โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล
โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล

ทีวีดิจิทัล โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล

โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล
โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล

ทีวีดิจิทัล โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล

โทรทัศน์ นับเป็นสื่อดั้งเดิมที่สามารถเข้าถึงและมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคได้มากที่สุด โดยในปัจจุบัน ผู้บริโภคไทยสามารถรับชมสื่อโทรทัศน์ผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ ฟรีทีวีระบบอะนาล็อกภาคพื้นดินที่มีช่องรายการเพียง 6 ช่อง เคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม ที่มีช่องรายการรวมกันมากกว่า 200 ช่อง อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย กำลังจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้วยการก้าวเข้าสู่ยุคระบบดิจิทัล โดยการรับชมทีวีดิจิ ทัลภาคพื้นดิน จะเป็นการขจัดข้อจำกัดเรื่องคุณภาพของภาพและเสียงให้มีความคมชัดกว่าระบบอะนาล็อกภาคพื้นดิน

เนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณ ในรูปแบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ จึงลดปัญหาคลื่นรบกวนสัญญาณภาพและเสียง นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีระบบดิจิทัล จะสามารถรองรับการ ให้บริการประยุกต์ในรูปแบบต่างๆ ในอนาคตได้ เช่น บริการอินเตอร์แอ็คทีฟแบบ 2 ช่องทาง และวิดีโอออนดีมานด์ เป็นต้น และยังเป็นการ พัฒนาประสิทธิภาพการใช้คลื่นความถี่วิทยุให้สูงขึ้น เพราะหนึ่งคลื่นความถี่วิทยุ ระบบดิจิทัลจะสามารถออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ได้ถึง 8 – 25 ช่องรายการ ในขณะที่ระบบอะนาล็อกสามารถออกอากาศได้เพียงหนึ่งช่องรายการเท่านั้น จึงทำให้ทีวีดิจิทัลสามารถมีช่องได้มากถึง 48 ช่อง โดยแบ่งออกเป็นช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง และช่องบริการกลุ่มธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งช่องบริการกลุ่มธุรกิจนี้ จะถูกแบ่ง ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ช่องวาไรตี้ HD จำนวน 7 ช่อง ช่องวาไรตี้ SD จำนวน 7 ช่อง ช่องข่าว จำนวน 7 ช่อง และช่องเด็ก จำนวน 3 ช่อง

 

โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล
โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล

ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ทำการเลือกระบบ Digital Video Broadcasting Terrestrial Second Generation หรือ DVB-T2 ที่เป็นระบบดิจิทัลทีวีของยุโรป เพื่อเป็นมาตรฐานในการออกอากาศ ทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินในประเทศไทย ซึ่งช่องบริการธุรกิจทั้งหมด 24 ช่อง จะทำการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประมูลเพื่อขอใบอนุญาต ประกอบกิจการ ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายของผู้ประกอบการให้เข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์อย่างเท่าเทียมภายใต้การกำกับดูแล ของกสทช.

โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล
โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล

 ความน่าสนใจและแนวโน้มของภาพรวมอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ภายหลังการเกิดทีวีดิจิทัล

ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย มีฟรีทีวีระบบอะนาล็อกภาคพื้นดินเป็นแพลตฟอร์มหลัก โดยมีช่องรายการอยู่เพียง 6 ช่อง ทำให้เกิดข้อ จำกัดด้านการแข่งขันของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ หรือแม้แต่เจ้าของสินค้าและเอเจนซี่ โฆษณาขนาดเล็ก ที่อาจจะมีโอกาสในการเข้าถึงฟรีทีวีได้น้อย อันเนื่องมาจากจำนวนช่องรายการและเวลาสำหรับการออกอากาศที่มีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ หรือเจ้าของสินค้าและเอเจนซี่โฆษณาที่ป้อนเข้าสู่ฟรีทีวีกระจุกตัวอยู่ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กจะกระจุกตัวอยู่บนแพลตฟอร์มเคเบิ้ลทีวีหรือทีวีดาวเทียมเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประมูลใบอนุญาตทีวี ดิจิทัลแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย จะมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

 1. การแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์มีความเข้มข้นขึ้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ที่หลากหลาย การที่อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย กำลังจะมีฟรีทีวีช่องบริการธุรกิจเพิ่มเป็น 24 ช่อง นับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับสื่อโทรทัศน์หน้าใหม่ เพื่อเข้าสู่สื่อฟรีทีวีที่ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่ครองฐานคนดูมากที่สุด

เช่น ผู้ประกอบการในธุรกิจให้บริการผลิตรายการ โทรทัศน์รายใหญ่ที่มีศักยภาพทางด้านเงินทุน ก็จะมีโอกาสเข้ามาเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการช่องรายการได้ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการในธุรกิจสื่ออื่นๆ อย่างสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความต้องการปรับรูปแบบธุรกิจสู่ธุรกิจบรอดคาสต์ ก็จะมีโอกาสเข้ามาประมูลช่องบริการธุรกิจเพี่อเป็นผู้ให้บริการช่องรายการใน แพลตฟอร์มฟรีทีวีได้เช่นกัน ขณะเดียวกัน ธุรกิจให้บริการผลิตรายการโทรทัศน์ขนาดเล็กที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการที่มี คุณภาพ ก็จะมีโอกาสผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อป้อนสู่ฟรีทีวีได้มากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์มีความเข้มข้นมากขึ้นตามไปด้วย

2. ธุรกิจสื่อมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้นในหลายแพลตฟอร์ม จากการเข้ามาของผู้ประกอบการที่หลากหลาย โดยเฉพาะจากธุรกิจสื่ออื่นๆ อย่างสื่อสิ่งพิมพ์ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจสื่อในลักษณะที่มี การเชื่อมโยงกันมากขึ้นในหลายแพลตฟอร์ม อาทิเช่น เนื้อหาข่าวเดียวกัน 1 รายการ จะถูกกระจายสู่หลายสื่อด้วยกัน ทั้งสื่อทีวีดิจิทัล สิ่งพิมพ์ หรือบนอุปกรณ์สื่อสารอย่างมือถือ เป็นต้น

3. ความต้องการรายการโทรทัศน์และคุณภาพของรายการสูงขึ้นจากจำนวนช่องฟรีทีวีที่มีมากขึ้น การที่มีจำนวนช่องบริการธุรกิจซึ่งเป็นฟรีทีวีเพิ่มขึ้นจาก 6 ช่อง เป็น 24 ช่อง ประกอบกับตามหลักเกณฑ์ของ กสทช. ที่ระบุให้ผู้ ประกอบการช่องรายการที่ชนะการประมูลจะต้องออกอากาศช่องทีวีดิจิทัลภายใน 30 วัน หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ย่อมทำให้ผู้ ประกอบการช่องรายการต่างๆ ต้องแสวงหารายการโทรทัศน์ให้พร้อมและเพียงพอต่อการออกอากาศ ซึ่งอาจจะจัดหาโดยการซื้อลิขสิทธิ์รายการ โทรทัศน์ไม่ว่าจะเป็นละครซีรี่ย์ หรือรายการวาไรตี้ มาจากต่างประเทศ หรือเป็นการจัดหาโดยการจ้างบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ภายในประเทศ เป็นต้น ส่งผลให้ความต้องการรายการโทรทัศน์มีแนวโน้มเติบโตสูง ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล

4. เกิดการแข่งขันในเชิงคุณภาพของเนื้อหารายการโทรทัศน์ เพื่อแย่งชิงสายตาคนดู จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียมในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดช่องรายการมากกว่า 200 ช่อง บนเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม และหลังจากเกิดทีวีดิจิทัล ก็จะมีช่องบริการธุรกิจบนฟรีทีวีเพิ่มเป็น 24 ช่อง จะทำให้คนดูมีทางเลือกในการรับชม รายการโทรทัศน์ตามความสนใจของตนเองมากขึ้น โดยคนดูที่มีจำนวนเท่าเดิมจะถูกกระจายตัวไปรับชมรายการโทรทัศน์ตามแพลตฟอร์มต่างๆ

อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เมื่อคนดูมีทางเลือกในการรับชมรายการโทรทัศน์มากขึ้นจากช่องรายการที่หลากหลายนั้น จะทำให้เกิดการ แข่งขันในเชิงคุณภาพของรายการโทรทัศน์ โดยคาดว่า รายการโทรทัศน์ในยุคทีวีดิจิทัลจะมีลักษณะที่แปลกใหม่ แตกต่าง และมีคุณภาพสูงขึ้น เนื่อง จากผู้ประกอบการช่องรายการจะต้องคัดสรรเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่น่าสนใจและโดดเด่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและดึงดูดสายตาคนดูให้ ได้มากที่สุด

 

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์…กับโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ เพื่อเข้ามาแข่งขันในสื่อฟรีทีวีที่คาดว่าจะมีความเข้มข้นขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์รายเล็กที่จะ ได้รับอานิสงส์ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล มีดังนี้

• ธุรกิจให้บริการผลิตรายการโทรทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตรายการโทรทัศน์ การมีช่องรายการเพิ่มขึ้นจากการเกิดทีวีดิจิทัลในปี 2557 ย่อมเป็นปัจจัยผลักดันหลักที่ทำให้ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากเวลาในการออกอากาศมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดิจิทัลต่างๆ ต้องจัดหารายการโทรทัศน์เพื่อให้เพียงพอต่อการออกอากาศ

เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ขนาดเล็กที่เคยมุ่งเสนอผลงานรายการโทรทัศน์ป้อนเข้าสู่แพลตฟอร์มเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาว เทียมเดิม เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ป้อนเข้าสู่แพลตฟอร์มฟรีทีวีที่ยังคงมีฐานคนดูอยู่มาก ทั้งนี้ จากความต้องการรายการโทรทัศน์เพื่อป้อนเข้าสู่ช่องฟรีทีวีที่มีมากขึ้น จะนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตรายการโทรทัศน์ที่ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจให้เช่าสตูดิโอ อุปกรณ์การถ่ายทำรายการ เสื้อผ้านักแสดง และธุรกิจการให้ บริการการตัดต่อภาพและเทคนิคพิเศษ เป็นต้น

• ธุรกิจเอเจนซี่โฆษณาและโปรดักชั่นเฮ้าส์ การเกิดทีวีดิจิทัลในรูปแบบฟรีทีวีกว่า 24 ช่องนั้น คาดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาบนสื่อฟรีทีวีกลับมาคึกคักอีกครั้ง เนื่องจากช่วงเวลาสำหรับ การโฆษณาจะมีมากขึ้นและอัตราค่าเช่าเวลาโฆษณาที่คาดว่าจะลดลงจากจำนวนช่องฟรีทีวีที่มีมากขึ้น ทำให้เจ้าของผลิตภัณฑ์รายใหม่ รวมถึงเจ้าของ ผลิตภัณฑ์รายเล็กเดิมที่เคยกระจุกตัวลงโฆษณาในช่องเคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม มีโอกาสมาลงโฆษณาในฟรีทีวีมากขึ้น และเมื่อความต้องการ โฆษณาบนสื่อฟรีทีวีมีมากขึ้น ธุรกิจเอเจนซี่โฆษณา รวมถึงธุรกิจโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่รับจ้างผลิตหนังโฆษณาและงานด้านกราฟฟิค หรือเทคนิคพิเศษ ซึ่งธุรกิจดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก จะมีโอกาสสร้างรายได้จากการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาบนสื่อโทรทัศน์

• ธุรกิจจัดจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ดิจิทัลและกล่องรับสัญญาณดิจิทัล (Set-Top-Box) การรับชมทีวีระบบดิจิทัลภาคพื้นดินนั้น ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์รับสัญญาณดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีจูนเนอร์ระบบดิจิทัลแบบ DBV-T2 ในตัว หรือกล่องรับสัญญาณดิจิทัล (Set-Top-Box) จึงนับว่าเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ดิ จิทัลและกล่องรับสัญญาณดิจิทัล เพื่อมารองรับความต้องการของผู้บริโภคที่คาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลดังกล่าว

ในขณะที่ ปัจจุบัน ทาง กสทช. ได้มีการทยอยรับรองมาตรฐานและอนุญาตให้จัดจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มีจูนเนอร์ระบบดิจิทัลแบบ DBV-T2 ในตัว รวมถึงกล่องรับสัญญาณดิจิทัล ซึ่งทำให้กลุ่มผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อเครื่องรับโทรทัศน์หรือกล่องรับสัญญาณดิจิทัลมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับชมทีวีดิจิทัล และยังทำให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จัดจำหน่ายสามารถทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายได้อย่างเต็มที่ เช่น การให้คูปองส่วนลด การผ่อนนานโดยปราศจากดอกเบี้ย หรือแม้แต่การขายเครื่องรับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกพ่วงไปกับการขายกล่องรับ สัญญาณระบบดิจิทัล เพื่อเป็นการระบายเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นเก่าในสต๊อก เป็นต้น

• ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง การที่มีช่องรายการบนฟรีทีวีเพิ่มขึ้น นับว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้งที่ใช้สื่อโทรทัศน์เป็นช่องทางสำคัญในการทำ การตลาด เนื่องจากผู้ประกอบการจะมีช่องรายการสำหรับทำการตลาดผ่านรายการโทรทัศน์หรือสปอตโฆษณา เพื่อเสนอขายสินค้าและบริการบน ช่องฟรีทีวีได้มากขึ้น ประกอบกับเหตุผลที่ว่า กลุ่มบริโภคส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 ยังนิยมรับชมช่องรายการโทรทัศน์ในรูปแบบฟรีทีวี ทำให้เป็น การเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเปิดมาพบเจอรายการโทรทัศน์หรือสปอตโฆษณาที่มีการเสนอขายสินค้าและบริการได้บ่อยขึ้น นอกจากนี้ จากจำนวนช่อง ฟรีทีวีที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะทำให้ต้นทุนในการทำการตลาดผ่านสื่อโทรทัศน์ถูกลงอีกด้วย นั่นย่อมส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจโฮมช้อปปิ้งขนาดเล็ก ได้มีโอกาสเข้ามาทำการตลาดผ่านสื่อโทรทัศน์มากขึ้น

สภาวะการแข่งขัน…จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัล

เพื่อความเข้าใจถึงโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ที่มาจากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล และสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของรูปแบบทางธุรกิจได้เต็มที่ ในขณะที่ ระมัดระวังหรือกำจัดจุดด้อย และหาทางรับมือกับอุปสรรคทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ผู้ประกอบการควรพิจารณาและทำความเข้าใจผลการวิเคราะห์ จุดอ่อน/จุดแข็ง/โอกาส/อุปสรรค ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ ดังนี้

โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล
โอกาสทางธุรกิจ กับ การก้าวสู่ยุคดิจิทัล

 ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์หลังจากการเกิดทีวีดิจิทัล

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การเริ่มออกอากาศของทีวีดิจิทัลในราวไตรมาส 1 ปี 2557 ที่ใกล้จะถึงนี้ น่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อ โทรทัศน์ทั้งธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์ เอเจนซี่โฆษณาและโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่รับจ้างผลิตหนังโฆษณา รวมถึงธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง โดยจะเป็นการเปิด โอกาสให้ผู้ประกอบการรายใหม่ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ในรูปแบบฟรีทีวีได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการควรจะพิจารณาถึงหลากหลายปัจจัยที่มีส่วนทำให้การประกอบธุรกิจบนสื่อทีวีดิจิทัลสามารถประสบความสำเร็จในระยะยาว ดังนี้

1. การพัฒนาคุณภาพของรูปแบบและเนื้อหารายการอยู่เสมอ การพัฒนาคุณภาพของรูปแบบและเนื้อหารายการอยู่เสมอ เพื่อสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ประสบความสำเร็จในระยะยาว เนื่องจาก ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับชม เนื้อหารายการโทรทัศน์มากขึ้น อันเนื่องมาจากความหลากหลายของช่องรายการตามแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งฟรีทีวี เคเบิ้ลทีวีและทีวีดาวเทียม

ดังนั้น ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ โดยเฉพาะผู้ให้บริการผลิตรายการโทรทัศน์ เอเจนซี่โฆษณา โปรดักชั่นเฮ้าส์ หรือแม้แต่ผู้ประกอบ การโฮมช้อปปิ้ง จึงจำเป็นต้องผลิตเนื้อหารายการ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหารายการโทรทัศน์อย่างละคร วาไรตี้ เนื้อหาโฆษณา และรายการแนะนำสินค้า ให้มีคุณภาพ โดดเด่น และแปลกใหม่อยู่เสมอ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้จดจ่ออยู่กับเนื้อหารายการที่ผู้ผลิตตั้งใจจะนำเสนอให้มากที่สุด

2. การออกแบบเนื้อหารายการให้สามารถรับชมได้หลากหลายแพลตฟอร์ม จากการพัฒนาของโลกเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ย่อมมีส่วนที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บิรโภคเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ประกอบ การจึงจำเป็นต้องจับกระแสความต้องการของผู้บริโภคในขณะนั้น และออกแบบ รวมถึงพัฒนาการผลิตเนื้อหารายการโดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี ในขณะนั้นได้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง

ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันนิยมรับชม เนื้อหารายการในรูปแบบวิดีโอผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค หรือยูทูป บนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต รวมถึงนิยมแชร์ เนื้อหารายการที่ตนชื่นชอบสู่โลกออนไลน์ ดังนั้น การออกแบบเนื้อหารายการต่างๆ ทั้งรายการโทรทัศน์หรือโฆษณาสินค้าและบริการ ก็ควรมีการ พิจารณาถึงกระแสพฤติกรรมของผู้บริโภคดังกล่าวด้วย อาทิเช่น การออกแบบเนื้อหารายการที่อนุญาตให้ผู้บริโภครับชมในรูปแบบวิดีโอบนโลกอิน เทอร์เน็ตผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เวบไซด์ หรือโมบายแอพพลิเคชั่น บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เป็นต้น

3. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ ด้วยเทคโนโลยีการกระจายภาพและเสียงด้วยระบบดิจิทัล ประกอบกับการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์สื่อสารที่มีส่วน สำคัญที่ทำให้พฤติกรรมของบริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการในธุรกิจที่ให้บริการผลิตรายการโทรทัศน์หรือโฆษณา จำเป็นต้องมีการพัฒนา บุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และสามารถ แข่งขันเชิงธุรกิจกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมได้

โดยสรุป

การเกิดทีวีดิจิทัล ที่มีช่องบริการธุรกิจเพิ่มเป็น 24 ช่อง โดยเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประมูลเพื่อขอใบอนุญาตประกอบกิจการ เป็นการขจัดข้อจำกัดในการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ เนื่องจากจะมีกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาแข่งขันในสื่อฟรีทีวีที่ยังครองฐานคนดู มากที่สุด และเมื่อมีผู้ประกอบการเข้ามาในสื่อฟรีทีวีหลากหลายขึ้นนั้น ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันในเชิงคุณภาพของเนื้อหารายการโทรทัศน์เพื่อ แย่งชิงสายตาคนดูที่ยังคงมีจำนวนเท่าเดิม

ในขณะเดียวกัน จากการที่มีจำนวนช่องรายการในฟรีทีวีมากขึ้น ย่อมส่งผลให้ความต้องการรายการ โทรทัศน์มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการช่องรายการ จะต้องจัดหาเนื้อหารายการให้พร้อมและเพียงพอต่อการออกอากาศ นอกจากนี้ การที่มีจำนวนช่องรายการเพิ่มมากขึ้นนั้น จะยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์รายเล็กที่มีความพร้อมและ ความเชี่ยวชาญ ในการเข้ามาแข่งขันในสื่อฟรีทีวีมากขึ้น อาทิเช่น ธุรกิจให้บริการผลิตรายการโทรทัศน์ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตรายการ โทรทัศน์อย่าง ธุรกิจให้เช่าสตูดิโอ อุปกรณ์ หรือเสื้อผ้าในการถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ธุรกิจเอเจนซี่และโปรดักชั่นเฮ้าส์สำหรับการออกแบบและ ถ่ายทำโฆษณาสินค้าและบริการ หรือแม้แต่ธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง เนื่องจากจำนวนช่องรายการและเวลาในการออกอากาศมีมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ไทย และยังคงเป็นเรื่อง ใหม่สำหรับผู้บริโภคคนไทยด้วยเช่นกัน จึงทำให้ทีวีดิจิทัล เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายต่อผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ราย ใหม่ที่อาจจะยังไม่มีฐานคนดูมากนัก

ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการประกอบธุรกิจบนสื่อดิจิทัลทีวีให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น จึงจำเป็น ต้องมีการพัฒนาทางด้านเนื้อหารายการโทรทัศน์ให้มีความแปลกใหม่ โดดเด่น และมีคุณภาพอยู่เสมอ มีการปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้บริโภคในขณะนั้น รวมถึงมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อรักษาความสามารถใน การแข่งขันในอุตสาหกรรมในระยะยาวได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
KSME Care

แสดงความคิดเห็น