image credit : spyhollywood.com

ผู้ประกอบการอัจฉริยะแห่ง “สตาร์ วอร์ส”

image credit : spyhollywood.com
image credit : spyhollywood.com

ผู้ประกอบการอัจฉริยะแห่ง “สตาร์ วอร์ส”

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ต้องยอมรับในกระแส “สตาร์ วอร์ส” ฟีเว่อร์กันทั่วบ้านทั่วเมือง เหล่าสาวกเจไดก็ต่างขานรับกับภาคต่อหนังฟอร์มยักษ์ด้วยการแห่ไปชมภาพยนตร์เรื่องนี้กันอย่างเนืองแน่น ไม่เพียงแค่นั้น หนังจบแต่กระแสความคลั่งยังไม่จบ ยังมีการนำเอากระบี่แสง ดาบเลเซอร์ หรือ ไลท์เซเบอร์ มากวัดแกว่งเรียกสีสันและโกยเรดติ้ง ทำเอารายได้จากการขายตั๋วภาพยนตร์ (Star Wars Episode VII) “เปิดตัววันแรกในสหรัฐฯถึง 120.5 ล้านดอลลาร์ สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินวันแรกมากที่สุดในประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว”

ความสำเร็จในครั้งนี้ต้องยกความดีความชอบให้แก่เหล่าบรรดาผู้ที่อยู่เบื้องหลังทั้งหลาย สิ่งที่น่าจับตามองคือการประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ และคนๆนี้ George Lucas นาทีนี้อาจขนานนามได้ว่าเป็นผู้ประกอบการสุดอัจฉริยะที่สุดแห่งปีก็ว่าได้ George Lucas เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนบทภาพยนตร์ ชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์ชุดไตรภาคสตาร์ วอร์ส (Star Wars) และอินเดียน่า โจนส์ (Indiana Jones) อีกทั้งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้กำกับและผู้ผลิตที่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอุตสาหกรรมทางภาพยนตร์ โดยมีผลกำไรสุทธิที่ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี ค.ศ. 2010 เขามีกลยุทธ์แนวคิดปฏิบัติอย่างไร นี่คือสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งของชายคนนี้ “จอร์จ ลูคัส”

1. กล้าเสี่ยง
“จอร์จ ลูคัส” เป็นนักทำหนังที่มีแนวคิดไม่ยึดติดอยู่กับการทำหนังประเภทเดียว “จอร์จ ลูคัส” เขาเชื่อในความมหัศจรรย์ของการทำหนังและต้องการที่จะแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้ให้โลกได้รับรู้ หลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสอนทำหนังของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ลูคัสทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในกองถ่ายของ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา (Francis Ford Coppola) เรื่อง Finian’s Rainbow ทั้งคู่สนิทสนมกัน จนร่วมกันจัดตั้งบริษัท อเมริกัน โซโทรป ในปี 1969 ต่อมาลูคัสแยกมาตั้งบริษัทของตัวเองในชื่อ ลูคัสฟิล์ม จำกัด มีผลงานที่มีชื่อเสียงมากมาย อย่าง American Graffiti, Planet of the Apes

จนกระทั่งในปี 1977 ได้ทำภาพยนตร์เรื่อง “สตาร์ วอร์ส” โดยค่าย “ทเวนตีเซ็นจูรีฟ็อกซ์” ลูคัสยื่นข้อเสนอไม่รับค่าจ้างจากการกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่แต่ขอส่วนแบ่ง 40% จาก Box office และสิทธิในการจัดจำหน่ายสินค้าของหนังเป็นข้อแลกเปลี่ยน ในที่สุดภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ทำสถิติของบ็อกซ์ออฟฟิศ และรับรางวัลออสการ์ ถึง 7 สาขาด้วยกัน พร้อมทั้งก่อให้เกิดคำว่า blockbuster หรือหนังฟอร์มยักษ์ทำเงินถล่มทลายขึ้นมาด้วย

จากจุดนี้เองแสดงให้เห็นความกล้าคิดกล้าเสี่ยง กล้าต่อรอง มั่นใจในความสามารถของตัวเอง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส ถูกปฏิเสธจากสตูดิโอหลายค่าย แม้ว่าเขาจะเป็นคนที่ชอบทดลองไปเรื่อยแต่ความมุ่งมั่นและยืนหยัดในแนวคิวก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จอย่างมาก

2. ก้าวข้ามข้อจำกัด
ในช่วงที่ภาพยนตร์เรื่อง Stanley Kubrick’s 2001: A Space Odyssey ถูกกำหนดค่ามาตรฐานสำหรับการใช้เทคนิพิเศษ ลูคัสเป็นกังวลเกี่ยวกับการขาดท่อน้ำเลี้ยงในการทำภาพยนตร์ของเขา ซึ่งอันที่จริงแล้ว เขารู้สึกไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับกราฟิกใน Star Wars ที่เขาใช้การตัดต่อด้วยเทคนิคพิเศษจำนวนมากในภาพยนตร์เรื่องนี้แต่ไม่ได้แจ้งให้ผู้ชมรับทราบ

แม้ว่าจะมีข้อเงื่อนไขกำหนด งบประมาณที่จำกัด และถึงจะไม่ได้ใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์จำนวนมากเข้ามาช่วย แต่ด้วยวิสัยทัศน์ของลูกัสก็ยังสามารถสร้างภาพยนตร์ที่นำไปสู่ตอนจบที่สร้างอารมณ์ความรู้สึกหลากหลาย อย่างไม่ผิดหวังเลยทีเดียว

3. รับฟังเสียงของลูกค้า
หลังจากที่ทิ้งช่วงจากการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อที่ตราตรึงใจคนทั้งโลกไปนานหลายปี เมื่อเกิดเสียงเรียกร้องจากเหล่าผู้ชมที่หลงใหลในภาพยนตร์ และสาวกเหล่าตัวละครจากภาพยนตร์ “สตาร์ วอร์ส” ในทางธุรกิจนักธุรกิจต้องไม่ลืมว่าใครคือแหล่งสร้างรายได้สำคัญของธุรกิจ นั่นคือ ผู้บริโภค และแน่นอนในวงการภาพยนตร์ก็เช่นกัน หนังจะทำเงินได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับฐานผู้ชมเป็นหลัก เมื่อยังเป็นที่ต้องการของตลาดก็ไม่ควรปล่อยโอกาสให้หลุดลอยไป รับฟังเสียงจากลูกค้าเพื่อการตอบสนองที่ถูกต้อง ในที่สุดลูคัสก็ตัดสินใจสร้างภาพยนตร์ Star Wars Episode VII ออกมาในเดือนธันวาคม ปี 2015

นับเป็นการเปิดศักราชปี 2016 ที่น่าตื่นตา พร้อมกับการกลับมาอันยิ่งใหญ่ของภาพยนตร์ “Star Wars” กับภาคต่อ Star Wars Episode VII และชายผู้ทรงอิทธิพลแห่งวงการภาพยนตร์ ผู้ประกอบการอัจฉริยะแห่ง “สตาร์ วอร์ส” ….”George Lucas”

George Lucas, Director of 'Star Wars I-VI' (Photo : Getty Images)
George Lucas, Director of ‘Star Wars I-VI’ (Photo : Getty Images)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : entrepreneur.com และ วิกิพีเดีย

แสดงความคิดเห็น