เปิดร้านกาแฟในหมู่บ้าน เปิดร้านกาแฟเล็กๆหน้าบ้าน ทำอย่างไรให้ปัง!

ร้านกาแฟในหมู่บ้านหรือในชุมชนเล็กๆ ในอดีตเปรียบเสมือนแหล่งรวมข่าวสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล การถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกันระหว่างคนในชุมชน หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นเสมือนสถานที่ที่ให้คนมารวมตัวกันในตอนเช้า นั่งจิบกาแฟและพูดคุยเรื่องราวกันนั่นเอง

เปิดร้านกาแฟในหมู่บ้าน เปิดร้านกาแฟเล็กๆหน้าบ้าน นั้นสิ่งสำคัญคือต้องมีทำเลที่เหมาะสมในการเปิดร้านกาแฟ ทำเลที่ดีเท่ากับการมีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขาดเล็กหรือธุรกิจขนาดใหญ่

หลักการเลือกทำเล เปิดร้านกาแฟในหมู่บ้าน

  • เส้นทางหลัก ต้องเป็นเส้นทางหลัก หรือเส้นถนนหลักที่ผู้คนในหมู่บ้านใช้สัญจรไปมา เข้า-ออกหมู่บ้าน หรือเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อไปยังถนนสายเอเชีย เป็นต้น
  • ใกล้สถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน สหกรณ์หมู่บ้าน ร้านขายของชำ เป็นต้น
  • การคมนาคมสะดวก รถสามารถสัญจรไปมาได้ง่ายดาย สะดวกในการเดินทางซื้อวัตถุดิบและง่ายต่อการที่ลูกค้าจะมองเห็นหรือสังเกตุเห็นได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงมุมอับหรือทางโค้ง เพราะเป็นทำเลที่สังเกตุเห็นได้ยาก

กลยุทธ์เปิดร้านกาแฟเล็กๆหน้าบ้าน 

กลยุทธ์สำหรับการเปิดร้านขายกาแฟเล็กหน้าบ้าน ขายกาแฟในหมูบ่านหรือชุมชนเล็กๆนั้นนอกจากการเลือกทำเลที่เหมาะสมแล้ว สามารถทำได้หลายส่วน เช่น การออกแบบร้านหรือสไตล์ของร้าน โปรโมชั่นและเทคนิคกการขาย เป็นต้น ซึ่งเมื่อนำมารวมกันก็จะทำให้ร้านกาแฟเล็กๆหน้าบ้านของเรานั้นสามารถกลายเป็นจุดแลนด์มาร์คที่ทุกวันชาวบ้านต้องแวะเวียนกันมาอย่างไม่ขาดสาย

การออกแบบร้านและสไตล์ร้านกาแฟ

ก่อนอื่นผู้ประกอบการจะต้องกำหนดรูปแบบหรือสไตล์ของร้านเสียก่อน แม้จะเป็นร้านกาแฟเล็กๆเน้นขายในชุมชน ราคาไม่แพง แต่สไตล์ของร้านสามารถสร้างจุดเด่นให้ลูกค้าสามารถจดจำได้ง่ายขึ้น

  • สไตล์น่ารักสดใส ออกแนวเน้นให้ถ่ายรูปเช็คอินได้ ตกแต่งซุ้มร้านขายกาแฟด้วยสีสันสดใส แต่เน้นทันสมัยด้วยโทนสีพาสเทล ตกแต่งด้วยตุ๊กตาน่ารักๆ
  • สไตล์มินิมอล โทนสีแบบโมโนโทน เน้นน้อยแต่มากเรียบแต่โก้ เน้นโทนสีขาว สีดำ สีเนวี่บูล สีเขียวเข้ม เป็นต้น เพิ่มเก้าอี้ไม้ทรงสูง 1-2 ตัววางตรงบาร์หน้าซุ้ม
  • สไตล์วินเทจ เน้นกลิ่นอายย้อนยุคก็ดูแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ตกแต่งด้วยโทนสีอบอุ่น สีน้ำตาล ตกแต่งด้วยโปสเตอร์ย้อนยุค หลอดไฟวินเทจ เป็นต้น

เปิดร้านกาแฟในหมู่บ้าน การตกแต่งร้าน

ปัจจุบันเราจะพบว่าร้านขายกาแฟจะทำออกมาในลักษณะของ “ซุ้มขายกาแฟ” นั่นก็เพื่อสะดวกในการจัดร้านและเก็บร้าน และใช้พื้นที่ไม่มาก มีพื้นที่จำกัดไม่กี่ตารางเมตรก็สามารถเปิดร้านขายกาแฟได้แล้ว การตกแต่งร้านหลักงจากที่เรากำหนดรูปแบหรือสไตล์ของร้านได้แล้วนั้นจะยิ่งทำให้ร้านโดดเด่นและน่าสนใจมากขึ้น

  • แสงสว่าง ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยหลอดไฟแต่งร้าน หรือไฟแต่งห้องก็สามารถนำมาใช้ได้ ราคาอยู่ที่หลักร้อยบาทเท่านั้น ขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ไม่เปลืองไฟ
  • สี โทนสีที่เลือกต้องให้เหมาะสมกับสไตล์ที่กำหนดเอาแต่แรก โดยปกติ แค่ 1 -2 สีก็เพียงพอแล้ว อย่าใช้สีที่ฉูดฉาด หรือลวดลาย เพราะจำให้ร้านดูไม่ชิล ไม่ให้บรรยากาศที่น่านั่ง
  • เฟอร์นิเจอร์ ส่วนให้ใช้แค่ 1-2 ตัวก็พอ สำหรับวางตรงบาร์หน้าซุ้ม นอกจากเป็นของตกแต่งได้แล้ว ยังเป็นที่ให้ลูกค้าได้นั่ง
  • เสียงเพลง เสียงเพลงเบาๆจะช่วยสร้างบรรยากาศให้การดื่มกาแฟนั้นฟินยิ่งขึ้น ติดตั้งลำโพงไว้สำหรับเปิดเพลงให้ลูกค้า ราคาเริ่มต้น 89 บาท ก็ได้ลำโพงบูลทูธแล้ว สามารถซื้อได้จากร้านขายของออนไลน์ทั่วไป
  • ป้ายเมนู ติดตั้งป้ายเมนูกาแฟและสินค้าอื่นๆ พร้อมแสดงราคาให้ชัดเจน
  • ป้ายชื่อร้าน ในป้ายชื่อร้านนั้นควรแสดงข้อมูลติดต่อเอาไว้ด้วย เช่น เบอร์โทร Facebook, Line เป็นต้น เพื่อสะดวกในการติดต่อของลูกค้า
  • จัดพื้นที่ถ่ายรูป ใช้มุมเล็กๆของร้านตกแต่งให้สวยงามสำหรับให้ลูกค้าได้ถ่ายรูป เช็คอิน โพสต์ลงโชเชียล Trick คือจัดพื้นที่ถ่ายรูปไว้ใกล้ๆป้ายชื่อร้าน เพื่อที่เวลาถ่ายรูปจะได้เป็นการโปรโมทร้านไปในตัว

เปิดร้านกาแฟเล็กๆหน้าบ้าน เทคนิคการขาย 

  • สะสมแต้ม การจัดทำระบบสะสมแต้มเพื่อแลกกาแฟหรือเครื่องดื่มฟรี แม้ฟังดูเก่าไปแล้วแต่ก็ยังใช้งานได้อยู่ เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อเพิ่มเพื่อที่จะรับของฟรี และยังทำให้สามารถได้ลูกค้าประจำอีกด้วย
  • ขายอย่างอื่นเสริม เช่น ขนม เบอเกอรี่ หรือของที่สามารถรับประทานร่วมกับกาแฟและเครื่องดื่มอื่นๆในร้านได้ เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย สร้างช่องทางขายนอกเหนือจากการขายกาแฟเพียงอย่างเดียว
  • เลือกระดับความหวานได้ ลูกค้าแต่ละรายรับประทานรสชาติต่างกัน บางคนชอบหวานน้อย บางคนชอบหวานมาก ดังนั้นการให้ลูกค้าเลือกระดับความหวานได้ถือเป็นการใส่ใจรายละเอียดอย่างหนึ่งของร้าน ซึ่งร้านกาแฟในต่างจังหวัดหรือชุมชน หมู่บ้านเล็กๆ น้อยมากที่จะมีแบบนี้
  • เพิ่มความหลากหลาย เพิ่มเมนูอื่นๆสำหรับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ทั้งเมนูโซดาต่างๆ โกโก้ ชาเย็น ชาเขียว เป็นต้น รวมถึงท็อปปิ้ง เช่น ไข่มุก บุก ฟรุตสลัด ฯลฯ
  • ราคาขาย การตั้งราคาไม่ส่วนสำคัญมากในการขาย ในชุมชนหรือหมู่บ้านในต่างจังหวัด ราคา 50 -60 บาทขายยากแน่นอน เพราะราคาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ แบบร้านแก้วละ 10-15 บาทเท่านั้น แบบเย็น 20-25 บาท ดังนั้นผู้ประกอบการตั้งคำนวนต้นทุนให้ครอบคลุม เพราะหากขายแพงเกินไปก็จะสู้ราคาคู่แข่งและแฟรนไชส์อื่นๆที่ขายกันราคาถูกๆไม่ไหว
  • บริการส่งถึงบ้าน ขายในชุมชนหรือหมู่บ้านนั้นลูกค้าชั้นดีเลยก็คือคนในหมู่บ้านนี่แหละ ซึ่งรู้จักกันดีอยู่แล้ว การเพิ่มความสะดวกสบายให้พวกเขา โดยการบริการส่งถึงหน้าบ้าน พวกเขาจะรู้สึกพิเศษ สร้างระบบผูกขาดให้กับคุณ และแน่นอนว่าพวกเขาจะไม่สั่งคุณแค่แก้วเดียว เพื่อให้คุณไปส่งอย่างแน่นอน สำหรับพื้นที่ใกล้เคียงหรือหมู่บ้านถัดไปคุณอาจกำหนดขั้นต่ำในการบริการจัดส่ง เช่นขั้นต่ำ 5 แก้ว จัดส่งให้ฟรีถึงบ้าน เป็นต้น
  • เพิ่มช่องทางติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์, Facebook Page , Line เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้ง่ายขึ้น สั่งซื้อผ่านทางช่องทางออนไลน์ ตลอดจนเอาไว้โพสต์รูปภาพเครื่องดื่ม แจ้งข่าวสารและโปรโมชั่นต่างๆให้ลูกค้าได้ในวงกว้าง
  • กระตุ้นยอดขายบ้าง เช่น จัดกิจกรรมถ่ายรูปกาแฟเช็คอินและแท็กร้านเพื่อรับฟรีเครื่องดื่มสำหรับรูปที่มียอดไลค์มากที่สุด 10 รางวัล หรือกิจกรรมรีวิวโดนใจรับส่วนลดเครื่องดื่ม เป็นต้น
  • WiFi ฟรี ปัจจุบันในต่างจังหวัดนั้นมีไวไฟกันแทบทุกบ้านอยู่แล้ว และมีราคาไม่แพง การสมนาคุณลูกค้าที่มานั่งดื่มกาแฟที่ร้านให้สามารถใช้งานไวไฟได้ฟรี เป็นบริการเสริมที่ทำให้ลูกค้าใช้เวลาที่ร้านได้นานขึ้น โอกาสในการขายก็เพิ่มขึ้น

คำแนะนำเพิ่มเติม เปิดร้านกาแฟในหมู่บ้าน

  • นอกเหนือจากกลยุทธ์ต่างๆที่วางแผนเอาไว้และ สิ่งสำคัญคือเรื่องของรสชาติ ต้องมั่นใจว่าสามารถชงได้อร่อยเหมือนกันทุกแก้ว และใครชงก็เหมือนกัน นั่นหมายความว่า จะต้องจัดทำสูตรเครื่องดื่มมาตรฐาน วิธีชงเอาไว้ เพื่อที่ว่าเวลาที่จ้างคนมาช่วยขาย จะสามารถชงกาแฟได้ตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • ดูแลความสะอาด ต้องดุแลทุกส่วนของร้านให้ดีเท่าเทียมกัน เมื่อมีกาแฟอร่อยๆ ร้านสวยๆแล้ว ความสะอาดก็สำคัญเป็นอย่างมาก อุปกรณ์ต่างๆต้องล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยทุกครั้ง บริเวณร้านต้องไม่มีขยะ บรรยากาศร้านกาแฟถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง หากร้านสกปรกลูกค้าก็ไม่กล้าซื้อ ไม่กล้ามานั่งดื่มกาแฟ
  • บริการอย่างเต็มใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาอ่อนหวาน เป็นพื้นฐานของบริการที่ผู้ประกอบการทุกธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ต้องมี ไม่ว่าวันนั้นคุณจะอะไรมาหนักหนาสาหัด อดหลับอดนอน หรือเหนื่อยล้ามาแค่ไหน เมื่ออยู่ต่อหน้าลูกค้าต้องยิ้มสู้เพราะทุกรอยยิ้มคือการขายที่มีคุณภาพ
แสดงความคิดเห็น