ส่งออก-ประเทศไทย
ส่งออก-ประเทศไทย

อาเซียน….ความหวังการส่งออกของไทยในครึ่งปีหลัง

มูลค่าส่งออกในช่วง4 เดือนแรกของปี 2557 ที่หดตัว1%สร้างความผิดหวังให้กับหลายฝ่ายที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่ามูลค่าส่งออกทั้งปี 2557 น่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า5% ตามเศรษฐกิจตลาดหลักที่มีแนวโน้มฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า

ในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา แม้การส่งออกไปตลาดหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นจะฟื้นตัวตามที่หลายฝ่ายคาดไว้แต่การส่งออกไปตลาดอาเซียนซึ่งเคยเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนการส่งออกของไทยตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจโลก

ในปี 2552 กลับหดตัวลงอย่างคาดไม่ถึง ทั้งนี้ หากพิจารณาในรายละเอียดพบว่า มูลค่าส่งออกไปตลาดอาเซียนที่หดตัวมากคือ ตลาดอินโดนีเซียและสิงคโปร์ซึ่งมีมูลค่าส่งออกคิดเป็นสัดส่วนกว่า 32% ของมูลค่าส่งออกของไทยไปอาเซียนทั้งหมด

ปัจจัยดั่งกล่าวยังสำคัญอย่างมากที่กดดันให้การส่งออกโดยรวมหดตัว เห็นได้จากตัวเลข Contributions to Export Growth*ซึ่งแสดงถึงแหล่งที่มาของการขยายตัวของมูลค่าส่งออกโดยรวมพบว่า มูลค่าส่งออกไปอินโดนีเซียและสิงคโปร์ มีผลบั่นทอนมูลค่าส่งออกโดยรวมลงถึง -2.2%  ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกไปอินโดนีเซียที่หดตัวมากเป็น ผลสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลอินโดนีเซียใช้มาตรการทางการเงินและการค้าที่เข้มงวดขึ้น

เพื่อชะลอการไหลออกของเงินทุน ลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เงินรูเปียะห์อ่อนค่าอย่างมากตลอดปี 2556  ปัจจัยดั่งกล่าวทำให้กำลังซื้อและเศรษฐกิจของอินโดนีเซียชะลอลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การส่งออกของไทยไปอินโดนีเซียยังถูกกดดันจากการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของไทยไปอินโดนีเซียที่หดตัวจากการย้ายฐานการผลิตของหลายค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเข้าไปในอินโดนีเซีย

มากขึ้น เพื่อชิงความได้เปรียบจากตลาดขนาดใหญ่ ทำให้อินโดนีเซียเริ่มชะลอการนำเข้ารถยนต์และส่วนประกอบบางชนิดจากไทยในส่วนของมูลค่าส่งออกไปตลาดสิงคโปร์ที่ชะลอลงนั้น ไม่ได้เกิดจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เปราะบางและ

อุปสงค์ที่ชะลอลงเหมือนกรณีของอินโดนีเซีย แต่เป็นเพราะข้อจำกัดของไทยในการผลิตน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ไปตลาดสิงคโปร์(19% ของมูลค่าส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปรวม) เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันของไทยหลายแห่งเป็นระยะตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงกลางปี 2557  ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันระยะสั้นทำให้อุปทานน้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตออกมาเป็นการตอบสนองความต้องการในประเทศเป็นหลัก ส่งผลให้เหลืออุปทานส่วนเกินเพื่อส่งออกลดลง

อย่างไรก็ตามปัจจัยบั่นทอนข้างต้นน่าจะค่อยๆ คลี่คลายลง เนื่องจากเงินรูเปียะห์ที่ชะลอการอ่อนค่าและแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อจะทำให้กำลังซื้อของผู้นำเข้าอินโดนีเซียค่อยๆ เพิ่มขึ้น ประกอบกับหากโรงกลั่นน้ำมันของไทยกลับมาผลิตได้เต็มกำลังในช่วงครึ่งปีหลังก็จะช่วยให้การส่งออกไปสิงคโปร์และประเทศอาเซียนเดิมอื่นๆ ฟื้นตัว  ขณะที่การส่งออกไปตลาด CLMV ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากการค้าชายแดนที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐมากขึ้น

ส่งผลให้แนวโน้มการส่งออกของไทยไปอาเซียนน่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวและกลับมาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการส่งออกได้ในช่วงที่เหลือของปีอย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไปยังมีปัจจัยบางบางประการที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผลกระทบจากการขั้นภาษีการขายของญี่ปุ่นจาก 5% เป็น 8% ตั้งแต่เดือนเมษายนที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในระยะถัดไป เช่นเดียวกับการส่งออกไปจีนที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอความร้อนแรงจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและภาคการเงิน รวมทั้งปัญหาหนี้ที่เกิดจากสถาบันการเงินนอกระบบ (Shadow Bank) ที่เร่งตัวขึ้น

ซึ่งทั้งสองปัจจัยดังกล่าวถือเป็นความท้าทายสา หรับการส่งออกในปี 2557 ว่าจะกลับมาขยายตัวได้มากน้อยเพียงใด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

แสดงความคิดเห็น