อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน
อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน

อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน

อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน
รูปภาพจาก : www.americanlobsterfest.com

อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม”
กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน

ในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเช่นในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อคนไทยในหลายๆอาชีพรวมทั้งอาชีพเกษตรกรที่เป็นอาชีพหลักของคนไทย โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกยางพาราและปลูกข้าว “คุณวีระพันธ์ ตันสกุล” เองก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจเช่นกัน โดยแต่เดิมนั้นเขาได้ทำอาชีพเลี้ยงกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวภายใต้ชื่อ “แฮปปี้ฟาร์ม” ที่แม้จะเป็นที่นิยมในประเทศไทยแต่ราคาที่ได้กลับไม่สูงมากนัก จนภายหลังสามารถหาทางออกได้โดยการหันมาเลี้ยงกุ้งก้ามแดง (Redclaw Crayfish) หรือ ล็อบสเตอร์น้ำจืดที่ได้เข้ามาแทนที่กุ้งชนิดอื่นๆ ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้เขาจำนวนมาก

อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน
รูปภาพจาก : www.medinfo.dist.unige.it

เมื่อ 4 ปีที่แล้วได้มีการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงโดยเกษตรกรรายหนึ่ง แต่เนื่องจากในช่วงนั้นกุ้งก้ามแดงยังไม่เป็นที่นิยมในผู้บริโภคของประเทศไทยมากนัก ส่วนใหญ่ความต้องการจะอยู่ที่ภัตตาคารหรือร้านอาหารขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนไม่มากราย จึงทำให้ประสบกับภาวะขาดทุน คุณวีรพันธ์ซึ่งเป็นเจ้าของแฮปปี้ฟาร์มได้รู้จักกับเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดงจึงมีความสนใจที่จะช่วยเหลือด้านการตลาดให้ เพราะจากการติดต่อพบว่าในภัตตาคารหรือร้านอาหารใหญ่ๆมีความต้องการกุ้งก้ามแดงเป็นจำนวนมากซึ่งต่างจากประชาชนทั่วไปที่ไม่ค่อยนิยมรับประทานกัน เขาจึงพัฒนาฟาร์มจากเดิมที่เลี้ยงกุ้งชนิดอื่น ได้แก่ กุ้งกุลาดำและกุ้งขาว มาเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งก้ามแดงแล้วส่งต่อให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงต่อเพื่อขายให้ตลาดประเภตภัตตาคารต่อไป

อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน
รูปภาพจาก : www.linkedin.com

ใน 2 ปีต่อมา อาชีพเลี้ยงกุ้งก้ามแดงจึงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งเพราะสามารถเลี้ยงได้ง่ายกว่ากุ้งบางชนิดมาก ทั้งมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อม มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อโรคตามธรรมชาติน้อย ทำให้อัตราการรอดชีวิตมากกว่า 80% และมีต้นทุนการเลี้ยงที่ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับ อีกทั้งผู้บริโภคชาวไทยนั้นเริ่มรู้จักกุ้งก้ามแดงมากยิ่งขึ้น ทำให้ทราบว่ามันเป็นสายพันธุ์เดียวกับล็อบสเตอร์ทะเลจึงมีรสชาติที่คล้ายกันแต่สามารถหาซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่า ในราคาประมาณกิโลกรัมละ 900-1,000 บาท เกษตรกรจึงหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งก้ามแดงมากยิ่งขึ้น

การจำหน่ายกุ้งก้ามแดงที่แฮปปี้ฟาร์มนั้นจะจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์เป็นชุด ตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 2 ตัว ราคาชุดละ 1,200 บาท ส่วนตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 5 ตัวจะราคาชุดละ 2,000 บาท ลูกกุ้งอายุ 45 วัน ราคาตัวละ 5-6 บาท ส่วนราคาพ่อแม่พันธุ์อายุ 6 เดือน น้ำหนัก 15 ตัวต่อ 1 กิโลกรัมราคา 700 บาท โดยที่มีต้นทุนการเลี้ยงต่อ 1 กิโลกรัมเพียง 250-300 บาท ทำให้ได้อัตราส่วนกำไรต่อต้นทุนนั้นได้มากกว่า 50%

อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน
รูปภาพจาก : www.intrafish.com

นอกจากนี้ ทางแฮปปี้ฟาร์มยังได้มีการคิดค้นอาหารเลี้ยงกุ้งก้ามแดงสูตรสำเร็จเพื่อให้กุ้งก้ามแดงสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ โดยมีส่วนผสมหลักเป็นเพรียงทะเลที่ใช้ในการเพิ่มฮอร์โมนให้แก่กุ้งก้ามแดง ผสมกับส่วนผสมอื่นที่ทางฟาร์มได้คิดค้นขึ้นโดยมีการปรับปรุงมาจากสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งกุลาดำและกุ้งขาว ซึ่งประโยชน์ของอาหารสำเร็จนี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้กุ้งของเกษตรกรเติบโตอย่างเต็มที่แล้วยังช่วยประหยัดเวลาในการเตรียมอาหารกุ้งอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าอาชีพการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงนั้นสามารถเป็นทางออกให้แก่เกษตรกรที่กำลังประสบสภาวะวิกฤติของสินค้าเกษตรราคาตกต่ำได้ โดนเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่สามารถประยุกต์พื้นที่เกษตรของตนเองในการเลี้ยงกุ้งได้โดยไม่ต้องตัดต้นยางทิ้ง โดยการใช้ร่องน้ำของสวนยางหรือนาข้าวเป็นที่เก็บน้ำสำหรับเลี้ยงกุ้ง หรือจะสร้างบ่อซีเมนต์หรือเพาะเลี้ยงในกะละมัง ทั้งในภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ หรือแม้แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็สามารถทำได้เช่นกัน

อาชีพเลี้ยงกุ้ง “แฮปปี้ฟาร์ม” กู้วิกฤติราคาสินค้าเกษตรด้วยล็อบสเตอร์น้ำจืดกิโลละพัน
รูปภาพจาก : www.shrimpnews.com

ข้อมูลติดต่ออาชีพเลี้ยงกุ้ง
เว็ปไซต์ : www.happyfarm.co.th
เบอร์โทรศัพท์ : 083-0025544

หมายเหตุ รูปภาพที่ใช้เป็นเพียงสื่อประกอบบทความเท่านั้น
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : ผู้จัดการออนไลน์

แสดงความคิดเห็น