งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง
งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง?

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง?

“งานประดิษฐ์สร้างรายได้” คือหนึ่งช่องทางทำเงินที่สามารถเป็นอาชีพได้ไม่ว่าจะอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ทำให้ผู้คนเทความสนใจให้กับงานประดิษฐ์สร้างรายได้อยู่ไม่น้อยรายเลยทีเดียว โดยในงานประดิษฐ์สร้างรายได้ก็มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ผลิต ซึ่งสามารถทำที่บ้านได้ หรือในเรื่องของวัสดุก็หาง่ายที่หลายๆ ครั้งสามารถพึ่งพาได้จากเศษไม้เศษผ้าที่หาได้โดยทั่วไป ในเรื่องของกรรมวิธีในการผลิตสินค้างานประดิษฐ์สร้างรายได้ดังกล่าวก็ไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญอะไร ทั้งยังสามารถทำได้ตามใจชอบตามสไตล์หรือตามความถนัดของแต่ละคน ส่วนมากก็จะเน้นหนักไปทางเย็บ ปัก ถัก ร้อยเป็นหลัก เพื่อสร้างสรรค์งานประดิษฐ์สร้างรายได้ให้เกิดขึ้น

แต่บางครั้งใครหลายๆ คนที่มีความต้องการในงานประดิษฐ์สร้างรายได้เหล่านี้ ที่มักมีความสนใจเกิดขึ้นแล้ว แต่ทว่าเทคนิคในการทำกลับยังไม่บังเกิด ด้วยเหตุผลนานัปการประกอบกัน อาจเป็นเพราะไม่เคยผ่านประสบการณ์ในการทำ หรือไม่เคยได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงวิธีการเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการ “ค้นหาวิธีทำ” ตามมา วันนี้ทางบทความจึงขอรวบรวมช่องทางแห่งการเรียนรู้ในงานประดิษฐ์สร้างรายได้ทั้งหลายมาให้ใครหลายๆ คนได้ศึกษาเป็นแนวทาง จะได้ไม่ต้องนั่งรำลึกให้เสียเวลาถ้าหากสมองยังโล่งถึงแหล่งที่มาของวิธีทำเหล่านั้นอยู่ ก็ตามไปดูที่คำแนะนำเหล่านี้กันเลย โดยช่องทางในการเรียนรู้งานประดิษฐ์สร้างรายได้มีดังนี้

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง

1. เรียนรู้จากหนังสือ/นิตยสาร

แหล่งความรู้ขั้นเบสิคสุด ก็คือหนังสือโดยในท้องตลาดหนังสือที่แนะนำงานประดิษฐ์สร้างรายได้ก็มีอยู่มากมาย โดยในการเรียนรู้จากหนังสือข้อดีก็คือความง่ายที่จะเรียนรู้ เพราะในหนังสือมักมีคำอธิบายและภาพประกอบอย่างละเอียด สามารถทำตามได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องเลย ยกตัวอย่างหนังสือ เช่น นิตยสารประดิดประดอย นิตยสารงานฝีมือ เป็นต้น

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง

2. เรียนจากสถาบันที่เปิดสอนในงานนั้นๆ โดยตรง

แหล่งการเรียนรู้ข้อนี้ถือว่าเป็นแหล่งที่ได้ผลที่สุดแล้ว เพราะมีอาจารย์หรือวิทยากรผู้ชำนาญการมาให้คำสั่งสอนอยู่ใกล้ๆหากนักเรียนผู้ฝึกหัดอย่างเราๆ เกิดปัญหาหรือข้อสงสัยในการทำชิ้นงานขึ้นมาเมื่อไร ก็สามารถถามวิทยากรได้ตอนนั้นเวลานั้นทันที แต่ข้อเสียของการเรียนทางนี้ก็คือต้นทุนค่อนข้างสูง เพราะค่าเรียนต่อคอร์สก็หนักเอาเรื่องอยู่ เว้นแต่บางสายอาชีพที่มีบรรจุอยู่ในหลักสูตรศูนย์ฝีกอาชีพของรัฐบาลอันนั้นก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปหน่อย เพราะศูนย์ฝีกอาชีพของภาครัฐฯ ส่วนใหญ่มักมีการเก็บค่าใช้จ่ายน้อย หรือหลายๆ แห่งก็ไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายเลย โดยในงานเหล่านั้น ได้แก่ แกะลายกระจก ร้อยลูกปัด อัดกรอบพลาสติกกันน้ำ ดอกไม้ดินญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนในงานที่จำเป็นต้องเรียนจากศูนย์ถ่ายทอดวิชาภาคเอกชนจริงๆ ได้แก่ งานควิลท์ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้มักไม่มีบรรจุในศูนย์ฝึกอาชีพภาครัฐฯ

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง

3. เรียนรู้ตามคำอธิบายตามหน้าเว็บ (กระทู้/บล๊อก)

อีกหนึ่งหนทางต้นทุนต่ำสำหรับบ้านที่มีอินเตอร์เน็ตติดบ้านเหมาจ่ายเป็นรายได้อยู่แล้ว ก็คือทางอินเตอร์เน็ตที่มักมีการเขียนบล๊อกหรือกระทู้ต่างๆ เพื่อสอนงานประดิษฐ์หลากหลายประเภทงานด้วยกัน รวมไปถึงเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสอนงานประดิษฐ์โดยเฉพาะก็มีอยู่มากมายหลายต่อหลายเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น http://p-dit.com เป็นต้น

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง

4. เรียนตาม Youtube

หนึ่งแหล่งการเรียนรู้ที่น่าสนใจก็คือ www.youtube.com ที่เมื่อเข้าไปสู่หน้าเว็บไซต์แล้ว ใครอยากเรียนวิชาอะไรก็กรอกคำสำคัญเพื่อค้นหาคลิปต่างๆ เหล่านั้นได้เลย ก็จะพบกับผู้ใจดีทั้งหลายที่ได้อัพโหลดคลิปการสอนงานประดิษฐ์เหล่านั้นเอาไว้ทั้งวัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำอย่างเสร็จสรรพ หากทำไม่ทันก็ยังสามารถกด Pause เอาไว้ได้อีก ซึ่งนับเป็นช่องทางที่ช่วยในการเรียนรู้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล เว้นเสียแต่ว่าคลิปวิชาที่ผู้อยากเรียน ไม่มีใครเคยอัพโหลดมาก่อนเท่านั้น

งานประดิษฐ์สร้างรายได้ เรียนรู้วิธีการทำจากที่ไหนได้บ้าง

และทั้งหมดนี้ก็เป็นช่องทางในการเรียนรู้เพื่อสร้างงานประดิษฐ์สร้างรายได้ทั้งหมด 4 แหล่งด้วยกัน เชื่อว่าแต่ละแหล่งจะช่วยถ่ายทอดวิชาหรือไอเดียงานประดิษฐ์ได้เป็นอย่างดี ที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถใช้เวลาว่างสร้างเงินได้อย่างเหมาะสม สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนสนุกกับการสร้างงานประดิษฐ์ และสามารถสร้างอาชีพไปพร้อมๆ กันนะคะ

หมายเหตุ รูปภาพและวิดีโอที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับทางบทความแต่อย่างใด

แสดงความคิดเห็น