ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??

ในยุคปัจจุบัน ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆมีทางเลือกในการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดโปรโมชั่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงการทำการตลาดในเชิงกิจกรรม หรือการจัดงานอีเว้นท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจากผู้ประกอบการ เนื่องจากการจัดงานอีเว้นท์สามารถสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง

รู้จักผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์

ความนิยมในการจัดงานอีเว้นท์ของผู้ประกอบการ ได้นำมาซึ่งการขยายตัวของธุรกิจบริหารการจัดงาน หรือธุรกิจอีเว้นท์ ซึ่งมีบทบาทสนับสนุนผู้ประกอบการให้การจัดงานอีเว้นท์ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ในประเทศไทยมีการประกอบธุรกิจอย่างหลากหลายและกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศเพื่อรองรับรูปแบบและขนาดการจัดงานอีเว้นท์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยเราสามารถจำแนกผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ในประเทศไทยออกได้เป็นสองกลุ่มหลักๆ ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่ และผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ในแต่ละกลุ่มต่างก็มีความเชี่ยวชาญในการจัดงาน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงรูปแบบการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจอีเว้นท์มายาว นาน จึงมีประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี องค์ความรู้ในการบริหารจัดการงานอีเว้นท์ รวมถึงเงินทุนระดับสูง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่ยังมีบริษัทในเครือและเครือข่ายพันธมิตรที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยี แสง สี เสียง เทคนิคพิเศษ และบุคลากร รวมถึงยังมีเครือข่ายสื่อมวลชนที่ช่วยประชาสัมพันธ์การจัดงานให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างอีกด้วย

รูปแบบการรับจัดงานอีเว้นท์ของผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่ ครอบคลุมทั้งงานที่จัดเป็นประจำในแต่ละช่วงเวลา และงานที่จัดขึ้นเป็นรายครั้ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การจัดงานรื่นเริงในเทศกาลต่างๆ คอนเสิร์ต งานมหกรรมกีฬา การประชุม งานสัมมนา งานแสดงสินค้าในระดับประเทศและนานาชาติ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วลูกค้าที่ใช้บริการผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่จะเป็นองค์กรที่ต้องการจัดงานอีเว้นท์ที่มีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้จำนวนมาก สร้างการรับรู้ในการจัดงานสำหรับผู้เข้าร่วมงานได้เป็นอย่างดี ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง รวมถึงสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆไปได้อย่างราบรื่น โดยลูกค้าที่ใช้บริการผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่จะครอบคลุมถึงภาคเอกชน ทั้งผู้ประกอบการไทยและบริษัทข้ามชาติ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ

จากการจัดงานอีเว้นท์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีความคาดหวังถึงผลจากการจัดงานอีเว้นท์ในระดับสูง ส่งผลให้ลูกค้าที่ใช้บริการให้ความสำคัญกับการเลือกผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ที่มีความเหมาะสมมาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดงาน โดยลูกค้าที่ใช้บริการจะพิจารณาความน่าเชื่อถือ ประสบการณ์การจัดงานอีเว้นท์ รวมถึงผลงานที่ผ่านมาของผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่เป็นสำคัญ ซึ่งพบว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว ลูกค้าที่ใช้บริการจะเชิญผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งมานำเสนอข้อมูลต่างๆ เช่น รูปแบบการจัดงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ รวมถึงแผนสำรองต่างๆ แล้วจึงจะตัดสินใจเลือกผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด กล่าวคือ เป็นผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ที่สามารถนำเสนอรูปแบบการจัดงานได้อย่างน่าสนใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการในการจัดงานอีเว้นท์ของลูกค้าที่ใช้บริการได้เป็นอย่างดีภายใต้งบประมาณที่กำหนด รวมถึงยังต้องมีแผนสำรองต่างๆในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น ทั้งก่อนการจัดงานอีเว้นท์และระหว่างการจัดงานอีเว้นท์

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต

ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็ก

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นประกอบธุรกิจอีเว้นท์ จึงมีประสบการณ์ เทคโนโลยี องค์ความรู้ในการบริหารจัดการงานอีเว้นท์ รวมถึงเงินทุนอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กยังขาดเครือข่ายพันธมิตรที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยี แสง สี เสียง เทคนิคพิเศษ และบุคลากร ซึ่งพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการติดต่อประสานงานกันเป็นรายครั้ง และมีการเปลี่ยนเครือข่ายพันธมิตรให้สอดคล้องตามรูปแบบและขนาดการจัดงานตามความเหมาะสม รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กยังขาดเครือข่ายสื่อมวลชนที่ช่วยประชาสัมพันธ์การจัดงานให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างอีกด้วย

การรับจัดงานอีเว้นท์ของผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นการรับจัดงานภายในประเทศ ครอบคลุมถึงงานเปิดตัวสินค้า งานจัดเลี้ยงระดับองค์กร งานพิธีการ และงานเฉพาะกลุ่มต่างๆ เช่น งานหมั้น งานแต่งงาน ปาร์ตี้ส่วนตัว เป็นต้น โดยลูกค้าที่ใช้บริการผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปเป็นหลัก

ถึงแม้ว่าการจัดงานอีเว้นท์ขนาดเล็กจะใช้งบประมาณและมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานไม่มากเท่ากับการจัดงานอีเว้นท์ขนาดใหญ่ แต่ก็พบว่าลูกค้าที่ใช้บริการต่างก็มีความคาดหวังว่าการจัดงานอีเว้นท์จะต้องมีรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถสร้างการรับรู้และจดจำในการจัดงานสำหรับผู้เข้าร่วมงานได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งพบว่าโดยทั่วไปแล้วลูกค้าที่ใช้บริการจะเลือกผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กโดยอาศัยการแนะนำหรือบอกต่อ

เปรียบเทียบการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์

 ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

มองอนาคตธุรกิจอีเว้นท์ ปี 2557

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2556 ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ประชาชนระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับช่วงปลายปีซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการจะทุ่มงบประมาณจัดงานอีเว้นท์เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ก็ยังได้รับแรงกดดันจากปัจจัยทางด้านการเมือง ส่งผลให้ผู้ประกอบการเลือกที่จะชะลอการจัดงานอีเว้นท์ออกไปหรือยกเลิกการจัดงานอีเว้นท์ ธุรกิจอีเว้นท์ในปี 2556 จึงไม่เติบโตตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้

สำหรับในปี 2557 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า แนวโน้มการจัดสรรงบประมาณการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ มายังการจัดงานอีเว้นท์มากขึ้น ประกอบกับการชะลอการจัดงานอีเว้นท์ออกไปหรือยกเลิกการจัดงานอีเว้นท์ของผู้ประกอบการในปี 2556 ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการน่าจะทยอยกลับมาจัดงานอีเว้นท์ในปี 2557 นี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประมาณการว่า ธุรกิจอีเว้นท์จะเติบโตขึ้นจากมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านบาท ในปี 2556 ไปสู่มูลค่าประมาณ 14,300-14,700 ล้านบาท ในปี 2557 หรือเติบโต ขึ้นร้อยละ 2-5

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
หมายเหตุ : มูลค่าตลาดธุรกิจอีเว้นท์ครอบคลุมถึงการจัดกิจกรรม
โดยภาครัฐ ผู้ประกอบการ องค์กรระหว่างประเทศ และประชาชน
โดยไม่รวมถึงการจัดกิจกรรมทางการเมือง

จากการที่ธุรกิจอีเว้นท์มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกันกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า หากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองในต้นปี 2557 นี้ ยืดเยื้อไปจนถึงช่วงกลางปี ประกอบกับมีปัจจัยลบด้านอื่นๆที่จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการอนุมัติโครงการภาครัฐ รวมถึงภัยธรรมชาติ ซึ่งเป็นเหตุให้ประชาชนมีความระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการจัดงานอีเว้นท์ออกไป หรือยกเลิกการจัดงานอีเว้นท์ ก็อาจส่งผลให้ธุรกิจอีเว้นท์ในปี 2557 เติบโตได้เพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ในขณะเดียวกัน หากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองในต้นปี 2557 นี้ ไม่ยืดเยื้อ รวมถึงมีปัจจัยหนุนในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ธุรกิจอีเว้นท์ก็จะสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 5 ตามที่คาดการณ์ไว้ได้

วิเคราะห์ธุรกิจอีเว้นท์

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจอีเว้นท์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง พฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาอย่างรุดหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง ล้วนเป็นปัจจัยที่กำหนดให้ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจอีเว้นท์ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์สามารถกำหนดกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจอีเว้นท์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต??

ที่มา: บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด

จากการประเมินแนวโน้มธุรกิจอีเว้นท์ ปี 2557 ร่วมกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจอีเว้นท์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภายใต้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังคงเกิดขึ้นภายในประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยกดดันให้ผู้ประกอบการย่อมให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณด้านการตลาดที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงมีแนวโน้มจัดสรรงบประมาณการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ มายังการจัดงานอีเว้นท์มากขึ้น เนื่องจากการจัดงานอีเว้นท์เป็นการใช้งบประมาณสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมกับสินค้าและบริการสำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และเป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้ประกอบการและลูกค้า (Two-way Communication) รวมถึงยังสามารถวัดผลความสำเร็จได้อย่างชัดเจนมากกว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งเป็นเพียงการใช้งบประมาณสื่อสารจากผู้ประกอบการไปยังลูกค้าในทิศทางเดียว (One-way Communication) อีกทั้งการวัดผลความสำเร็จในการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าและบริการจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ยังเป็นไปได้ยากกว่าการจัดงานอีเว้นท์

ทั้งนี้ แม้ว่าการจัดงานอีเว้นท์จะมีความอ่อนไหวในระดับสูงต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศและปัจจัยภายนอกที่ควบคุมหรือคาดการณ์ได้ยาก แต่ก็พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ในประเทศไทยยังมีโอกาสกระจายความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจภายใต้ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระจายความเสี่ยงจากการรับจัดงานอีเว้นท์เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ไปสู่การเปิดตลาดธุรกิจอีเว้นท์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV) ที่ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ภายในประเทศยังมีข้อจำกัดด้านขีดความสามารถในการจัดงานอีเว้นท์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญของผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ของไทยที่มีความพร้อมมากกว่าในการเข้าไปให้บริการในประเทศดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากการที่มีผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่ของประเทศไทยได้เริ่มเข้าไปเจาะตลาดประเทศกลุ่ม CLMV มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเมียนมาร์ ที่ได้มีการรับจัดงานอีเว้นท์และแคมเปญขนาดใหญ่ในปีที่ผ่านมา เช่น งานเฉลิมฉลองเค้าท์ดาวน์เข้าสู่ปีใหม่ งานเทศกาลสงกรานต์ งานมหกรรมกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 27 เป็นต้น รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่ของประเทศไทยยังริเริ่มสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ของประเทศกลุ่ม CLMV ในหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น การร่วมหุ้นจัดตั้งบริษัท การร่วมก่อสร้างสถานที่จัดงานอีเว้นท์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศกลุ่ม CLMV มีสถานที่รองรับการจัดการงานที่จะสามารถต่อยอดธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่ของประเทศไทยได้ เป็นต้น

ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต
ธุรกิจอีเว้นท์ SME ก้าวอย่างไรให้มั่นคงและเติบโต

แนะธุรกิจอีเว้นท์กลุ่ม SME ปรับกลยุทธ์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่ สามารถใช้ข้อได้เปรียบทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี รวมถึงองค์ความรู้ในการบริหารจัดการงานอีเว้นท์ ผนวกกับเครือข่ายพันธมิตรที่มีอยู่ ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจสื่อโฆษณา รวมถึงธุรกิจบันเทิง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในกลุ่ม CLMV ที่พบว่า รูปแบบวิถีชีวิตและรสนิยมของผู้คนมีความคล้ายคลึงกับคนไทย ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดใหญ่สามารถนำองค์ความรู้ในด้านความเข้าใจในความต้องการของคนไทยประยุกต์ใช้กับผู้คนในประเทศดังกล่าวได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพิจารณาถึงความแตกต่างด้านรูปแบบวิถีชีวิตและรสนิยมในบางประการที่เป็นประเด็นอ่อนไหวควบคู่กันไป เพื่อให้การขยายธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปด้วยความราบรื่น

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการควรปรับกลยุทธ์จากการเป็นผู้บริหารการจัดงานมาสู่การเป็นผู้ให้บริการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจร กล่าวคือ ประยุกต์ใช้จุดแข็งในด้านความเข้าใจความต้องการของผู้เข้าร่วมงานอีเว้นท์ มาต่อยอดในการเป็นผู้ให้บริการสื่อสารการตลาดอย่างครบวงจร ทั้งในรูปแบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการจัดการงานอีเว้นท์

ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กยังจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่สนับสนุนการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยี แสง สี เสียง เทคนิคพิเศษ และบุคลากร รวมถึงยังจำเป็นต้องมุ่งนำเสนอความเป็นมืออาชีพในการจัดงาน ผ่านการสร้างสรรค์รูปแบบการจัดงานให้มีความน่าสนใจ สามารถตอบโจทย์เป้าหมายในการจัดงานอีเว้นท์ของลูกค้าที่ใช้บริการภายใต้งบประมาณที่จำกัด รวมถึงมีแผนสำรองต่างๆในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น

ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กยังจำเป็นต้องนำเสนอการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสำหรับการจัดงานอีเว้นท์ เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กรายอื่นๆ ที่จะนำมาซึ่งกระแสการแนะนำหรือบอกต่อระหว่างลูกค้าที่ใช้บริการ และจะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถขยายเครือข่ายกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการให้กว้างขวางขึ้น ก่อให้เกิดรายได้ที่สูงขึ้น รวมถึงยังเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะการแข่งขันทางด้านราคาระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กในตลาดได้ทางหนึ่ง ทั้งนี้ การสั่งสมประสบการณ์การจัดงานอีเว้นท์ รวมถึงความมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่น่าประทับใจสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงสามารถยกระดับไปสู่การรับจัดงานอีเว้นท์ขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี การที่ธุรกิจอีเว้นท์เป็นธุรกิจให้บริการ ซึ่งมีบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจอีเว้นท์ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะของบุคลากรในด้านต่างๆสอดคล้องตามตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นด้านความคิดสร้างสรรค์ในการจัดงานอีเว้นท์ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงทักษะการสื่อสารภาษาต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจจากการรับจัดงานอีเว้นท์ในประเทศ ไปสู่การรับจัดงานอีเว้นท์ในต่างประเทศได้

 

แหล่งที่มาข้อมูล : หนังสือ Event Marketing โดย เกรียงไกร กาญจนะโภคิน

แสดงความคิดเห็น