขายส่ง สำรวจตลาดว่าจะขายพวกไหนบ้าง จดไว้ ลงของแต่ละอย่างน้อยๆก่อน เพื่อทุนจะไม่จม ลูกค้าจะเป็นคนต้องการของเองแล้วบอกเรา ลูกค้าไม่ต้องการอะไรก็ค่อยๆลดลง ตู้แช่ชนิดฝากระจกเปลืองไฟมาก แรกๆแนะนำให้แช่ในตู้เย็นไปก่อน หากขายดีแล้วค่อยขยับขยาย

มีข้อห้ามอยู่สองสามข้อ

  1. ถ้าขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามเจ้าของกินเอง ห้ามพาเพื่อนมาตั้งวง ขาดทุนแน่ๆ
  2. งดเชื่อเด็ดขาด
  3. เงินขายกับเงินใช้ส่วนตัวต้องแยกออกจากกันคนละกระเป๋า

แหล่งของสินค้า จะซื้อจากที่ใหนดี

  1. ร้านขายส่ง
  2. ห้างค้าส่ง
  3. ตัวแทน (เซลล์)

เลือกแหล่งส่งที่ใกล้กับเราให้มากที่สุด จะได้ลดต้นทุนค่าขนส่งไปได้ ศึกษาเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของแหล่งสินค้าแต่ละที่มาเปรียบเทียบ เพื่อให้คุ้มค่าการลงทุนของเรา

  • ราคาสินค้า แต่ละแหล่งราคาจะไม่เท่า่กัน ไม่เหมือนกัน
  • จำนวนสินค้า บางแห่งต้องซื้อยกแพ็ค ยกลัง จะไม่แบ่งขาย บางแห่งสามารถ ซื้อแบบแบ่งได้ คละกันหลายๆแบบได้
  • การจัดส่ง บางแหล่งต้องไปรับสินค้ามาเอง แต่บางแหล่ง บริการส่งถึงร้าน
  • สินค้า ชำรุด เสียหาย หมดอายุ ต้องสามารถเปลี่ยนและคืนได้ง่าย
  • ห้ามลงของจากเซลที่มาติดต่อที่ยังไม่คุ้นเคย อาจเจอของปลอม หรือสอดใส้หมดอายุ
  • ห้ามเกรงใจพวกนี้จะมาเซ้าซี้ อย่าตัดความรำคาญโดยการซื้อไว้ แรกๆต้องไปหาเลือกจากร้านส่งมาเอง เว้นเราขายดีมากและชำนาญแล้ว หรือมีเพื่อนสนิทเป็นเซล

การขออนุญาตและการเสียภาษี

  1. สรรพสามิตร ต้องมีใบอนุญาตและเสียค่าธรรมเนียม ในการขาย บุหรี่ เหล้า-เบียร์-ไพ่
  2. สรรพากร ภาษีเงินได้
  3. ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่

การขออนุญาตและการเสียภาษีเบื้องต้นจะมีแค่นี้ สำหรับร้านค้าของชำ ขออนุญาตจากหน่วยงานราชการให้เรียบร้อย ป้องกันปัญหาที่จะตามมา เหล้า-เบียร์-บุหรี่ ควรระวังผู้ซื้อที่อายุยังไม่ถึงที่กฏหมายที่ห้ามขาย

การตั้งราคาขาย

  • ราคาทุน + 20% สำหรับราคาพื้นฐาน ที่เขาคำนวณกันแบบทั่ๆไป
  • ต่ำกว่า 20% สำหรับสินค้าที่ขายดี ขายได้ไว หรือเราต้องการให้ขายดี
  • 30% ขึ้นไป สำหรับสินค้าที่นานๆจะขายออกได้สักที

สินค้าหลายๆอย่างเรามาบวกกำไรตามใจชอบเองไม่ได้ เราต้องขายราคาตามท้องตลาดที่เขาขายกัน ราคาที่เราสามารถมาบวกเองได้ตามที่่เราต้องการ เราต้องดูราคาจากร้านคู่แข่งด้วย พยามอย่าให้ขายแพงกว่าเขา สรุปโดยรวมเลยสินค้าทั่วไปที่จะต้องบวกกำไรควรอยู่ที่ประมาณ ขอย้ำว่าปรมาณนะครับ จะมากจะน้อยกว่านี้ก็ได้ แต่ควรให้ได้กำไรเกาะอยู่ที่ 20%เป็นหลัก ซื้อของทุกที่ บิลสำคัญที่สุด เก็บให้ดีเลย เวลาทำราคาจะได้รุ้ต้นทุน คำณวนกำไรได้ถูกต้อง บางครั้งของมาแต่ละที่ราคาไม่เท่ากันก็มี จดบันทึกไว้ในสมุดรายการสินค้าไว้ก็จะดีมาก

การจัดเรียงสินค้า

  • จุดที่เด่นที่สุดของชั้นวางสินค้าก็คือระดับสายตาของลูกค้า เช่น ถ้าเป็นระดับสายตาที่ต้องการขายให้เด็กเล็กก็สามารถเลือกสินค้าเองได้ก็น่าจะอยู่ชั้นที่ต่ำกว่า สายตาของผู้ใหญ่ลงไปอีก
  • จุดแบ่งพื้นที่ให้สินค้าวางโชว์อยู่ในชั้นวางสินค้าให้เหมาะสมกับยอดขายที่คาดว่าจะขายได้ และตามอัตราผลกำไรที่จะได้รับโดยรวมด้วย
  • สินค้าควรจะต้องมีให้เห็นเพื่อขายอยู่บนชั้นวางสินค้าตลอดเวลาเพื่อไม่ให้โอกาสในการขาย
  • กรณีที่สินค้าขาดหายไป จงอย่าเลื่อนเอาสินค้าตัวอื่นมาแทนที่เนื่องจากจะทำให้ลืมได้ว่าตรงบริเวณนั้นสินค้าขาดไป และจะต้องรีบนำมาเติมให้เต็มพื้นที่ที่ จัดเตรียมไว้โดยเร็วที่สุด
  • ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายหรือสลับที่กันกับสินค้าตัวอื่น ๆ ควรจะต้องมีการศึกษาและปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างทางฝ่ายจัดซื้อและทางหน้าร้านก่อน จึงจะให้ ทำการย้ายจุดได้
  • ควรมีการปรับปรุงจุดที่จัดวางสินค้าบนชั้นวางสินค้าใหม่ในทุก ๆ 3 เดือน เพื่อคอยสอดส่องดูว่าผลการดำเนินงานหรือยอดขายและกำไรต่อพื้นที่การขาย ของสินค้าแต่และตัวนั้นเหมาะสมอยู่หรือไม่
  • การเติมสินค้าบนชั้นวางสินค้า ให้นำสินค้าเก่าที่มีอยู่ยกยอดออกมาให้หมดก่อนแล้วจึงเติมสินค้าใหม่จากด้านหลังมา ทั้งนี้จะช่วยในการบริหารสินค้าที่นำมา วางจำหน่ายไม่ให้มีสินค้าเก่าเก็บเหลืออยู่ในชั้นวางสินค้านานจนเกินไป
  • ชั้นวางสินค้าไม่ควรมีฝุ่นละอองจับ ไม่ว่าจะเป็นที่ตัวชั้นวางสินค้าเองหรือที่ตัวสินค้า
  • เมื่อสินค้าใหม่เข้ามา ควรรีบนำขึ้นวางสินค้าในทันที
  • จัดสินค้าให้แยกตามประเภทของสินค้าและให้เป็นตามแนวดิ่งจากชั้นล่างขึ้นบน หรือจากบนลงล่าง
  • สินค้ายี่ห้อที่เป็นที่นิยมให้จัดอยู่ในระดับสายตา ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ก่อนและเลือกหยิบซื้อได้โดยเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาหานาน
  • สินค้าประเภทที่ “ไม่เห็นไม่ซื้อ” หรือลูกค้าไม่เคยมีความคิดจะซื้ออยู่เมนูการจับจ่ายซื้อของเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว จงพยายามจัดเอาสินค้าประเภทนี้ วางให้กับสินค้าชนิดที่ขายดีหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้า
  • กรณีสินค้านั้น ๆ มีหลายขนาด ให้จัดสินค้าเป็นแนวดิ่ง คือให้ขนาดเล็กอยู่บน ขนาดใหญ่อยู่ล่าง เวลาจัดชั้นวางสินค้าพนักงานขายจะได้ไม่ต้องเหนื่อยมาก ในการหยิบยกสินค้าขนาดใหญ่ ๆ ไปไว้ข้างบน และลูกค้าเวลาเลือกหยิบจากชั้นวางสินค้าก็จะได้ไม่ต้องกลัวว่าสินค้าจะตกลงมาใส่หัว
  • ถ้าขนาดใดขายดี ให้เพิ่มพื้นที่ในชั้นวางสินค้าหรือขยายเพิ่มชั้นวาง 2 ชั้นขึ้นไป
  • ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียง 2 ยี่ห้อ และมีเพียงยี่ห้อละ 2 ขนาด ให้เอายี่ห้อที่ขายดีจัดวางชั้นบน และเอายี่ห้อรองวางชั้นล่าง
  • ถ้าสินค้าประเภทนั้นมีเพียงยี่ห้อเดียว ให้ดูว่าสินค้าประเภทใกล้เคียงกันในหมวดหมู่เดียวกันหรือไม่ ถ้ามีให้นำมาขายรวมหมวดกันและจัดวางตามยี่ห้อ เป็นแนวดิ่ง
  • ถ้าสินค้ามีหลายขนาดมาก แต่ละชั้นวางสินค้ามีเพียงไม่กี่ชั้นเราสามารถเพิ่มหรือเสริมชั้นวางสินค้าให้มีหลายชั้นได้

แนวคิดที่จัดวางสินค้าเป็นแนวดิ่งนี้เนื่องเพราะหากว่าเราจัดวางโชว์สินค้าเป็นแนวนอน เวลาลูกค้าเดินเลือกหาสินค้าแล้วจะเดินผ่านไปเลยและไม่มีโอกาสที่จะเดินย้อนกลับมาเลือกซื้อสินค้าประเภทอื่นที่วางขายอยู่ที่ชั้นอื่น ๆ อีก การเลือกดูตามขนาดของสินค้าก็เพียงก้ม ๆ เงย ๆ นิดหน่อยก็สามารถเลือกได้สินค้าที่พอใจแล้ว ดังนั้นโอกาสในการขายของก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากทำให้ลูกค้าสามารถมองเห็นสินค้าได้ทั่วไปนั้นเอง ·

รายการสินค้าที่ควรมีลงขาย

  • จะมากหรือน้อยกว่านี้ ก็แล้วแต่เงินทุนว่ามีพอไหม
  • ทุนจะใช้หนักที่สุด ก็พวก เหล้า -เบียร์-บุหรี่ ลงแต่น้อย เลือกตัวที่คิดว่าจะขายได้ดีก่อน เพื่อเจียดทุนไว้ไปกระจายลงสินค้าตัวอื่นๆให้ได้หลากหลายมากขึ้น
  • สินค้าทุกชนิด ควรลงไซค์ขนาดเล็กขายไปก่อน อย่าพึ่งลงไซค์ใหญ่

เทคนิคการจัดร้าน

การจัดรูปแบบภายในร้านค้า

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าได้พบเมื่อเข้าร้าน หลักการง่ายๆ มีอยู่ว่าบริเวณที่ลูกค้าเดินผ่านบ่อยเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ อยู่ระหว่างทางเข้าร้าน บริเวณสินค้าขายดี และจุดจ่ายเงิน หากสามารถเพิ่มปริมาณสินค้าบริเวณนี้ให้มาก ก็จะเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเห็นสินค้ามากขึ้น และแน่นอนโอกาสที่จะซื้อก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากนั้นมาดูเรื่อง การจัดระยะห่างของชั้นเรียงสินค้าให้พอดี ระยะแคบเกินไปทำให้ดูแออัด ลูกค้ามองเห็นสินค้าไม่ครบ ส่วนกว้างเกินไปก็ทำให้ร้านโล่งดูมีของขายน้อย ขยับมาที่ ชั้นวางสินค้า ควรแบ่งกลุ่มสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน และเลือกลักษณะของชั้นวางให้เหมาะสม ในขณะที่ บรรยากาศภายในร้าน ก็ต้องสร้างบรรยากาศที่ดี ตกแต่งด้วยรูปภาพ โปสเตอร์ หรือใช้โทนสีช่วย ร้านที่ใช้โทนสีอ่อนหรือสีขาวจะดูสว่างและสะอาด แสงสว่าง ที่เพียงพอจะทำให้มองเห็นสินค้าชัดเจน แต่ควรระวังไม่ให้แสงไฟทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนไป และควรเลือกใช้หลอดประหยัดไฟที่ให้แสงสว่างมากกว่าในจำนวนวัตต์ที่เท่ากัน

การจัดซื้อสินค้าเข้าร้าน

การแบ่งประเภทสินค้าแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ สินค้าเน่าเสียง่าย สินค้าหมุนเวียนช้า และสินค้าหมุนเวียนเร็ว การเลือกสินค้าเข้าร้านต้องเลือกให้หลากหลาย เลือกยี่ห้อที่เป็นที่นิยม เลือกขนาดบรรจุเพียง 1 หรือ 2 ขนาด โดยปกติมักเป็นขนาดเล็ก เลือกสี กลิ่น หรือรส เฉพาะที่เป็นที่นิยม และเลือกโดยดูจากความต้องการของลูกค้า ส่วนแนวทางการสั่งซื้อสินค้า เจ้าของร้านต้องกำหนดระยะเวลาให้แน่นอนสม่ำเสมอ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง และตรวจนับสินค้าคงเหลือก่อนสั่ง โดยตัดสินใจสั่งซื้อจากข้อมูลในอดีตแต่ก็ต้องหาข้อมูลใหม่ๆ ช่วยในการตัดสินใจอยู่เสมอ, สั่งซื้อตามจำนวนที่พอขายในช่วงเวลาที่กำหนด, ไม่กักตุนสินค้า เพราะนอกจากคุณภาพสินค้าลดลงแล้ว หากเก็บไม่ดีเป็นการเอาเงินไปจมไว้ ที่สำคัญบริหารสต็อกอย่าให้สินค้าขาดเพื่อไม่ให้เสียโอกาสการขาย

การจัดสรรพื้นที่วางสินค้า

ทำพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุด โดยพิจารณาจากยอดขายและความสะดวกของลูกค้าเป็นหลัก หลักเกณฑ์ในการจัดเรียงสินค้าคือ เห็นเด่นชัด เมื่อลูกค้าเห็นสินค้า สินค้านั้นย่อมได้รับการพิจารณาเลือกซื้อ เข้าถึงสะดวก ถ้าลูกค้าไม่สามารถแตะหรือหยิบสินค้าได้สะดวก สินค้านั้นย่อมไม่ได้รับการเลือกซื้อ จัดเรียงน่าสนใจ การตั้งโชว์สินค้าให้ดึงดูดความสนใจ ช่วยให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น เข้าก่อนออกก่อน รักษาระดับการหมุนเวียนสต็อกให้เหมาะสม และดูแลให้สินค้าบนชั้นใหม่สดเสมอ และสะอาดน่าซื้อ สินค้าที่สะอาดทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าใหม่น่าซื้อ

ขอขอบคุณ : https://www.bizpromptinfo.com

แสดงความคิดเห็น