รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ
รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด
เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

รองเท้าแตะ สินค้าแฟชั่นทำเงินที่นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจซึ่งมีความน่าสนใจ หลายคนจับรองเท้ามาใส่ไอเดียแปลกใหม่ให้กลายเป็นจุดขายที่มีแรงดึงดูดจากลูกค้า เกิดเป็นรายได้ขึ้นมาซึ่งเหมาะสมสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้รองเท้าแตะยังถือเป็นสินค้าที่มีผู้ใช้งานกว้างขวาง เพราะสวมใส่สบาย สามารถใส่อยู่บ้านเดินเล่นก็ได้ หรือรองเท้าแตะบางรูปแบบก็สามารถใส่เดินเที่ยวได้ด้วย

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” ไอเดียของ “ดร.ณัฐพงค์ นิธิอุทัย” ที่นำเอาขยะชายทะเลมารีไซเคิลเป็นรองเท้าแตะที่มีไอเดียเก๋ไก๋ไม่เหมือนใคร เพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ทำให้รองเท้าแตะทะเลจรเป็นสินค้าที่น่าจับตามอง ที่มาของไอเดียนี้คือปริมาณขยะจำนวนมากที่กลุ่ม Trash Heroสามารถเก็บได้จากชายทะเลใต้ มีน้ำหนักมากถึง 8 ตัน ทำให้ดร.ณัฐพงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแปรรูปยางพารา มองเห็นโอกาสที่สามารถทำเงินได้จากกองขยะเหล่านั้น

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

เริ่มต้นดร.ณัฐพงค์ ได้ไปเรียนวิชาทำรองเท้ากับโรงเรียนสอนทำรองเท้าโดยตรง ก่อนจะนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์รองเท้าแตะขึ้นจากเศษขยะ โดยเน้นที่พื้นรองเท้าโดยเฉพาะ และให้ชื่อว่าทะเลจร เพราะเป็นการรีไซเคิลจากขยะชายทะเล ซึ่งพบว่าเป็นรองเท้าแตะกว่า 1 แสนข้างที่ค้นเจอ

เมื่อดร.ณัฐพงค์สามารถขึ้นรูปรองเท้าแตะเป็นแล้วหลังจากไปเรียนที่โรงเรียนสอนทำรองเท้า เขาก็ได้นำเอาความรู้ทั้งหมดไปสอนแก่กลุ่มชาวบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่สามารถออกจากพื้นที่ได้ แต่มีความสนใจที่จะเรียน โดยขั้นตอนในการทำรองเท้าเริ่มจากนำขยะที่เป็นรองเท้าแตะมาคัดแยกประเภทก่อน ได้แก่ รองเท้ายาง รองเท้าฟองน้ำ แล้วทำความสะอาด จากนั้นแยกโทนสีประมาณ 3 โทนก่อนนำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วอัดแผ่นเป็นแผ่นรองเท้า ต้นทุนสำหรับการทำรองเท้าแตะทะเลจรอยู่ที่ 50 บาทต่อรองเท้าหนึ่งคู่ ที่สามารถวางจำหน่ายและสร้างเป็นรายได้ให้กับกลุ่มชาวบ้านชายแนภาคใต้ได้

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

ลำดับต่อมารองเท้าแตะก็ได้ถูกพัฒนาต่อยอดร่วมกับโรงเรียนสอนทำรองเท้า และเน้นการออกแบบที่พื้นรองเท้า มีการผลิตเพื่อใช้งานอย่างกว้างขวางในรูปแบบต่างๆ เจาะกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติ ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างดี โดยเฉพาะจากกลุ่มคนนักอนุรักษ์ ราคาขายของรองเท้าจะอยู่ที่คู่ละ 300 บาท

ต่อมา ดร.ณัฐพงค์ ได้คิดนำผ้าไทยมาตกแต่งลงบนรองเท้าแตะทะเลจรด้วย หลังไปเจอแบรนด์ผ้าไทยที่ชื่อว่า “ลลิล” ซึ่งเป็นผ้าไทยจากทางภาคเหนือและกำลังมีค่านิยมที่ลดลง  ดร.ณัฐพงค์ ได้นำผ้าไทยมาตกแต่งเพื่อต่อยอดสินค้าและยังเป็นการดึงคุณค่าของผ้าอีกด้วย นับเป็นการนำเสนอที่ดีทีเดียว

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

ดร.ณัฐพงค์ ได้แนะให้ชาวบ้านชายแดนภาคใต้ เปิดคีออสขายรองเท้าแตะตามแหล่งท่องเที่ยว และแสดงการทำรองเท้าให้นักท่องเที่ยวดูทุกขั้นตอน พร้อมวัดขนาดเท้าของลูกค้าที่น่าจะสร้างกำไรได้มากถึง 200 บาทต่อคู่เลยทีเดียว

ช่องทางการขายรองเท้าแตะทะเลจร คือ Facebook ที่มีชื่อว่า Tlejourn มีการผลิตแบบพรีออร์เดอร์และเริ่มผลิตแบบสต็อกสินค้าบ้างแล้ว ทั้งยังเตรียมนำไปวางจำหน่ายที่กรุงเทพฯ ห้างสยามเซ็นเตอร์ด้วย

รองเท้าแตะ “ทะเลจร” รีไซเคิลจากขยะชายหาด เพิ่มมูลค่า ดีไซน์เก๋ เล็งเป้าวางขายบนห้างฯ

ข้อมูลติดต่อธุรกิจรองเท้าแตะทะเลจร
โทรศัพท์ : 08-1543-3177
Facebook : https://www.facebook.com/Tlejourn/

หมายเหตุ รูปภาพที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : ทะเลจร
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : ผู้จัดการออนไลน์

แสดงความคิดเห็น