ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57 ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57 ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57 ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57 ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57
ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ 

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 คงต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจจีนเริ่มเผชิญกับหลายสัญญาณท้าทาย ทั้งการชะลอตัวในภาคอุตสาหกรรมจากนโยบายปฏิรูปภาคการผลิต เพื่อควบคุมการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ล้าสมัย และก่อมลพิษ ขณะที่การบริโภคในประเทศก็ขยายตัวอ่อนแรงกว่าที่คาด โดยการค้าปลีกในเดือนม.ค.-ก.พ. ขยายตัวชะลอลงต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ร้อยละ 11.8 (YoY) ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เชื่องช้า ก็กลายเป็นอีกแรงกดดันต่อภาคการส่งออกของจีน อีกทั้งยังมีแรงกดดันจากปัญหา Shadow Banking และขนาดของหนี้รัฐบาลท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคอยฉุดรั้งภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในปีนี้

ด้วยภาวะดังกล่าว จึงน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าในปีนี้ รัฐบาลจีนจะวางนโยบายเศรษฐกิจจีนในทิศทางใด เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายเฉพาะหน้าข้างต้น พร้อมๆ กับผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญ นับตั้งแต่ผู้นำรุ่นที่ 5 ซึ่งนำโดย ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่เดือนมี.ค. 2556

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองแนวโน้มเศรษฐกิจจีน และนัยต่อธุรกิจ SMEs ไทยในปี 2557 พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57 ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

ทางการจีนเผยเป้าหมายปฏิรูป พร้อมเน้นการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ …

สรุปทิศทางนโยบายเศรษฐกิจจีนในปี 2557 ทางการจีนย้ำหลักการ 3 ประการ (3 Principles) ได้แก่ 1) การเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจเชิงลึก 2) การรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 3) การให้ความสำคัญกับคุณภาพของการพัฒนา เร่งยกระดับภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมความเป็นอยู่ประชาชน ย้ำสัญญาณที่รัฐบาลกลางมีการสื่อสารมาตลอด อันมีใจความหลักได้แก่ 1) การเพิ่มบทบาทของกลไกตลาดและภาคเอกชน 2) การปรับการบริหารงานของกลไกภาครัฐบาล 3) การยกระดับความเป็นเมือง (Urbanization) และ 4) การหนุนเศรษฐกิจจีนสู่บทบาทระดับนานาชาติ

ทั้งนี้ เป้าหมายทางเศรษฐกิจ ยังกำหนดให้ อัตราการขยายตัวของการค้าต่างประเทศ ผลผลิตอุตสาหกรรม และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรผ่อนคลายลงจากที่ทำได้ในปี 2556 เพื่อให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ขณะที่กำหนดให้ การขยายตัวของการค้าปลีก เพิ่มขึ้นจากที่ทำได้ในปี 2557 ซึ่งสะท้อนว่าในปี 2557 นี้ ทางการจีนตั้งเป้าให้การขยายตัวตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริโภคภายในมากขึ้น พร้อมกับการลดลงของบทบาทของการลงทุน ภาคการผลิต และการส่งออก ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักมาเป็นเวลายาวนาน โดยจะยังคงยึดแนวทางการดำเนินนโยบายการคลังเชิงรุก (Proactive Fiscal Policy) และนโยบายการเงินขยายตัวอย่างระมัดระวัง (Prudent Monetary Policy) ต่อเนื่องจากในปี 2556

ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57 ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ  (2)

ด้วยทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นรักษาระดับการขยายตัวที่ต่อเนื่องอย่างมีเสถียรภาพ พร้อมกับการเดินหน้าปฏิรูปเชิงลึกยิ่งขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2557 ทางการจีนน่าจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อรักษาเป้าหมายที่ผสมผสานระหว่างการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ กับการประคองอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับเหมาะสม โดยเน้นหัวใจสำคัญที่การกระตุ้นการ

บริโภคภายในประเทศในระยะข้างหน้า บนความคาดหวังต่อการปรับสมดุลเศรษฐกิจที่จะเห็นชัดมากขึ้น ซึ่งคาดว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2557 น่าจะยังประคองการขยายตัวได้ที่ราวร้อยละ 7.4 ชะลอลงจากร้อยละ 7.7 ในปี 2556 และนับเป็นอัตราต่ำที่สุดในรอบ 24 ปี

การปฏิรูประบบการเงินจีน … อาจกระทบเชื่อมโยงถึงธุรกิจ SMEs ไทย

ความเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปภาคการเงินของจีนในระยะข้างหน้า อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคธุรกิจจีน และส่งผลกระทบทางอ้อมต่อธุรกิจของ SMEs ไทยที่มีธุรกรรมการค้ากับจีนได้ในหลายประเด็น ที่สำคัญได้แก่ การเดินหน้าปฏิรูปกลไกด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนให้เคลื่อนไหวได้อย่างเสรียิ่งขึ้น โดยล่าสุดได้มีการขยายช่วงการเคลื่อนไหว (Trading Band) เงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นร้อยละ +/-2.0 จากเดิมร้อยละ +/-1.0 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.2557 เมื่อประกอบกับการเดินหน้าผ่อนคลายข้อจำกัดด้านบัญชีเงินทุน (Capital & Financial Account) อาจมีผลให้ในระยะสั้นข้างหน้า ค่าเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อาจมีความผันผวนมากขึ้นตามความเคลื่อนไหวของรายงานตัวเลขเศรษฐกิจจีน โดยนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (1 ม.ค.-9 เม.ย.2557) ค่าเงินหยวนได้อ่อนค่าลงถึงร้อยละ 2.48 หลังจากที่ในปี 2556 ปรับตัวแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ดี แนวโน้มในช่วงที่เหลือของปี ค่าเงินหยวนยังมีโอกาสที่จะกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นจากปัจจุบัน

พร้อมกันนั้นในปีนี้ คาดว่าทางการจีนคงเร่งปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ควบคุมการขยายตัวของ Shadow Banking โดยหนึ่งในมาตรการที่คาดว่าทางการคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือการควบคุมสภาพคล่องในตลาดเงิน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดเงินบ้างในบางช่วงเวลา ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2556 ซึ่งอาจกระทบเชื่อมโยงไปยังสภาพคล่องของ Shadow Banking รวมถึงของธุรกิจบางรายในจีนได้ในระยะข้างหน้า ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่มีคู่ค้าเป็นธุรกิจในจีน ควรเฝ้าจับตาความสามารถในการชำระเงินของคู่ค้าอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องหรือพึ่งพาแหล่งเงินทุนจาก Shadow Banking มาก อาทิ ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจก่อสร้าง รวมไปถึงธุรกิจที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่ทางการจีนต้องการควบคุมการเติบโต และมีกำลังการผลิตส่วนเกิน อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก ซิเมนต์ การต่อเรือ รวมถึงการผลิตโซลาร์เซลล์ โดยหากพบสัญญาณผิดปกติด้านเครดิต ผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจพิจารณาปรับนโยบายการให้เครดิตการค้าตามความเหมาะสม

การขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) ยังเกื้อหนุนการส่งออกของ SMEs ไทยไปยังจีน
แต่สินค้าบางประเภทควรเร่งปรับตัวด้านต้นทุนและเทคโนโลยี

ภาพการลดความร้อนแรงลงของเศรษฐกิจจีน ย่อมมีผลต่อทิศทางการค้าโดยรวมระหว่างไทย-จีน ซึ่งย่อมกระทบต่อธุรกิจ SMEs ไทยที่ทำธุรกิจส่งออก และที่ร่วมอยู่ในสายการผลิตของสินค้าส่งออกไปยังจีนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกของไทยไปยังจีนในปี 2557 อาจขยายตัวไม่สูงนัก โดยอยู่ในกรอบร้อยละ +0.5 ถึง +6.0 (ค่ากลางร้อยละ 3.3) แม้จะดีขึ้นกว่าปี 2556 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 (YoY) แต่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 ต่อปี

ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจส่งผลทั้งเชิงบวกและลบต่อการส่งออกของธุรกิจ SMEs ไทยไปยังจีนในปี 2557 ได้แก่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชนในฝั่งตะวันตกของจีน และการส่งเสริมความเป็นเมือง (Urbanization) ซึ่งอาจกระตุ้นแนวโน้มความต้องการสินค้าเพื่อการบริโภคของจีน และเป็นโอกาสที่ดีต่อการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคของธุรกิจ SMEs ไทย เช่น ผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แห้ง และผลไม้กระป๋อง เครื่องดื่ม อาหารทะเลกระป๋อง นอกจากนั้น ยังกระตุ้นความต้องการแป้งมันสำปะหลังจากไทยเพื่อการบริโภค รวมถึงมันสำปะหลังเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งแปรผันตามความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ในจีน

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการ SMEs ควรติดตามข่าวความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดในประเด็นที่ทางการจีนเริ่มมีนโยบายสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อสร้างแหล่งผลิตภายในประเทศให้ได้พอเพียงแก่การบริโภคมากขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรบางชนิดของไทยในระยะยาวได้ ขณะที่ ยางพาราและผลิตภัณฑ์แปรรูปขั้นต้น ที่เป็นสินค้าออกหลักของไทยไปยังจีน น่าจะยังตอบโจทย์ความต้องการของจีนได้ในปี 2557 อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในอุตสาหกรรมยางพาราอาจยังต้องเผชิญความท้าทายจากราคายางที่ตกต่ำต่อเนื่องจากในปี 2556 จากผลผลิตในตลาดโลกที่มีมากกว่าความต้องการ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ SMEs อาจต้องพิจารณาปรับลดต้นทุน อาทิ การปรับปรุงพันธุ์ยางเพื่อให้ได้น้ำยางมากขึ้น ขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรโดยรวมจากไทยไปยังจีนยังมีปัจจัยท้าทายจากค่าระวางเรือจากประเทศไทยไปยังท่าเรือเซี่ยงไฮ้และฮ่องกงที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในการขนส่งโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ขนส่งสินค้าเกษตร

นอกจากนั้น สินค้าส่งออกของไทยบางกลุ่มอาจเผชิญความท้าทายจากการยกระดับเทคโนโลยีการผลิตของจีน และการย้ายฐานการผลิตของจีนไปยังแหล่งผลิตที่ต้นทุนต่ำกว่า อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก รวมไปถึงเคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก ซึ่งเริ่มมีแนวโน้มของการกระจายการลงทุนของจีนไปยังประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าไทย อาทิ กลุ่ม CLMV ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องเร่งปรับตัวเพื่อตอบรับระดับเทคโนโลยีการผลิตในจีนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรับการแข่งขันด้านต้นทุนที่เริ่มทวีความเข้มข้นขึ้น นอกจากนั้น ความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาคก็เป็นประเด็นที่ควรจับตามองมากขึ้นในปีนี้ โดยผู้ประกอบการ SMEs ไทยอาจพิจารณาทำสัญญา Forward หรือ Hedging เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน

สรุปปัจจัยสนับสนุนและท้าทาย สำหรับสินค้าของ SMEs ไทยที่ส่งออกไปยังจีนปี ’57

ธุรกิจSMEs .. จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจปี ’57 ผสมผสานการปฏิรูปควบคู่การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

ยุทธศาสตร์การลงทุนของจีนในภูมิภาค … เผยโอกาสและความท้าทายแก่ภาคอุตสาหกรรมไทย

จากการที่จีนมีนโยบายสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม โดยการสร้างห่วงโซ่อุปทานในต่างประเทศ นำไปสู่การกระจายการลงทุนของจีนในภูมิภาคอาเซียน นับเป็นการสร้างโอกาสให้แก่ธุรกิจ SMEs ไทยในการเข้าร่วมสายการผลิตจีน อาทิ ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรก่อสร้าง เครื่องจักรกลการเกษตร และยานยนต์ เช่น การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนเครื่องจักร ขณะที่ในภาคบริการ ธุรกิจจีนมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยร่วมทุน หรือเป็นคู่ค้าเช่นกัน

ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของจีนในไทย อาทิ รถไฟความเร็วสูงในไทย อาจเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs ไทย ในการเข้าร่วมเป็น Sub-contractor หากโครงการดังกล่าวต้องการผู้ร่วมงานในระดับท้องถิ่น ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs ไทยจึงควรติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อหาโอกาสเข้าร่วมโครงการ

นอกจากนั้น เมื่อมองในภาพกว้าง การกระจายการลงทุนของจีนที่มีขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน อาทิ การปลูกยางพาราในสปป.ลาว กัมพูชา และไทย และการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่าง หนานหนิง-สิงคโปร์ อาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสายการผลิต และร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเครือข่ายของจีนในต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไทยควรระวังการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในภูมิภาค เนื่องจากการที่จีนมีการลงทุนในประเทศอื่นๆ ในอาเซียน อาจเป็นการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจในประเทศนั้น จนกลายเป็นคู่แข่งกับบริษัทของไทยในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น การลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมของจีนหลายแห่งในประเทศอาเซียน ซึ่งอาจกระทบกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ไทยเคยส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้น

ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ไทยจึงควรปรับตัวโดยแสวงหาตลาดการค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงในยามที่การแข่งขันในภูมิภาครุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ผู้ประกอบการที่อยู่ในสายการผลิตของจีนอยู่แล้วควรพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอยู่เสมอ เพื่อเป็นการชดเชยข้อเสียเปรียบด้านต้นทุนแรงงาน ซึ่งบางประเทศ เช่น CLMV มีความได้เปรียบไทยค่อนข้างมาก อีกทั้งเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการทางด้านเทคโนโลยีของจีนที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
เมษายน 2557

แสดงความคิดเห็น