ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ
ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้า SME ส่งออกต่างประเทศ

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด
เป็นสินค้า SME ส่งออกต่างประเทศ

ฟาร์มจิ้งหรีดเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาชาชีพที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อยากมีรายได้เสริม รวมถึงการมีรายได้หลักในการประกอบอาชีพ เพราะจิ้งหรีดเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย โตไว สามารถนำไปขายได้ง่าย สร้างรายได้ในระยะสั้นเพียง 40-50 วัน อีกทั้งยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งในแง่ของการเป็นอาหารเสริมหรือการนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร

ฟาร์มจิ้งหรีด หรือการเพาะพันธุ์จิ้งหรีดเพื่อจำหน่ายเป็นอีกหนึ่งช่องทางอาชีพที่น่าสนใจ สำหรับวันนี้ฟาร์มจิ้งหรีดที่ทางทีมงาน SMELeader นำมาฝากมีชื่อว่า “จิ้งหรีดชุติกาญจน์” ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการหารายได้เสริมให้ตนเอง ก่อนจะเริ่มสำรวจอาชีพในพื้นที่และพบว่าชาวบ้านโดยรอบของที่อยู่อาศัยตนนั้นนิยมเลี้ยงจิ้งหรีดขายจำนวนมาก แต่ยังไม่พบว่ารายไหนจะทำเป็นธุรกิจ ทั้งยังมีอัตราการตายของจิ้งหรีดสูงมาก จากการเลี้ยงที่ไม่เป็นระบบ หรือไม่มีการวางแผนที่ดีพอ ทำให้คุณ “ชุติกาญจน์ เจื้อยแจ้ว” ตัดสินใจหยิบเอาอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดมาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ

กลายเป็นฟาร์มจิ้งหรีดที่มีระบบการเลี้ยงที่เหมาะสมลดอัตราการสูญเสียจิ้งหรีดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มต้นการเลี้ยงด้วยการเรียนรู้เทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดก่อนกระทั่งพบปัญหาการตายของจิ้งหรีด จากนั้นจึงหาสาเหตุว่าทำไมจิ้งหรีดถึงตายมากขนาดนั้น และได้คำตอบว่าเป็นเพราะแผงไข่ที่ใช้เลี้ยงไม่สะอาดพอ รวมถึงอาหารและน้ำที่ใช้เลี้ยงจิ้งหรีดที่ไม่สะอาดด้วยเช่นกัน

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ

ในการต่อยอดอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดสู่ฟาร์มจิ้งหรีดครั้งนี้เริ่มต้นที่การทำแผงไข่เลี้ยงให้สะอาด เปลี่ยนจากการตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรคซึ่งเป็นวิธีการของชาวบ้านและพัฒนาไปเป็น “เครื่องอบฆ่าเชื้อแผงไข่” เพื่อให้เชื้อโรคตาย 100% สู่กระบวนการเลี้ยงที่สะอาด ลดอัตราการตายของจิ้งหรีดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการพัฒนาครั้งนี้ยังได้เงินสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME Development Bank เพื่อการคิดค้นนวัตกรรมเครื่องอบฆ่าเชื้อ ทั้งยังได้นำเงินทุนนั้นมาพัฒนาอาชีพให้กลายเป็นฟาร์มที่มีมาตรฐานในระบบปิด ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง รองรับการส่งออกและเจาะตลาดต่างประเทศได้ด้วย ได้แก่ ประเทศฟินแลนด์ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ

ปัจจุบันฟาร์มจิ้งหรีดชุติกาญจน์ยังมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงจิ้งหรีดที่มีประสิทธิภาพให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านอำเภอศรีสัชนาลัยจนทำให้ครัวเรือนในท้องถิ่นมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงจิ้งหรีดราวๆ 30-40 ราย โดยมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 20,000-30,000 บาท/ครัวเรือน

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ

ข้อดีของการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพ คือจิ้งหรีดเป็นสัตว์ที่โตไวและเลี้ยงง่าย ใช้เวลาในการเลี้ยงเพียง 40-45 วันก็สามารถนำไปขายได้ โดยสามารถขายเป็นตัวก็ได้หรืออาจขายแบบแปรรูปเป็นผงก็ได้เช่นกัน คุณประโยชน์ของจิ้งหรีด ได้แก่ การใช้เป็นอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารคุกกี้ บราวนี่ ใช้เป็นอาหารเสริมของนักเล่นกล้าม นักมวย เป็นต้น ที่น่าสนใจคือจิ้งหรีดเป็นแหล่งโปรตีนที่สะอาดและปลอดสารพิษ ทำให้ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน สำหรับราคาขายจิ้งหรีดนั้นอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 200 บาท

ฟาร์มชุติกาญจน์แสดงให้เห็นว่าแมลงก็สามารถทำเป็นธุรกิจได้ ทั้งยังเป็นธุรกิจที่รองรับการส่งออกที่มีประสิทธิภาพ นอกเหนือไปจากการเลี้ยงในระบบง่ายๆ แล้วส่งขายตามรถเข็นขายแมลง แต่การเลี้ยงในรูปแบบของฟาร์มจิ้งหรีดยังสามารถแปรรูปเป็นสินค้าที่นำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า รองรับอุตสาหกรรมที่หลากหลายกว่าและสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

ฟาร์มจิ้งหรีด “ชุติกาญจน์” ยกระดับอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นสินค้าSME ส่งออกต่างประเทศ

ข้อมูลติดต่อฟาร์มจิ้งหรีดชุติกาญจน์
โทรศัพท์ : 086 448 2520
E-mail : Naliree@hotmail.com
Facebook : https://www.facebook.com/chutikanFarm.th

หมายเหตุ รูปภาพที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น
ขอขอบคุณรูปภาพจาก :  Cricket by Chutikan Farm

แสดงความคิดเห็น