เปิดร้านขายติ่มซำ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

ร้านอาหารติ่มซำเมนูโปรดยามเช้าสำหรับหลายๆคน อาหารอุ่นๆทานแล้วรู้สึกสบายท้อง อิ่มอร่อยให้พลังงานสูง เป็นที่ชื่นชอบของทุกเพศทุกวัย ราคาไม่แพง มีให้เลือกรับประทานได้อย่างหลากหลาย สำหรับผู้ประกอบการหรือผู้เริ่มต้นธุรกิจที่กำลังสนใจและอยากเปิดร้านขายติ่มซำ แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เราขอนำเสนอข้อมูลรายละเอียดในการลงทุนเบื้องต้นดังนี้

การเตรียมตัวก่อนเปิดร้านขายติ่มซำ

ก่อนการเริ่มต้นทุกธุรกิจจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมพิจารณาข้อมูลให้รอบด้าน เสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องความเสี่ยงให้เกิดขึ้นได้น้อยที่สุด

  1. งบประมาณ

งบที่ใช้ในการเปิดร้านขายติ่มซำนอกจากวัตถุดิบแล้วต้องคำนึงอุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ ป้ายเมนู ป้ายร้านต่างๆ ค่าตกแต่งสถานที่ ค่าจ้างพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอื่นๆ ผู้ประกอบการควรจะมีเงินทุนเพียงพอในการเปิดร้านและใช้หมุนเวียนระบบ เงินลงทุนประมาณ 100,000 – 200,000 บาท (สำหรับร้านขนาดกลาง ไม่รวมค่าเช่าพื้นที่)

  1. ทำเล

ทำเลขายคือสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอันต้นๆ ทำเลที่ดีควรอยู่ติดริมถนน เป็นเส้นทางหลักหรือเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ออฟฟิศหรือสำนักงาน ซึ่งกลุ่มคนในย่านสถานที่เหล่านี้คือกลุ่มเป้าหมายหลักของการขายติ่มซำ ควรหลีกเลี่ยงทำเลขาย “ตลาดนัด” เนื่องจากติ่มซำนั้นเป็นอาหารที่นิยมรับประทานในมือแรกของวันช่วงเวลาตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนถึง 10.00น. ส่วนตลาดนัดจะเน้นขายสินค้าแฟชั่นและอาหารทานเล่นเสียมากกว่า

  1. บริหารจัดการร้านที่ดี

มีระบบการจัดการร้านที่แบ่งสันปันส่วนกันอย่างถูกต้อง พนักงานมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอย่างชัดเจน เช่น งานครัว งานเสิร์ฟ งานเก็บกวาดล้างทำความสะอาด เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อการให้บริการที่รวดเร็ว เนื่องจากติ่มซำเป็นอาหารที่ขายดีในช่วงเช้าและกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเร่งรีบและไม่มีเวลามากพอที่จะนั่งรออาหารเป็นเวลานานๆ เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ดี

การวิเคราะห์ธุรกิจตามหลัก 5 forces model


1. ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ (Threat of new entrants)

เนื่องจากร้านขายติ่มซำ  เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ง่าย  ทำให้มีผู้ประกอบรายใหม่ๆเกิดขึ้นได้อย่างเสมอ  ซึ่งแนวทางป้องกันทางผู้ประกอบการต้องมีสูตรเคล็ดลับในการทำติ่มซำเป็นเอกลักษณ์  และมีการสร้างตราของสินค้าหรือร้านค้าให้ผู้บริโภคจดจำ   วางแผนกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่าสินค้าจะใช้วัตถุดิบเกรดใด

2. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of substitutes)
ผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่าสินค้าสามารถถูกทดแทนโดยสินค้าอื่นได้ไหม มีความยากหรือง่ายมากน้อยแค่ไหนที่จะเปลี่ยนไปบริโภคสินค้าอื่นแทน ปัจจัยที่ก่อนให้เกิดภัยคุกคามนี้ เช่น ราคา คุณภาพ จำนวนทางเลือกของลูกค้า แนวโน้มผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น ซาลาเปา ถ้าเกิดยี่ห้อที่เราซื้อประจำหมดและมียี่ห้ออื่นวางขาย เราสามารถซื้อยี่ห้อนั้นมาแทนได้เลยเพราะรสชาติไม่ต่างกัน ราคาเท่ากัน หรือถ้าไม่รับประทานซาลาเปา อาจซื้อขนมปังสอดไส้มารับประทานแทนเพราะอิ่มทองและมีไส้เหมือนกัน เป็นต้น

3. อำนาจต่อรองของลูกค้า(Bargaining power of buyers)
การมีสินค้าทดแทนของธุรกิจติ่มซำจำนวนมาก  สิ่งเป็นความเสี่ยงที่ลูกค้าสามารถต่อรองราคาสินค้าหรือเลือกที่จะไม่ใช้บริการได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง กำหนดกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน  มีสูตรและเอกลักษณ์เฉพาะ

4. อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์ (Bargaining power of suppliers)
หากผู้ประกอบการร้านขายติ่มซำไม่มียอดขายหรือสาขาจำนวนมาก  อำนาจในการต่อรองซื้อวัตถุดิบอาจจะน้อย  ผู้ประกอบการควรเน้นเพิ่มมูลค่าสินค้าที่จำหน่ายเพื่อทดแทนส่วนกำไรจากซัพพลายเออร์

5. การแข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Rivalry)
ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง จำนวนคู่แข่งในธุรกิจหรือทั้งอุตสาหกรรม ในปัจจุบันมีร้านสะดวกซื้อหลายแบรนด์หันมาจำหน่ายติ่มซำซึ่งนับว่าเป็นคู่แข่งสำคัญ  แต่ยังพบโอกาสในการแข่งขันอยู่เนื่องจากร้านสะดวกซื้อที่ผลิตจำนวนมากจะมีรสชาติและสูตรเป็นกลางๆ  ไม่เน้นกลุ่มทางด้านใดชัดเจน  จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการเน้นกลุ่มเชิงลึกเช่น  ติ่มซำสูตรฮ่องเต้  ติ่มซำสูตรภาคใต้  ติ่มซำอิสลามเป็นต้น

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง


1.คู่แข่ง

พิจารณาดูคู่แข่งในทำเลเดียวกันว่ามีอยู่ทั้งหมดกี่เจ้าและตั้งอยู่ใกล้กันจนเกินไปหรือไม่ วิเคราะห์การแข่งขันในอุตสาหกรรม หากขายติดกันจนเกินไปจะทำให้เกิดการขายแข่งกันหรือตัดราคากันจนได้ หากคู่แข่งมีน้อยหรืออยู่ห่างกันออกไปให้สำรวจว่าคู่แข่งนั้นมีจุดแข็งในด้านในบ้าง สิ่งไหนดีก็นำมาปรับใช้ในร้าน สิ่งไหนที่เป็นข้อด้อยก็กลับมาสำรวจดูว่าร้านของเรามีข้อด้อยแบบเดียวกันหรือไม่

2.แหล่งซื้อวัตถุดิบ

  • หาแหล่งซื้อวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน ราคาสมเหตุสมผล ไม่ผูกขาดกับเจ้าใดเจ้าหนึ่ง  พิจารณาจากหลายๆที่แล้วนำมาเปรียบเทียบคุณภาพ เปรียบเทียบราคา ตลอดจนแหล่งที่มีการบริการเสริม เช่น การขนส่ง การรับประกันสินค้า หรือเงื่อนไขที่ตรงกับความต้องการในธุรกิจร้านติ่มซำของคุณที่สุด
  • วางแผนในการซื้อว่าต้องการซื้อในปริมาณเท่าใดต่อครั้ง เพราะวัตถุดิบสำหรับร้านติ่มซำส่วนใหญ่ไม่สามารถซื้อมาเก็บไว้นานได้ ผู้ประกอบการควรประมาณวัตถุดิบที่ซื้อให้ความสัมพันธ์กับปริมาณการใช้วัตถุดิบในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ตามที่คุณกำหนดไว้
  • อัพเดทข้อมูลแหล่งซื้อวัตถุดิบอยู่เสมอๆเพื่อที่จะได้ทราบความเคลื่อนไหวของราคาและคุณภาพของแต่ละร้านว่ามีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้นหรือด้อยลง จะได้นำมาพิจารณาเลือกสั่งซื้อในรอบต่อๆไป

3. ราคาขายที่เหมาะสม 

ตั้งราคาขายที่เหมาะสมไม่แพงจนเกินไป หากราคาสูงแต่ในขณะเดียวกับคุณภาพพอๆกับร้านอื่น แน่นอนลูกค้าก็จะเลือกไปซื้อจากร้านที่ถูกกว่า ไม่มีใครอยากจ่ายเงินแพงกับสิ่งตอนแทนที่ไม่ได้พิเศษใดๆ แต่ถ้าหากตั้งราคาต่ำเกินไปนอกจากจะเป็นการตั้งราคาคู่แข่งแล้ว ยังก่อให้เกิดการขาดทุนได้ ลูกค้าจะเข้ามาซื้อเฉพาะในช่วงที่คุณขายราคาถูกเท่านั้นแต่เมื่อคุณปรับราคาขึ้นพวกเขาก็จะหายไป เป็นกลยุทธ์ที่ไม่คุ้มทุน เราสามารถจัดโปรโมชั่นสงเสริมการขายได้แต่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ถูกช่วงจังหวะเวลา

4.เน้นความหลากหลาย

ความรู้ความเข้าใจในเมนูติ่มซำ ผู้ประกอบการจะต้องทำการศึกษารายละเอียดของเมนูและนำมาพัฒนาต่อยอดสร้างเมนูให้หลากหลาย รองรับความต้องการของลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมนูซิ่มซำที่นิยมขายๆกันมีมากกว่า 40 เมนู นอกจากนี้ ดังนั้นนอกจากความรู้ในเรื่องของเมนูติ่มซำแล้วผู้ประกอบการจะต้องรู้จักประยุกต์ดัดแปลงเมนูใหม่ๆขึ้นมาเพิ่มด้วย

5.เสริมการขาย

เพิ่มไลน์สินค้าหรือเมนูอื่นๆเข้าไปเพื่อเป็นทางเลือกเสริมให้แก่ลูกค้า เช่นเพิ่มเมนู โจ้ก ข้าวต้ม อาหารจานเดียว เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการนำเสนอขายเมนูอื่นๆนอกจากติ่มซำของร้าน และยังเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างครอบคลุมอีกด้วย

 

อุปกรณ์ขายติ่มซำเบื้องต้น

  • เข่งติ่มซำพร้อมฝา (ขนาดใหญ่)
  • เข่งติ่มซำพร้อมฝา (ขนาดเล็ก)
  • เข่งติ่มซำขอบสแตนเลส
  • เข่งติ่มซำไม้ไผ่พร้อมฝา
  • หม้อนิ่ง
  • โต๊ะ + เก้าอี้
  • อุปกรณ์อื่นๆ อาทิ ถ้วยใบเล็ก ถ้วยใส่ซอย ตะเกียบ ฯลฯ

เมนูติ่มซำ


จำพวกแผ่นแป้งห่อ

  • ฮะเก๋า
  • ฝั่นโก๋
  • ขนมจีบ
  • ซุปเกี๊ยว
  • เกี๊ยวทอด
  • ขนมกุยช่าย

จำพวกแป้งม้วน

  • เปาะเปี๊ยะทอด
  • ฟองเต้าหู้ม้วน
  • ก๋วยเตี๋ยวหลอด

จำพวกแป้งกลม

  • ซาลาเปา
  • เสี่ยวหลงเปา
  • หมั่นโถว

จำพวกอื่นๆ

  • ฟงจ๋าว
  • ซี่โครงหมูน้ำแดง
  • หน่อไหมไก๊
  • โจ๊ก
  • กุยช่ายเจี๋ยน
  • ขนมผักกาด

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ควรกะปริมาณอาหารต่อวันให้เพียงพอเหมาะสม ไม่ทอดหรือนิ่งทิ้งไว้ครั้งละมากๆ เพราะติ่มซำจะอร่อยต้องทานตอนร้อนๆ
  • ไม่ควรเอาของเหลือไปแช่แข็งแล้วนำมากลับมาทอดใหม่ รสชาติจะเพี้ยนไปจากเดิมและอมน้ำมันทำให้อาหารไม่อร่อยเหมือนทำสดใหม่

รวมข้อมูลแฟรนไชส์ซาลาเปา-ขนมจีบ อัพเดทล่าสุด คลิ๊ก>>

รวมร้านขายส่งซาลาเปา-ขนมจีบ คลิ๊ก>>

แสดงความคิดเห็น