กลยุทธ์ตั้งชื่อบริษัท ธุรกิจขนาดเล็กตั้งชื่อย่างไรให้ปัง!

การตั้งชื่อถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นแยกอัตลักษณ์ที่ชัดเจน สร้างความเป็นตัวตน การตั้งที่ชื่อร้านค้า บริษัท หรือกิจการนั้น ต้องคำนึงถึงหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อที่เป็นมงคล เสริมบารมี ตามหลักความเชื่อของคนไทย หรือการตั้งชื่อตามยุคสมัย ชื่อบริษัทเก๋ๆให้เข้ากับเทรนด์ปัจจุบัน และสิ่งสำคัญของการตั้งชื่อกิจการที่ดีคือ “กระชับ ได้ใจความ ง่ายแก่การจดจำ” เพราะต่อให้ชื่อสวยงามอลังการสักเพียงใดแต่ถ้าคนจำชื่อร้านไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์

1.ตั้งชื่อบริษัทมงคล / มีความหมายดี
สำหรับผู้ประกอบการที่เน้นด้านเสริมดวง เสริมบารมี การตั้งชื่อในส่วนนี้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องดูปัจจัยอื่นๆประกอบกันด้วย เช่น บ้านเลขที่หรือที่ตั้งบริษัท สีประจำบริษัท ฤกษ์ยามวันทำการจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ตั้งชื่อร้านค้า ตั้งชื่อกิจการ เลขที่ทำการของบริษัท-ร้านค้า ฯลฯ ซึ่งอาจจะดูวุ่นวายแต่ก็เป็นแสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับผู้ประกอบการบางราย เป็นความชอบส่วนบุคคล แต่สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้เน้นหนักในเรื่องนี้ หลักการตั้งชื่อแนะนำว่าให้เน้นคำที่มีความหมายไปในทางที่ดี เกี่ยวกับเงินทอง ความรุ่งเรือง หรือสัมพันธ์กับสินค้าที่จำหน่าย เป็นต้น

ตัวอย่างชื่อบริษัทมงคล

• รุ่งเรืองภัตตาคาร
• มหามงคลค้าข้าว
• ห้างทองโชคดี
• Supper Rich
• มังกรทอง รับสร้างบ้าน
• ห้างทองฮั่วเซ่งเฮง
• สมบูรณ์โภชนา

2. สั้นๆได้ใจความ
ไม่ควรตั้งชื่อให้ยาวจนเกินไป เพราะจะยากแก่การจดจำ ชื่อที่ยาวจนเกินไปจะทำให้แบรนด์ดูไม่น่าสนใจ ยากแก่การทำการตลาด ดูไม่โดดเด่นเมื่ออยู่บนเว็บไซต์หรือในแผ่นป้ายโฆษณา, ใบบลิว, VDO Presentations ต่างๆ

3. ไม่ซ้ำใคร
หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อที่เหมือนหรือคล้ายกับคู่แข่ง เพราะจะทำให้ลูกค้าสับสน แทนที่จะเข้าร้านคุณอาจเดินเข้าร้านคู่แข่งแทนเพราะนึกว่าเป็นร้านเดียวกัน ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายชื่อว่าชื่อที่คุณจะตั้งว่ามีคนใช้งานไปแล้วหรือไม่ และจองชื่อนิติบุคคลได้ที่เว็บไซต์ของกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th ตรวจสอบก่อนจะได้ลดความเสี่ยงลดข้อผิดพลาด

4. ไม่เลียนแบบชื่อแบรนด์/บริษัท ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว
การลอกเลียนแบบนอกจากจะไม่สร้างสรรค์แล้วยังเสี่ยงต่อการติดคุก เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นนั้นผิดกฎหมาย ต้องเสียเงินชดใช้ค่าลิขสิทธิ์และอาจติดคุกได้

5. ไม่ควรนำชื่อตัวเองมาตั้งเป็นชื่อบริษัท
จริงอยู่ที่ชื่อหรือนามสกุลนั้นดีต่อผู้ประกอบการ คือไม่ต้องคิดชื่อใหม่ให้วุ่นวาย ส่งต่อกันได้รุ่นสู่รุ่น ยกตัวอย่างเช่น “ฮิลตัน (Hilton)” โรงแรมระดับโลกมีสาขาอยู่ทั่วโลกธุรกิจครอบครัวที่บรรดาทายาทต่างมีชื่อเสียงและโด่งดัง อย่าง Paris Hilton หรือ Nicky Hilton แต่เมื่อพิจารณาแล้วสิ่งสำคัญคือเรื่องของ “ภาษา” ที่เป็นสากลอยู่แล้วจึงทำให้เข้าถึงได้ไม่ยาก บวกกับเทรนด์ในสมัยก่อนนิยมใช้ชื่อตัวเองมาตั้งเป็นชื่อบริษัท เพราะในอดีตนั้นบริษัทยักษ์ใหญ่จริงๆมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ สามารถนำชื่อของบรรพบุรุษมาตั้งเป็นชื่อตัวเองได้ เมื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุคผู้สืบทอดก็ยังคงเป็นชื่อเดิมอยู่ แต่สำหรับคนไทย ชื่อและนามสกุลเมื่อเขียนเป็นภาษาอังกฤษบางรายเขียนยาก อ่านก็ยิ่งยาก ดังนั้นยากแก่การจดจำแน่นอน นั้นในกรณีที่ต้องขยายธุรกิจในอนาคต มีหุ้นส่วน หรือเปลี่ยนประเภทธุรกิจ ชื่อที่ตั้งอยู่อาจไม่สัมพันธ์กับกิจการ

6. อักษรย่อ ไม่จำเป็นเสมอไป
แม้ว่าการใช้อักษรย่อจะช่วยให้การทำตลาดนั้นง่ายขึ้นและจดจำได้ง่าย แต่สำหรับ “ธุรกิจขนาดเล็ก”หรือ “ผู้ประกอบการรายย่อย” ควรที่จะให้ชื่อเต็มจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับธุรกิจมากกว่า เพราะในการเริ่มต้นธุรกิจนั้นการรับรู้แบรนด์ยังมีไม่มากพอ ต้องสั่งสมผู้ภักดีต่อแบรนด์ไปเรื่อยๆก่อน เมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อยปรับเปลี่ยนเสริมอักษรย่อลงไปก็ยังไม่สาย

7. เลือกใช้คำง่าย อ่านง่าย เขียนง่าย
ไม่จำเป็นต้องใช้คำที่สะกดยากๆ เพื่อให้ดู “แปลก เก๋” แล้วจะดูน่าสนใจเสมอไป เพราะถ้าชื่อบริษัท, ชื่อแบรนด์, ร้านค้าของคุณอ่านยาก ออกเสียงยาก ก็ยากแก่การจดจำแบรนด์เช่นกัน ในการติดต่อทางธุรกิจหากเลือกใช้อักษรหรืออักขระแปลกๆ เวลาเขียนชื่อบริษัทติดต่อซื้อขายอาจเป็นปัญหา เช่น การเซ็นสัญญา การสั่งจ่าย เป็นต้น เพราะลูกค้าเขียนชื่อบริษัทของคุณผิด รวมทั้งในการจดทะเบียนบริษัทหรือจดทะเบียนโดเมนเว็บไซต์ อาจทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย

8. เน้นจุดเด่นของสินค้า
กรณีนี้คือการนำเอาประเภทหรือตัวสินค้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการตั่งชื่อ ยกตัวอย่างเช่น “เฮงวัสดุก่อสร้าง” เราจะสังเกตได้ว่าสื่อสารกับลูกค้าไปตรงๆว่าทำธุรกิจอะไร มีความชัดเจน สื่อถึงความโปร่งใสตรงไปตรงมา และเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะได้ตรงจุด ลูกค้าเห็นชื่อร้านก็จะทราบได้ทันว่าขายสินค้าใด

9. ตั้งชื่อให้สัมพันธ์ต่อการสร้างโลโก้
ชื่อบริษัทจะต้องไม่ยากซับซ้อนจนไป เพราะจะยุ่งยากเมื่อสร้างโลโก้แบรนด์ เนื่องตัวโลโก้เองก็ต้องเน้นให้จดจำง่ายเช่นกัน หากใช้ตัวหนังสือหรือสีสันเยอะจนหาจุดโพกัสไม่ได้ ชื่อบริษัทหรือชื่อแบรนด์ก็จะถูกกลืนหายไปกับโลโก้

10. คำนึงถึงการขยายกิจการในอนาคต
หลีกเลี่ยงการใช้สถานที่มาตั้งชื่อบริษัทหรือชื่อแบรนด์ให้มาก ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้ แม้ตอนนี้จะเป็นแค่ช่วงเริ่มต้นธุรกิจก็จริง แต่โอกาสในภายหน้าอาจขยายสาขาออกไปยังต่างจังหวัดทั่วไปประเทศหรือต่างประเทศก็เป็นไปได้ ยกตัวอย่างเช่น หากท่านตั้งชื่อบริษัทว่า “ลาดพร้าวสังฆภัณฑ์” แน่นอนว่าง่ายต่อการจดจำสำหรับพื้นที่เฉพาะเจาะจงในบริเวณนั้น แต่เมื่อขยายไปยังเขตอื่น จังหวัดอื่น คำว่าลาดพร้าวก็ไม่สามารถใช้งานได้ดีอีกแล้ว แต่จะสร้างความสับสนแทน

10 หลักการทั้งหมดที่กล่าวมาเบื้องต้นนี้ เป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการหรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ได้นำไปพิจารณาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างแบรนด์ จัดตั้งบริษัท “การตั้งชื่อบริษัท ชื่อกิจการ ชื่อร้านค้า หรือชื่อแบรนด์ที่ดีจะช่วยให้คุณดูโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งทางธุรกิจ และยังช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับบริษัทอีกด้วย”

สรุปหลักการตั้งชื่อบริษัท

1.ตั้งชื่อบริษัทมงคล / มีความหมายดี
2. สั้นๆได้ใจความ
3. ไม่ซ้ำใคร
4. ไม่เลียนแบบชื่อแบรนด์/บริษัท ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว
5. ไม่ควรนำชื่อตัวเองมาตั้งเป็นชื่อบริษัท
6. อักษรย่อ ไม่จำเป็นเสมอไป
7. เลือกใช้คำง่าย อ่านง่าย เขียนง่าย
8. เน้นจุดเด่นของสินค้า
9. ตั้งชื่อให้สัมพันธ์ต่อการสร้างโลโก้
10. คำนึงถึงการขยายกิจการในอนาคต

แสดงความคิดเห็น