ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวได้กลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆโดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่ทั้งนี้เมื่อการก้าวเข้าสู่ AEC การแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็จะมีสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ทำให้ประเทศไทยต้องปรับทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยต้องมีการชูความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศให้มากขึ้น เพราะว่าจะทำให้เกิดความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่หมือนประเทศใดและไม่มีประเทศใดสามารถเหมือนได้ นั่นก็คือการแสดงออกทางด้านวัฒนธรรมที่เป็นแบบอย่างเฉพาะของประเทศไทย จึงได้มีการเสนอแนวคิดในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขึ้นมา

ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันที่ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรมที่มีแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นตามแต่ละภาคของประเทศไทย เป็นมรดกที่ส่งผ่านจากบรรพบุรุษมาเป็นระยะเวลานานอีกทั้งยังแฝงภูมิ ปัญญาความรู้ของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นเอาไว้ด้วย การท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีความตื่นตัวแต่เป็นความตื่นตัวที่มีอยู่ทั่วโลกสำหรับประเทศไทยการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมการบริการที่เป็นการสร้างการกระจายรายได้ไปยังทุกพื้นที่เกิดการจ้างงาน มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประเทศไทยควรมีการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศ เพื่อการสร้างให้เป็นธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน โดยแสดงให้เป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศ ต้องมีการคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเพื่อให้อยู่คู่ประเทศไทยต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นนักท่องเที่ยวจะเน้นที่จะมาศึกษาหาความรู้ในบริเวณพื้นที่ที่มีคุณลักษณะที่สำคัญทางวัฒนธรรม เพราะว่าในแต่ละท้องถิ่นจะมีในบริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม เพราะในแต่ละท้องถิ่นจะมีการบอกเล่าเรื่องราวและวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นนั้นๆองค์ความรู้ที่มีคุณค่าเช่นนี้จะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ผ่านทางสภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือขนบธรรมเนียม ประเพณี อย่างเช่น เทศกาลฉลองต่างๆ สินค้าพื้นเมือง ประเพณี อย่างเช่น ประเพณีวันสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นการทำเทศกาลงานบุญและทำบุญให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับเพื่อแสดงถึงความกตัญญูและยังหมายถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพผู้ทำหน้าที่ช่วยรักษาข้าวในนาให้เจริญงอกงาม

เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประเพณียี่เป็งที่เชียงใหม่หรือก็คือประเพณีลอยกระทงซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเพณีในการมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวได้อย่างมาก ซึ่งเทศบาลนครเชียงใหม่จะให้ความสำคัญในการจัดงานทุกๆปีเพื่อใช้วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามเป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยว ในงานจะมีทั้งการประกวดขบวนแห่กระทงและนางนพมาศ โคมลอย ยังรวมถึงการแสดงศิลปะะวัฒนธรรมทางล้านนาให้แก่นักท่องเที่ยวได้เห็นได้ชมรวมถึงการได้เรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมทางล้านนาไทยอีกด้วย งานเทศกาลยิ่งใหญ่ของจังหวัดนครพนมอย่าง ประเพณีไหลเรือไฟและงานกาชาดที่จัดขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ

ซึ่งประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีของชาวอีสานภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เฮือไฟ” จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที โดยมีประวัติความเป็นมาดังนี้ กล่าวคือพระพุทธเจ้าเสด็จไปฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาค พระพุทธองค์ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพญานาคที่เมืองบาดาลและพญานาคได้ทูลขอพระพุทธองค์ประทับรอบพระบาทไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทาม หานทีต่อมาบรรดาเทวดา มนุษย์ ตลอดจนสัตว์ทั้งหลายได้มาสักการะบูชารอยพระพุทธบาท นอกจากนี้ประเพณีไหลเรือไฟยังจัดขึ้นเพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลและเป็นการเอาไฟเผาความทุกข์ให้ลอยไปกับสายน้ำทำให้เรือไฟมักทำ เป็นรูปพญานาค นักท่องเที่ยวก็จะได้เรียนรู้ในเรื่องพุทธศาสนาและประเพณีอันดีงามนี้ว่าทำไมต้องมีการจัดงานนี้ขึ้นอีกด้วยนอกจากนียังมีอีกหลากหลายประเพณีที่ชูความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยสู่สายตานักท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ซึ่งกลายเป็นจุดขายหนึ่งของการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม

ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีทั้ง ประโยชน์ทางสังคมวัฒนธรรมและประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เพราะการท่องเที่ยวจะช่วยเผยแพร่เอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศและนอกจากนี้ยังนำมาซึ่งประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพราะการท่องเที่ยวจะช่วยเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และนอกจากนี้ยังนำมาซึ่งประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของชาติอย่างมาก นำเงินตราเข้าประเทศมากที่สุด ทำให้ประเทศไทยต้องมีการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นต่างๆเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพราะว่าความเข้มแข็งของวัฒนธรรมและการจัดการวัฒนธรรมจะสามารถเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญของความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศโดยการนำเอาการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมที่มีความคิดสร้างสรรค์นำมาจัดการให้เกิดความสนใจสอดคล้องตามคุณค่าของชุมชนหรือท้องถิ่น ส่วนแบบไหนที่ถือว่าเป็นการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม ควรจะครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง

การท่องเที่ยวที่เน้นในเรื่องวัฒนธรรมประกอบไปด้วย ประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้านเทศกาลต่างๆที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ศาสนารวมถึงพิธีกรรมทางศาสนา ภาษา และวรรณกรรม ดนตรีการแสดง โบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ดั้งเดิมอีกทั้งงานศิลปะหัตกรรมต่างๆ ภาพวาดวิถีชีวิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย อาหารและลักษณะทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้ ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จึงทำให้ทางด้านวัฒนธรรมนำมาใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการสร้างรายได้ให้กับประเทศ การจัดการการการท่องเที่ยวที่ปรับเข้าสู่การท่องเที่ยวสร้างสรรค์ นั้นต้องอาศัยความเข้มแข็งของชุมชน โดยชุมชนจะมุ่งเน้นนำเสนอรูปแบบของกิจกรรม (Cultural Activity) ที่มีความหลากหลาย เช่น การชมการละเล่น การร้องเพลง การฟัง ดนตรีพื้นเมือง การชมภาพเขียน จิตรกรรม การนำชมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น นำชมโบราณสถานหรือการเปิดโอกาสให้ นักท่องเที่ยวเข้าร่วมประเพณี พิธีกรรมพื้นบ้าน ซึ่งในแต่ละภาคของประเทศนั้นมีเอกลักษณ์ที่นำเสนอออกมาได้แตกต่าง กันตามความแตกต่างของวัฒนธรรมพื้นบ้าน คติความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นประเพณีแต่งงาน ประเพณีบุญทางศาสนา

ดังนั้นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไม่ให้สูญหายหรือถูกลืมเลือนไป จึงเป็นการก้าวไปข้างหน้าและเป็นก้าวย่างที่สำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศไทย เนื่องด้วยเพราะประเทศไทยมีความเป็นอัตลักษณ์สูง (Authenticity) และนี่คือ สินค้าชิ้นสำคัญทางการท่องเที่ยวในปัจจุบันนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากให้ความสนใจกับการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รู้จักกับชุนชนในระดับที่ลึกกว่าการท่องเที่ยวทั่วไปในรูปแบบที่เคยชินโดยให้ความสนใจกับสินค้าทางวัฒนธรรม เพื่อให้ตนเองได้รับประสบการณ์ (Experience) ที่แปลกใหม่ทั้งประสบการณ์ตรงที่สามารถจับต้องได้และประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการรับรู้แต่ไม่สามารถจับต้องได้ ฉะนั้นการจัดการวัฒนธรรมจึงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของการพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศไทยเพื่อให้เกิดการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญและเป็นปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จในการสร้างคุณค่าความทรงจำสำหรับทั้งนักท่องเที่ยวและชุมชนเอง การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีรูปแบบการจัดการที่แตกต่างจากการท่องเที่ยวประเภทอื่นเพราะมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและความเชื่อถ้าจะพูดถึงกระบวนการในการวางแผนและการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก็จะประกอบด้วยองค์ประกอบเชิงหลักการดังต่อไปนี้

การกำหนดมาตรการและนโยบายเพื่อการวางแผนและการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกำหนดขอบเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมโดยให้ความสำคัญของการอนุรักษ์ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงและขณะเดียวกันควรมีการกำหนดเกณฑ์การธำรงรักษาอย่างมีความสมดุลระหว่างชุมชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวดำเนินการวางแผนวางระบบการบริการจัดการตามข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติและเทคนิควิธีการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมวางระบบการอำนวยความสะดวกในการมาเยือนของนักท่องเที่ยว ได้แก่ อาคารสถานที่ทางวัฒนธรรม การแสดงกิจกรรมทางศิลปะวัฒนธรรม ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึกและเส้นทางเชื่อมโยงแต่ละกลุ่มกิจกรรมท่องเที่ยวดำเนินการตามกลไกบริหารจัดการ โดยควบคุมแต่ละกลุ่มกิจกรรมท่องเที่ยวให้เกิดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริหารจัดการที่บ่งชี้การธำรงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นให้มีความต่อเนื่อง โดยการสร้างกระบวนแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวมีความตระหนักรู้ในคุณค่าความงดงามของวัฒนธรรม

ดังนั้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาควบคู่กันซึ่งการรักษามรดกวัฒนธรรมเป็นประโยชน์ด้านองค์ความรู้และการให้คุณค่าแก่สังคม ในขณะที่การพัฒนาการท่องเที่ยวนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและรายได้ของชุมชน การจัดหาแนว ทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้แนวคิดหลักเพื่อใช้ในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมประกอบด้วยแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและแนวคิดเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ซึ่ง แต่ละแนวคิดจะประกอบด้วยกลยุทธ์และแนวทางสนับสนุนที่จะ นำไปสู่การจัดการมรดกวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงมรดก วัฒนธรรมเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งถ้าหากว่าประเทศไทยมีการจัดการที่ดีเป็นระบบแบบแผนโดยคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลักไม่ใช่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญกว่าท้องถิ่นและประเทศชาติการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษา วัฒนธรรมของชาติสามารถทำให้เกิดความผละประโยชน์ทาง เศรษฐกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนของวัฒนธรรมอันดีงามได้อย่างแน่นอน

แสดงความคิดเห็น