ธุรกิจอาหารกล่อง ... รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง
ธุรกิจอาหารกล่อง ... รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง

ธุรกิจอาหารกล่อง … รองรับชีวิตพนักงานออฟฟิสและคนเมือง

ธุรกิจอาหารกล่อง ... รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง
ธุรกิจอาหารกล่อง … รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง

“ธุรกิจอาหารกล่อง” … รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง (Start-Up Business)

“ธุรกิจอาหารกล่อง” เป็นหนึ่งในธุรกิจอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในสังคมปัจจุบัน ที่ในแต่ละวันของการดำรงชีวิตยังอยู่บนฐานของความรีบเร่ง และเต็มไปด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลา ทำให้ไม่มีเวลาในการจัดเตรียมอาหารได้เอง ส่งผลให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มองหาสินค้าและบริการที่เน้นความสะดวกมาเป็นอันดับแรก จึงเกิดเป็นช่องว่างของธุรกิจอาหารกล่อง ที่เข้ามาเติมเต็มความต้องการในช่วงเวลาเร่งด่วนได้เป็นอย่างดี

ธุรกิจอาหารกล่อง … เสิร์ฟง่าย ขายคล่อง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง

ความน่าสนใจ: ธุรกิจอาหารกล่องได้รับความนิยมมากขึ้น ตามการเติบโตของสังคมเมือง ที่วิถีชีวิตยังยึดติดอยู่กับความเร่งรีบ และเต็มไปด้วยข้อจำกัดด้านเวลา ที่ส่งผลให้ไม่มีเวลาประกอบอาหารรับประทานเองได้ที่บ้าน อีกทั้งเมื่อหาซื้อสินค้ามาประกอบอาหารเอง ก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง (เมื่อคำนวณค่าวัตถุดิบ ค่าแก๊ส ค่าไฟ ค่าเสียเวลา และค่าอื่นๆ) หากเปรียบเทียบกับราคาอาหารสำเร็จรูปที่มีวางจำหน่ายทั่วไป ดังนั้น การเลือกซื้ออาหารกล่องมารับประทานน่าจะคุ้มกว่า (โดยเฉพาะครอบครัวเดี่ยวที่อยู่กันเพียง 1-2 คน) ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลทำให้ธุรกิจอาหารกล่องขยายตัว และเข้ามาตอบสนองความต้องการผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความเร่งด่วน เช่น ในช่วงเช้า กลางวันหรือช่วงเย็น

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงความน่าสนใจในตัวสินค้า ซึ่งก็คือ อาหารกล่อง จะพบว่า อาหารกล่องสามารถหาซื้อได้ง่าย มีรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ อาหารกล่องเมนูทั่วไป อาหารกล่องแนวปิ่นโต (สำหรับครอบครัว) อาหารกล่องสำหรับการจัดเลี้ยง/สัมมนา หรืออีเวนท์ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ในส่วนของเมนูอาหารก็มีอยู่หลากหลายประเภทเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารตามสั่ง อาหารญี่ปุ่น อาหารจีน อาหารตามเทศกาลอย่าง อาหารเจ อาหารมังสวิรัติ และที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกอย่างหนึ่งในปัจจุบัน คือ อาหารเพื่อสุขภาพ (อาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก) และอาหารเพื่อผู้ป่วยเฉพาะโรค เป็นต้น

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย: มักเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่สะดวกจะทำอาหารเพื่อรับประทานเองได้ที่บ้าน ยกตัวอย่างเช่น

ธุรกิจอาหารกล่อง ... รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง (3)
ธุรกิจอาหารกล่อง … รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง

 ผลตอบแทนทางธุรกิจ: โดยทั่วไปธุรกิจในกลุ่มอาหาร ผลตอบแทนของผู้ประกอบการจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ของต้นทุนรวม อย่างไรก็ดี อาหารกล่องเป็นสินค้าที่ค่อนข้างทำกำไรสูง หากผู้ประกอบการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเมนูอาหารที่นำเสนอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมนูอาหารที่มีความโดดเด่นจากสินค้าประเภทเดียวกันที่วางจำหน่าย (ซึ่งอาจจะมาจากตัววัตถุดิบที่มีความพิเศษ พิถีพิถันหรือบรรจุภัณฑ์ที่ดูสะอาด สวยงามสะดุดตา) และที่กำลังมาแรงในปัจจุบันอย่าง อาหารเพื่อสุขภาพ (อาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก) และอาหารเพื่อผู้ป่วยเฉพาะโรค ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จากกระแสรักษ์สุขภาพ ซึ่งเมนูพิเศษเหล่านี้ผู้ประกอบการสามารถกำหนดราคาตามความเหมาะสมได้ หากสินค้ามีความแตกต่างจากสินค้าของคู่แข่งที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาด เนื่องจากผู้ซื้อมีความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่อคุณประโยชน์ที่แฝงอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์ ดังนั้น จากความน่าสนใจที่ได้กล่าวมา น่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องว่างทางการตลาดของธุรกิจอาหารกล่อง ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี

การลงทุนในธุรกิจอาหารกล่อง … ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมากด้วยกลยุทธ์มัดใจผู้บริโภค

หากผู้ประกอบการ SMEs กำลังมองหาลู่ทางในการลงทุนธุรกิจด้านอาหาร ธุรกิจอาหารกล่องน่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อย โดยแนวทางสำหรับการเริ่มลงทุนทำธุรกิจ มีประเด็นสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อม ดังต่อไปนี้

• ศึกษาความพร้อมในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในเรื่องของเงินทุน สถานที่จัดจำหน่ายและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และทรัพยากรบุคคลที่จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการ อาทิ พนักงานหรือผู้ช่วยที่จะเข้ามาเป็นลูกมือหรือดูแลในส่วนต่างๆ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย ฝ่ายผลิต ซึ่งได้แก่ พ่อครัวและผู้ช่วย พนักงานขาย อีกส่วนหนึ่งก็คือ ฝ่ายออฟฟิสที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องของการจัดซื้อ บัญชีและการตลาด อย่างไรก็ดี สำหรับกิจการที่ยังไม่ได้ขยายใหญ่มาก ผู้ประกอบการอาจจะเข้ามาดูแลในส่วนนี้ได้ด้วยตนเอง

• วางแผนการจัดการต้นทุนที่ดี โดยทั่วไปเงินลงทุนเริ่มต้นนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของกิจการ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนในการลงทุนธุรกิจอาหารกล่อง พบว่า ต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนของต้นทุนด้านวัตถุดิบอาหารเป็นหลัก ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบอาหารคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 30-40 ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนที่เป็นต้นทุนอื่นๆ จะประกอบด้วย ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนอุปกรณ์ (บรรจุภัณฑ์ ช้อนส้อม) ต้นทุนค่าขนส่ง รวมไปถึงเงินทุนหมุนเวียน (ค่าใช้จ่าย

ด้านสถานที่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า เป็นต้น) ทั้งนี้ เคล็ดลับความสำเร็จของธุรกิจอาหารกล่อง พบว่า อยู่ที่การควบคุมต้นทุนให้ได้เป็นสำคัญ ในขณะที่ส่วนต่างของกำไรโดยรวมของผู้ประกอบการก็ควรอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40

• สถานที่จัดจำหน่ายต้องดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ ควรอยู่ในบริเวณที่มีคนพลุกพล่านและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่าย อาทิ ย่านออฟฟิศ แหล่งชุมชนที่พักอาศัย บริเวณสถานีรถไฟฟ้า/รถโดยสาร เป็นต้น โดยสำหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน/สถานที่จำหน่ายเป็นของตนเอง จะมีความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้ง ในการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนในเรื่องของการเช่าสถานที่เพื่อจัดจำหน่ายได้ อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีหน้าร้าน/สถานที่จำหน่ายเป็นของตนเอง การเข้าถึงลูกค้าอาจจะทำได้โดย
1. การเช่าสถานที่เพื่อจำหน่ายในทำเลที่ลูกค้าเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่าย
2. การทำตลาดผ่านทางเวปไซต์ ซึ่งในส่วนนี้ถือเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ร้านให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เนื่องจากลูกค้าสามารถเข้ามาชมเมนูอาหารและบริการของร้านได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็สามารถใช้เป็นช่องทางในการกระจายข่าวสารของร้าน ตลอดจนสิทธิเศษที่ลูกค้าจะได้รับได้อีกทางหนึ่งด้วย เหมาะสำหรับการเจาะกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะวัยรุ่น/วัยทำงาน ที่มักจะเข้าถึงสื่อออนไลน์อยู่เป็นประจำ

• อาหารต้องมีคุณภาพ สะอาด รสชาติถูกปาก โดนใจ สำหรับธุรกิจอาหารกล่อง จุดเด่นที่มาเป็นอันดับหนึ่ง คือ รสชาติอาหารที่ดี อร่อยถูกปาก ใส่ใจในเรื่องของคุณภาพอาหาร โดยเฉพาะการเลือกใช้วัตถุดิบที่สดใหม่อยู่เสมอ ซึ่งในส่วนนี้ ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญอยู่ที่การควบคุมคุณภาพอาหารให้ได้มาตรฐาน ไม่เพียงแต่ในเรื่องของรสชาติ แต่ยังครอบคลุมไปถึงหน้าตาของอาหารที่ดีด้วย

• บรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยได้มาตรฐาน ขึ้นชื่อว่าอาหารกล่อง ดังนั้น บรรจุภัณฑ์หรือตัวกล่องก็มีความสำคัญไม่แพ้กันกับรสชาติอาหาร ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ดีควรจะสามารถเก็บรักษาอาหารไม่ให้เน่าเสียได้ง่าย และมีความแข็งแรงไม่แตกหักหรือเสียหายได้ง่าย อย่างไรก็ดี ในการเลือกบรรจุภัณฑ์ ควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ว่ากำลังนำเสนอสินค้าแก่กลุ่มลูกค้าระดับใด หากเป็นกลุ่มทั่วไป ก็พิจารณาใช้กล่องโฟม หรือพลาสติกแบบทั่วไปได้ แต่หากเป็นกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนขึ้นไป ก็ควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงทนทานมากขึ้น เพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อการนำเสนอสินค้า ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับร้านค้าอีกทางหนึ่ง

• การสร้างสรรค์เมนูอาหาร เพิ่มมูลค่า สร้างผลกำไรเพิ่ม เป็นที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันกลุ่มลูกค้าของธุรกิจอาหารกล่องมีหลากหลายกลุ่ม ดังนั้น การนำเสนอเมนูอาหารที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม มีส่วนอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารกล่องของผู้ประกอบการ จะเห็นได้ว่า ในกลุ่มผู้บริโภคบาง Segment อาทิ กลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการอาหารเพื่อสุขภาพและผู้ป่วยเฉพาะโรคนั้น ผู้ประกอบการสามารถดีไซน์เมนูอาหารให้ตรงกับความต้องการลูกค้าได้ ซึ่งหากหน้าตาอาหารและรสชาติเป็นที่พึงพอใจ ก็จะมีส่วนอย่างมากต่อการตัดสินใจใช้บริการในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น

ธุรกิจอาหารกล่อง ... รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง (4)
ธุรกิจอาหารกล่อง … รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง

 • กลยุทธ์มัดใจ … ทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง การดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค สิ่งสำคัญหลักๆ มักจะอยู่ที่ 1) ความสะอาดและรสชาติอร่อย 2) รูปร่างหน้าตาอาหาร บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามดูดี 3) เมนูอาหารมีความโดดเด่นแปลกใหม่ เชิญให้ชวนชิม 4) ราคาจำหน่ายต้องแข่งขันกับคู่แข่งได้ (ปกติจะเริ่มต้นที่กล่องละ 35 บาท ไปจนถึง 300 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการปรุงและวัตถุดิบ) และหากมีการกำหนดราคาที่สูงกว่าสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาด ต้องนำเสนอให้ได้ว่ามีความแตกต่างหรือมีความพิเศษกว่าอย่างไร 5) ใส่ใจในเรื่องของการให้บริการ Service Mild 6) นำเสนอส่วนลดหรือโปรโมชั่นออกมาดึงดูดให้ผู้บริโภคเพิ่มความถี่ในการเข้ามาใช้บริการอยู่เสมอ

• เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยการเพิ่มบริการเสริมเพื่อเข้าถึงผู้บริโภค อาทิเช่น บริการจัดส่งถึงที่ (Delivery) ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการเสริมที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม สำหรับลูกค้าบางกลุ่มที่เวลาน้อย ไม่สะดวกในการเดินทางมาเลือกซื้อ ซึ่งมีผู้ประกอบการบางส่วนให้บริการจัดส่งถึงที่แล้ว โดยบริการนี้สามารถช่วยขยายกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะลูกค้าที่ภารกิจรัดตัวมากๆ โดยในจุดนี้ อาจจะขยายไลน์ไปถึงการรับทำอาหารปิ่นโต (แยกกับข้าว) ได้อีกด้วย โดยกลุ่มลูกค้าที่คาดว่าจะให้การตอบรับบริการนี้อย่างดี ได้แก่ กลุ่มครอบครัว เป็นต้น

สภาวะการแข่งขัน … จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค ของธุรกิจอาหารกล่อง

แม้ว่าการดำเนินธุรกิจอาหารกล่องไม่ใช่เรื่องซับซ้อนมากนัก แต่ก็ไม่ง่ายที่จะประคับประคองธุรกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว หากผู้ประกอบการขาดแนวทางการวางแผนธุรกิจที่เหมาะสม โดยจะเห็นได้ว่า ในแต่ละวันมีร้านอาหารกล่องเปิดใหม่เสมอๆ แสดงให้เห็นว่าคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันมีอยู่มาก และแต่ละร้านก็มีฝีมือ/รสชาติอาหาร ตลอดจนกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป ในขณะที่ตัวผู้บริโภคเองก็มีทางเลือกในการรับประทานที่ค่อนข้างหลากหลาย และมีสินค้าทดแทนอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ธุรกิจอาหารกล่อง ยังคงให้ภาพของการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ทำการวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจอาหารกล่อง เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจเพื่อลงทุนและการวางแผนต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้ในระยะต่อไป โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

ธุรกิจอาหารกล่อง ... รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง (1)
ธุรกิจอาหารกล่อง … รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง

Key Success … ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจอาหารกล่อง

ธุรกิจอาหารกล่อง ... รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง (2)
ธุรกิจอาหารกล่อง … รองรับ Life Style พนักงานออฟฟิสและคนเมือง

 โดยสรุป

“ธุรกิจอาหารกล่อง” เป็นหนึ่งในธุรกิจอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในสังคมปัจจุบัน ที่ในแต่ละวันของการดำรงชีวิตยังอยู่บนฐานของความรีบเร่ง และเต็มไปด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลา ทำให้ไม่มีเวลาในการจัดเตรียมอาหารได้เอง ส่งผลให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้มองหาสินค้าและบริการที่เน้นความสะดวกมาเป็นอันดับแรก จึงเกิดเป็นช่องว่างของธุรกิจอาหารกล่อง ที่เข้ามาเติมเต็มความต้องการในช่วงเวลาเร่งด่วนได้เป็นอย่างดี โดยมีกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้บริโภควัยทำงาน พนักงานออฟฟิส กลุ่มผู้ที่ใส่ใจอาหารเพื่อสุขภาพ และกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะโรค เป็นต้น

ทั้งนี้ แนวทางสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่กำลังมองหาลู่ทางในการลงทุนธุรกิจอาหารกล่องที่สำคัญ คือ ต้องมีการศึกษาความพร้อมในการดำเนินธุรกิจอย่างถ่องแท้ ทั้งในเรื่องของเงินทุน สถานที่จัดจำหน่าย กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและทรัพยากรบุคคลที่จะเข้ามาช่วยบริหารจัดการ เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนในการทำธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่ปัจจัยความสำเร็จของการทำธุรกิจอาหารกล่อง ประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ฝีมือและรสชาติอาหารต้องดี มีคุณภาพ ที่สำคัญต้องสะอาด สด ใหม่เสมอ อีกทั้งเมนูอาหารควรมีความน่าสนใจและหลากหลาย และมีการสร้างสรรค์ในการนำเสนออาหารรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ อย่างไรก็ดี หากผู้ประกอบการมีจุดจำหน่ายที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวกในการซื้อหา ก็จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้มียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สิ่งที่จะละเลยไม่ได้เลยก็คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุอาหาร จะต้องมีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน เพื่อจะไม่ทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ในขณะที่การกำหนดราคาเมนูอาหารนั้น ก็ต้องสามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งและผลิตภัณฑ์ทดแทนอื่นๆ เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจอาหารกล่องน่าจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจไม่น้อยสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้าสู่สมรภูมิทางการค้า อย่างไรก็ดี ภายใต้การแข่งขันในโลกของธุรกิจ การพัฒนาปรับปรุงกลยุทธ์ให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง เป็นหัวใจหลักของการทำการค้า ที่ผู้ประกอบการควรจะตระหนักและดำเนินการอยู่เสมอ เพราะจะนำมาซึ่งโอกาสทางการค้าได้

แหล่งที่มาของข้อมูล
อาหารกล่องส่งตรงถึงที่ทันใจ
(นสพ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม 2553)
สะดวกซื้อแข่งเสิร์ฟ ข้าวกล่อง 25 บาท เจาะแมส
(นสพ. ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 กันยายน 2555)
มูลค่าตลาดมหาศาล อาหาร “ปิ่นโต” Delivery ธุรกิจนี้ … มีอนาคต
(http://www.thaismefranchise.com/?p=8682)
สองซูเปอร์โมเดล “โย-บี” บริการผูกปิ่นโตไร้ไขมัน อร่อยหน้าตาดี ราคาไม่จิ๊บ
(http://www.manager.co.th/Celebonline/ViewNews.aspx?NewsID=9560000047993)

ขอขอบคุณ : เคเอสเอ็มอีแคร์

แสดงความคิดเห็น