งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง
งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง

งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง?

งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง

งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง?

“งาน Handmade” สร้างอาชีพ หลายคนคงเคยผ่านหูมาบ้างก็คำๆ นี้ และต้องการจะสร้างอาชีพจากงาน Handmade เช่นกัน วันนี้เราก็มีข้อแนะนำดีๆ มานำเสนออีกแล้วค่ะ ด้วยการหยิบยกเรื่องราวมาร้อยเรียงเป็นบทความภายใต้ขอบข่ายสำคัญของคำว่า “งาน Handmade” ผลงานเปี่ยมไอเดียและความสามารถ เชื่อมโยงไปสู่การสร้างรายได้ที่เหมาะสม เพื่อทุกคนที่มีใจรักในอาชีพสร้างสรรค์งาน Handmade ที่ว่ามานี้ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการอาชีพทั้งหลาย ที่จะช่วยเพิ่มรายได้ในกระเป๋าตนให้มีมากขึ้น

ว่าแต่งาน Handmade สามารถสร้างอาชีพอะไรได้บ้าง ความจริงแล้วงาน Handmade ก็นำไปสู่การสร้างอาชีพได้ในหลายๆ หนทางเลยแหละค่ะ หากใครที่ยังคิดไม่ออกบอกไม่ถูก ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความซึ่งเตรียมข้อมูลเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ที่สามารถสร้างสรรค์ได้ด้วยงาน Handmade ดังนี้

งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง

1. ผู้ผลิตงาน Handmade

นี่อาจเป็นอันดับแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงเมื่อเกิดคำถามว่างาน Handmade สามารถสร้างอาชีพอะไรได้บ้าง เพราะงาน Handmade เป็นงานที่เกิดขึ้นจากการผลิต ทำให้หลายคนอดนึกถึงไม่ได้ในฐานะผู้ผลิตสำหรับการสร้างอาชีพซึ่งผู้ผลิตก็เป็นไปได้ถึงสองทางด้วยกัน โดยทางแรกอาจผลิตผลงานออกมาแล้วนำไปขายเองในท้องตลาด หรืออีกหนึ่งทางก็คือผลิตและค้าส่งให้พ่อค้าแม่ค้ามารับไปจำหน่ายต่อนั่นเอง

2. ผู้ขายงาน Handmade

อีกหนึ่งอาชีพตามมาหลังจากผลิตเสร็จก็ต้องออกวางขายจึงจะเกิดรายได้ โดยผู้คนส่วนมากเจ้าของงาน Handmade มักเป็นทั้ง 2 ส่วนด้วยกัน คือผู้ผลิตและผู้ขาย ซึ่งผลผลิตที่ได้จะมีจำนวนไม่มากนัก เป็นธุรกิจเล็กๆ ส่วนงาน Handmade เหล่านั้นก็ไม่ได้มีความซับซ้อนทางเทคนิคมากมายอะไร ผิดกับอีกแบบซึ่งอาจต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการผลิต เช่น ตุ๊กตาขนาดใหญ่ ที่ถึงแม้จะเป็นงาน Handmade แต่ก็อาจมีระบบแบบแผนซับซ้อนพอสมควร ตั้งแต่เริ่มหาวัตถุดิบและการผลิตต่างๆ ทำให้ผู้ค้าขายบางคนไม่สันทัดที่จะผลิตด้วยตัวเอง แต่ถนัดที่จะรับมาขายมากกว่า

งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง

3. ผู้ดีไซน์หรือออกแบบงาน Handmade

ในส่วนนี้อาจเป็นคนๆ เดียวกันกับผู้ผลิตด้วย เพราะในการผลิตเริ่มต้นก็ต้องดีไซน์ก่อนเป็นอันดับแรก แต่บางครั้งเจ้าของผลงาน Handmade บางรายก็เลือกที่จะทำธุรกิจแบบไม่ผลิตเอาไว้ก่อน แต่รอรับออร์เดอร์จากลูกค้าแล้วค่อยผลิต อาจเป็นการผลิตของพรีเมี่ยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลูกค้ารายนั้นๆ ที่เจ้าของชิ้นงานต้องมีการออกแบบให้ตรงใจลูกค้าก่อนผลิตและส่งมอบเป็นลำดับ จึงขอเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่าเป็นผู้ผลิตมากกว่าที่จะเป็นผู้ขาย

4. ผู้สอนงาน Handmade

มีอีกจำนวนไม่น้อยเลยที่เปิดสถาบันสอนเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่มีใจรักในงานประเภทเดียวกัน เกี่ยวกับงาน Handmade โดยเฉพาะในชิ้นงานที่มีความซับซ้อน มีความยุ่งยากทางเทคนิค จนยากแก่การเรียนรู้ด้วยตัวเองจากผู้สนใจทั่วๆ ไป เช่น งานควิลท์ เป็นต้น สุดท้ายก็ต้องไปพึ่งพาสถาบันต่างๆ ที่มีการเปิดสอนวิชานั้นๆ ในที่สุด ซึ่งธุรกิจด้านนี้ก็ถือเป็นความน่าสนใจหนึ่งอย่าง สำหรับผู้ที่มีความรู้ในงาน Handmade ที่ตนถนัดอยู่แล้ว แต่อาจต้องใช้ต้นทุนในเรื่องของอุปกรณ์และสถานที่สักหน่อย จึงจะสามารถสร้างเป็นอาชีพที่สมบูรณ์ได้

งาน Handmade สร้างอาชีพอะไรบ้าง

5. ผู้จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับงาน Handmade

ปิดท้ายด้วยอาชีพผู้จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับงาน Handmade หนึ่งอาชีพน่าสนใจ เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ สำหรับงาน Handmade ไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่ต้องซื้อจากร้านจำหน่ายอุปกรณ์เหล่านี้โดยเฉพาะเจาะจง ท่ามกลางความต้องการที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับงาน Handmade ก็ทำให้ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์สามารถสร้างรายได้ที่เหมาะสม และหลายครั้งผู้จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับงาน Handmade ก็เปิดธุรกิจควบคู่ไปกับโรงเรียนสอน เนื่องจากว่าในการสอนต้องพึ่งพาอุปกรณ์อยู่แล้ว จึงเปิดขายควบคู่กันไปเลยซึ่งก็น่าสนใจไม่น้อยและนับเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เกิดขึ้นจากงาน Handmade เช่นกัน

หมายเหตุ : รูปภาพที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น

แสดงความคิดเห็น