การสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์สปาไทยในสหรัฐอเมริกา

1.สินค้า: ผลิตภัณฑ์สปา ผลิตภัณฑ์สปาสามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์ประทินผิว เช่น ครีม โลชั่น เจลสครับ
  • ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและริมฝีปาก
  • ผลิตภัณฑ์สาหรับการอาบนาและทาความสะอาดร่างกาย เช่น เกลือขัดผิว โฟมอาบนา สบู่ นามัน เจล
  • ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ เช่น ยาสระผม ยาย้อมผม หรือจัดแต่งทรงผม
  • ผลิตภัณฑ์ประทินโฉม เช่น แป้งแต่งหน้า แป้งทาตัว แป้งอนามัย นาหอม โคโลญจน์ ครีมกาจัดขน
  • ผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการบาบัดและรักษา เช่น นามันหอมระเหย นามันนวด ลูกประคบ หินสปา หินร้อน

2.ข้อมูลผู้บริโภค

  • 3.1. ผู้บริโภคกลุ่ม Millennium เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกาลังการซื้อสูง มีความห่วงใยใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และความงาม เป็นกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างมาก ตลอดจนมีส่วนช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์สปาเพื่อสุขภาพและความงามหลายชนิดเป็นที่รู้จักและมีบทบาทในตลาดสหรัฐฯ
  • 3.2. ตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรมากถึง 328 ล้านคน มีจานวนผู้บริโภคที่ให้ความสนใจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเป็นลาดับต้นของโลก โดยในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สปาเพื่อสุขภาพและความงามจากทั่วโลกให้ความสนใจที่จะส่งออกและขยายการจาหน่ายสินค้าตลาดในสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้นทั้งแบบแบรนด์และแบบ OEM

3.ข้อมูลลักษณะสินค้าสปาที่ผู้บริโภคให้ความนิยม

  • 4.1. ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภคเริ่มทดลองสินค้า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่นิยมในสหรัฐฯ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ง่าย เห็นผลเร็ว มีกลิ่นอ่อน ไม่ฉุนมากและที่สำคัญคือ มีความเป็นธรรมชาติสูง
  • 4.2. ลักษณะหรือรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ในชีวิตประจาวันทั่วไปของผู้บริโภค เช่น สบู่ แชมพู ครีมบำรุงหน้าและผิวกาย ครีมกันแดด นามันทาตัว เป็นต้น จะช่วยทาให้ผู้บริโภค
    สามารถเข้าถึงได้ง่าย
  • 4.3. ผู้บริโภคชาวอเมริกันรุ่นใหม่ young generation ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องราวน่าประทับใจและมีสรรพคุณที่ดี

4.สถิติการนาเข้าผลิตภัณฑ์สปา

  • 4.1. สหรัฐฯ นาเข้าจากทั่วโลกปี 2017 สหรัฐฯ นาเข้าผลิตภัณฑ์สปา (HS33) จากทั่วโลก มูลค่า 13,559.23 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.59 คิดเป็นมูลค่า 956.56 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วง 11 เดือนแรกของปี 2018 สหรัฐฯ นาเข้าผลิตภัณฑ์สปา (HS33) จากทั่วโลก มูลค่า 13,865.86 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.28 คิดเป็นมูลค่า 1,755.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุดเป็นลาดับต้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ประทินโฉม (HS3304) ผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาด (HS3302) ผลิตภัณฑ์ประทินผิว (HS3303) ตามลาดับ

4.2.สหรัฐฯ นำเข้าจากไทย ปี 2017 สหรัฐฯ นำเข้าผลิตภัณฑ์สปา (HS33) มูลค่า 38.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.99 คิดเป็นมูลค่า 6.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ช่วง 11 เดือนแรกของปี 2018 สหรัฐฯ นำเข้าผลิตภัณฑ์สปา (HS33) จากไทย มูลค่า 28.90 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.69 คิดเป็นมูลค่า 6.21 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุดเป็นลำดับต้น ได้แก่

  • อันดับที่ 1 คือ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหอม (HS3301) คู่แข่งขัน คือ อินเดีย บราซิล ฝรั่งเศส สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 67 มูลค่า 0.67 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • อันดับที่ 2 คือ ผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาด (HS3302) คู่แข่งขัน คือ ไอร์แลนด์ ฝรั่งเศส แคนาดา สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 17 มูลค่า 1.54 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • อันดับที่ 3 คือ ผลิตภัณฑ์ประทินผิว (HS3303) ตามลาดับ คู่แข่งขัน คือ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี สหรัฐฯ นาเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 33 มูลค่า 0.04 ล้านเหรียญสหรัฐ

5.บทวิเคราะห์สปาไทยในสหรัฐอเมริกา (SWOT)

5.1 จุดแข็ง (Strength)

  • สินค้าสปาไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและศักยภาพสูง มีความได้เปรียบในเรื่องวัตถุดิบที่ผลิตจากธรรมชาติและมาตรฐานการผลิตชั้นสูง
  • สมุนไพรไทยมีโดดเด่นทางด้านสรรพคุณในการบำบัดและบรรเทาอาการต่างๆ ตลอดจนกลิ่นเอกลักษณ์ จึงทาให้สินค้าสปาไทยเป็นที่นิยมในตลาด นอกจากนี้แล้วสินค้าสปาไทยมีส่วนประกอบของสมุนไพรธรรมชาติ ทาให้ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

5.2 จุดอ่อน (Weaknesses)

  • ฉลากและบรรจุภัณฑ์ของสินค้าสปาไทยบางรายยังขาดความน่าเชื่อถือในตลาดต่างประเทศ ควรมีการพัฒนาด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจและดึงดูด ควรให้มีการส่งเสริมให้มีการศึกษา ค้นคว้า และทำวิจัยเพื่อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสดงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์สปาไทยให้มีความน่าเชื่อถือในกลุ่มผู้บริโภคในระดับนานาชาติ
  • การนำเอาเทคโนโลยีนวัตกรรมชั้นสูงเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เช่น การใช้เทคโนโลยีนาโนสกัดสารที่เป็นประโยชน์จากสมุนไพร เพื่อนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและ ความสวยงาม เป็นต้น จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี

5.3 โอกาส (Opportunity)

  • ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สปาได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภค Millennials ซึ่งเป็นกลุ่มที่ห่วงใยสุขภาพและความงาม ตลอดจนกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่มีจานวนมากที่สุดในสหรัฐฯ และมีกาลังซื้อสูงซึ่งมีผลต่อการกาหนดทิศทางแนวโน้มของตลาด
  • ผู้บริโภคกลุ่ม Millennials นิยมบริโภคสินค้าที่ผลิตวัตถุดิบจากธรรมชาติหรือเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งมีความยินดีที่จะจ่ายเงินในราคาที่สูงกว่าราคาสินค้าทั่วไป เพื่อแลกกับสินค้าที่มีคุณภาพดี

5.4 ข้อจากัด (Threat)

  • ผลิตภัณฑ์สปาไทยยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้นาเข้า สหรัฐฯ มีค่านิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์สปาจากประเทศชั้นนำ ฝรั่งเศส เกาหลี ญี่ปุ่น
  • ผลิตภัณฑ์สปาไทยส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านมาตรฐานของ USFDA ทั้งในเรื่องการทาฉลาก และเรื่องส่วนผสมวัตถุดิบ
  • การวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์สปาไทยยังขาดความชัดเจน ทำให้การวางแผนการตลาดและการหาช่องทางการจาหน่ายเป็นไปโดยลาบาก
  • ปัญหาด้านการสื่อสาร ซึ่งผู้ประกอบการไทยจำนวนมากยังไม่มีความชำนาญในด้านการใช้ภาษาอังกฤษเท่าที่ควร

6.ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สปาในสหรัฐอเมริกา ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สปาในสหรัฐอเมริกา โดยทั่วไปแบ่งได้ 4 กลุ่ม คือ

1. ร้านขายยา เช่น Rite Aid, CVS, Walgreens, Duane Reade เป็นต้น
2. ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น Walmart, Target, Whole food เป็นต้น
3. E-commerce เช่น Amazon, eBay, QVC, L’Occitane เป็นต้น
4. Special store เช่น The Body shop, Bath and Body Works, Sabon, Jo Malone เป็นต้น

7.ราคาเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์สปากับแบรนด์ชั้นนาในสหรัฐอเมริกา
ราคาของผลิตภัณฑ์สปานั้นขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของแบรนด์ คุณภาพและมาตรฐานของสินค้า ซึ่งไม่ต่างจากสินค้าอื่นทั่วไป ถ้าเป็นผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมหรือมีสาขาในหลากหลายประเทศ ราคาสินค้าจะอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง นอกจากนี ราคาสินค้ายังขึ้นอยู่กับคุณภาพและวัตถุดิบที่นามาผลิต เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่มีส่วนผสมหรือวัตถุดิบที่ค่อนข้างหายากหรือเป็นเอกลักษณ์ ราคาก็จะสูงมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่นที่วัตถุดิบหาง่าย ผลิตภัณฑ์สปาในตลาดสหรัฐฯ ถึงแม้จะมีราคาสูง แต่เป็นราคาที่ผู้บริโภคยอมรับได้ เพราะสหรัฐฯเป็นแหล่งรวมผู้ประกอบการจากหลากหลายประเทศ ทาให้เกิดการแข่งขันที่สูง และบวกกับอัตราภาษีนำเข้า จึงทำให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่เลือกซื้อได้ง่ายไปจนถึงราคาสูง



8.กฎระเบียบและการนำเข้า

  • 8.1 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (U.S. Food and Drug Administration หรือ USFDA)USFDA เป็นหน่วยงานหลักทาหน้าที่ควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าอาหารและยา รวมทั้งสินค้าเภสัชภัณฑ์ต่างๆ ทั้งหมดที่นำเข้ามาจาหน่ายในตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลการค้าสินค้าในสหรัฐฯ ได้แก่ ศุลกากรสหรัฐฯ (Custom and Border Protection หรือ CBP) เป็นต้น ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยและข้อปฏิบัติในการผลิตขนส่งสินค้า โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยมาตรฐานสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าผลิตภัณฑ์สปา ได้แก่ มาตรฐานความสะอาด (Defect Action Level) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานกาหนดระดับสิ่งสกปรกและสารเคมีปนเปื้อนที่เกินระดับที่อนุญาตในสินค้า ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.fda.gov
  • 8.2 ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับฉลากสินค้า (Labelling) Federal Trade Commission (FTC) มีการบังคับใช้กฎระเบียบการติดฉลาก ตาม Care Labeling Rule โดยกำหนดให้ผลิตภัณฑ์แสดงฉลากสินค้าที่ถูกต้องในแง่ของปริมาณและส่วนผสม รวมถึงต้องแสดงรายการสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต เช่น การใส่สารแต่งสี สารแต่งกลิ่น เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าส่วนผสมเป็นสิ่งต้องห้ามหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคหรือไม่ ผลิตภัณฑ์สปาทุกประเภทจะต้องติดฉลากสินค้า โดยฉลากหรือการแสดงฉลากจะต้องเป็นภาษาอังกฤษ มีความชัดเจน และต้องปรากฏบนภาชนะบรรจุหรือแพคเกจของผลิตภัณฑ์สปา รายละเอียดข้อมูลที่ต้องแสดงบนฉลากแสดงสินค้า มีดังนี้
  1. ชื่อของผลิตภัณฑ์
  2. รูปแบบการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เช่น บำรุงผม/หน้า สาหรับผิวกาย เป็นต้น
  3. คำแนะนาการใช้งาน
  4. รายการส่วนประกอบทั้งหมดของผลิตภัณฑ์
  5. ประเทศที่ทาการผลิต
  6. บรรจุ (น้ำหนัก/ปริมาตร)
  7. วันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุ
  8. ชื่อและที่อยู่ของบริษัทในสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบการจัดจาหน่ายผลิตภัณฑ์
  • 8.3 มาตรการเรียกคืนสินค้าในสหรัฐอเมริกาThe Consumer Product Safety Act of 1972 (CPSA) เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปในการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยของประชาชนต่อความเสี่ยงที่อาจจะได้รับอันตรายจากสินค้าบริโภค ซึ่งมาตรการเรียกคืนสินค้าก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่ได้กำหนดไว้ใน CPSA เพื่อที่จะดาเนินการควบคุมความปลอดภัยจากสินค้าภายหลังที่ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้านั้นไปแล้ว โดยหากปรากฏว่าสินค้าที่ผู้บริโภคได้ซื้อไปแล้วนั้นมีลักษณะที่จะก่อหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของผู้บริโภค ก็มีมาตรการกาหนดให้ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ขายนำสินค้าที่ได้จัดจำหน่ายไปให้แก่ผู้บริโภคแล้วกลับคืนมาทดแทนสินค้าใหม่ หรือคืนเงิน
  • 8.4 อัตราภาษีนาเข้าผู้นาเข้าจะต้องระบุรหัสศุลกากรของสินค้าที่ต้องการนาเข้าสหรัฐฯ โดยใช้รหัสศุลกากรสหรัฐฯ หรือHarmonized Tariff Schedule of the United States (HTSUS) ที่กาหนดโดย United States International Trade Commission (U.S. ITC) และระบุรายละเอียดสินค้าและอัตราภาษีนาเข้าแยกตามประเภทของสินค้าในกรณีที่สินค้านาเข้าอยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีผู้นาเข้าจะต้องจ่ายภาษีนาเข้าตามราคาประเมินของศุลกากรสหรัฐฯและจ่ายค่าธรรมเนียมในการทางานของศุลกากรสหรัฐฯ (processing fees) ไปก่อน ศุลกากรสหรัฐฯ จะตัดสินอัตราภาษีนาเข้าที่แท้จริงในภายหลังและจะเรียกเก็บเงินเพิ่มหรือจ่ายชาระเงินคืนให้แก่ผู้นาเข้าแล้วแต่กรณี ซึ่งรหัส Harmonized Tariff และอัตราภาษีนาเข้า สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://hts.usitc.gov/current ซึ่งผลิตภัณฑ์สปาประเภทนามันหอม, โลชั่น และสบู่ สามารถดูข้อมูลได้ใน Chapter 33 และ Chapter 34

9. ข้อเสนอแนะของ สคต. นิวยอร์ก

  • 9.1 บรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการจำหน่าย บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม โดดเด่นสะดุดตา มีความได้เปรียบในการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค และมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้อ
  • 9.2 ราคาขายที่เป็นธรรม การเปรียบเทียบกับราคาผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันที่วางขายอยู่ในท้องตลาดและพิจารณาถึงราคาที่ลูกค้าพอใจจะจ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุน สามารถช่วยสร้างแรงจูงใจในการซื้อมากขึ้น
    ทั้งนี้ในสหรัฐฯ ราคาจะมีผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของสินค้าด้วย
  • 9.3 การประชาสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นในแบรนด์ การประชาสัมพันธ์และเปิดตัวตามงานแสดงสินค้าด้านสุขภาพและความงาม และงานเทศกาลไทย เพื่อหาคู่ค้าทางธุรกิจ รวมถึงการแจกใบปลิว การจัดทดลองสินค้า การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าไทยในระดับประเทศได้เป็นอย่างดี เป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการที่จะได้พบปะนักธุรกิจทั่วไปทั้งชาวสหรัฐฯ และชาวต่างชาติที่เข้าชมงาน สามารถขยายตลาดแบรนด์ของบริษัทและสามารถสำรวจความต้องการของลูกค้าโดยรวมได้ เพื่อนาแนวทางไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทต่อไป
  • 9.4 Gift Set และ Tester ผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่าย นอกจากจะนาเสนอขายแยกรายการสินค้าแล้ว ควรมีการเสนอขายแบบ Gift set เพราะผู้บริโภคในสหรัฐฯ มีค่านิยมในการซื้อของที่ระลึกหรือของขวัญให้แก่กันตามเทศกาลต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้การให้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงประโยชน์และความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์มากขึ้น ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้เช่นกัน
  • 9.5 การหาช่องทาง E-Commerce การใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ตเพื่อขยายฐานลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ธุรกิจ E-Commerce ในสหรัฐ ฯ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการจับจ่ายใช้สอย
    โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ และการเปิดร้านค้าในเว็บไซต์ E-Commerce เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ โดยผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตหรือสื่อ Social Media ซึ่งมีต้นทุนไม่สูงทั้งนี้กลยุทธ์ของผู้ขายอาจจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมาย เช่น การขายแบบ Online, การขายผ่าน Social Media, การขายแบบ Pop-up Shop, การขายแบบ Mystery Box เป็นต้นอย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทาให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความนิยมอย่างยาวนาน คือ การที่ผู้ประกอบการสามารถรักษาคุณภาพของสินค้า และสามารถปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งๆขึ้น นอกจากนี้ยังต้องเตรียมการรับมือการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยการตีตราสินค้าและจดลิขสิทธิ์ เป็นต้น

10. งานแสดงสินค้าที่น่าสนใจในสหรัฐอเมริกา

  • 10.1 Natural Products Expo West วันที่ 5-9 มีนาคม 2019 อาคารแสดงสินค้า Anaheim Convention Center North Halls, CA เว็บไซต์ https://www.expowest.com/en/home.html
  • 10.2 International Beauty Show วันที่ 10-12 มีนาคม 2019 อาคารแสดงสินค้า Jacob K. Javits Convention Center, NY เว็บไซต์ https://www.ibsnewyork.com/#1
  • 10.3 Face & Body Spa Expo and Conference Southeast วันที่ 17-18 มีนาคม 2019 อาคารแสดงสินค้า Georgia World Congress Center Atlanta, GA เว็บไซต์ https://southeast.faceandbody.com/FBSE2019/public/enter.aspx
แหล่งที่มาข้อมูล:
1. Bangkok Bank SME
2. Worldometers
3. National Center for Complementary and Alternative Health, U.S.
4. Department of Health & Human Services
5. National Institute of Health
6. American Herbal Products Association (AHPA)
7. World Trade Atlas
8. U.S. Food and Drug Administration
9. Federal Trade Commission
10. U.S. Customs and Border Protection
11. Unite States Consumer Product Safety Commission
12. Harmonized Tariff Schedule of the United States (HTSUS)
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก
26 กุมภาพันธ์ 2562
แสดงความคิดเห็น