เปิดร้านขายยา เริ่มต้นอย่างไรดี? ใช้งบเท่าไร?

ร้านขายยาเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันมาเป็นอย่างดี เจ็บปวด ป่วยไข้เล็กๆน้อยๆทางเลือกก่อนถึงโรงพยาบาลก็คือร้านขายยา สำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่กำลังสนใจและหาข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาในการลงทุน เราได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นมานำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางในการช่องทางทำธุรกิจดังนี้

เปิดร้านขายยาโดยเภสัชกร

ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นเภสัชกรและอยากที่จะเริ่มต้นธุรกิจด้วยการเปิดร้านขายยาว่ามีข้อได้เปรียบอย่างมากทั้งในเรื่องความรู้เรื่องยาและความพร้อมในการดูแลร้าน เพราะไม่ต้องไปจ้างเภสัชฯเพื่อมาประจำร้าน ในทางกฎหมายการเปิดร้านขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๖ ต้องมีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่ในร้าน จะเปิดร้านขายยาไม่มีเภสัชไม่ได้ ดังนั้นเมื่อมีความพร้อมในด้านบุคลากรแล้วก็เตรียมพร้อมในส่วนของเงินทุนและทำเล

เปิดร้านขายยา ไม่ได้จบเภสัช

สำหรับผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้จบทางด้านเภสัชกรมาโดยตรง ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจร้านขายยาได้เช่นกัน เพียงแค่ทำให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมาย คือจะต้องมีเภสัชกรประจำร้าน มีงบประมาณและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจร้านขายยาโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเรียนจบหมอ จบเภสัชฯเลย

ขั้นตอนการขออนุญาต

  • จดทะเบียนพาณิชย์ให้เรียบร้อย สำหรับกรุงเทพฯสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือสำนักงานเขตทุกพื้นที่ สำหรับต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลใกล้บ้าน
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ลิ้งค์นี้ >> https://www.dbd.go.th
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 ได้ที่ลิ้งค์นี้ >> http://www.fda.moph.go.th
  • จัดเตรียมเอกสารให้พร้อมและนำไปยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด

เปิดร้านขายยาต้นทุน

1. ค่าอุปกรณ์ เช่น ตู้อลูมิเนียม ตู้กระจก เคาน์เตอร์ ป้ายไฟและอุปกรณ์อื่นๆ ประมาณ 80,000 บาท
2. ค่ายา/อาหารเสริมต่างๆ ประมาณ 100,000 บาท
3. ค่าเช่าห้องขนาด 1-2 คูหา ประมาณ 10,000 – 30,000 บาท (ขึ้นอยู่แต่ละทำเล)
4. ค่าจ้างพนักงานหรือเภสัชกร ประมาณ 25,000 บาท/คน
5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ประมาณ 5,000 บาท

เปิดร้านขายยาต้องทำอย่างไร

1. เตรียมเงินทุนให้พร้อม งบประมาณในการลุงทุนเปิดร้านขายยาและค่าใช้จ่ายอื่นๆประมาณ 2 – 3 แสนบาท ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน ทำเลที่ตั้ง แต่จำนวนยาและอาหารเสริมที่วางขายมากน้อยเพียงใด
2. ทำเลที่ตั้งเหมาะสม ดูตำแหน่งที่จะเปิดร้านขายยาที่มีคนผ่านไปมาจำนวนมาก ย่านชุมชน มีผู้คนพลุกพล่าน  ศึกษาร้านคู่แข่งในระยะใกล้เคียง
3. เภสัชกร ในกรณีที่คุณไม่ได้เป็นเภสัชกรเองจำเป็นจะต้องจ้างเภสัชกรเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายในการดำเนินธุรกิจร้านขายยาจะต้องมีเภสัชกรประจำร้าน
4. หาตัวแทนจำหน่ายยาหรือดีลเลอร์ที่ไว้ใจได้ ก่อนตัดสินใจซื้อยาจากตัวแทนจำหน่ายให้ติดต่อจากหลายๆรายเพื่อเปรียบเทียบข้อเสนอขอแต่ละราย อย่าหลงเชื่อคำโน้มน้าวหรือการเชียร์ขายจนเกินไป เพราะอาจได้สินค้าไม่ตรงตามความต้องการ

เทคนิคเพิ่มเติม

  • จัดสรรพื้นในร้าน
  1. พื้นที่ปฏิบัติการของเภสัชกร เป็นพื้นที่สำคัญในการแสดงสินค้าที่เป็นยาต่างๆอันได้แก่ ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาเสพติด พื้นที่นี้จะใช้ประมาณ 10 ตารางเมตร ซึ่งต้องมีเภสัชกรเท่านั้นที่เป็นผู้ให้บริการ
  2. พื้นที่สำหรับเภสัชกรให้คำปรึกษา – แนะนำ และบริการอื่นๆ
  3. พื้นที่สำหรับการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่คนทั่วไป
  • การตั้งราคา ตั้งราคาขายยาและอาหารเสริมให้ใกล้เคียงกับร้านขายยาทั่วไป เอากำไรแต่พอควร
  • ติดป้ายราคาให้ชัดเจน อาหารเสริมหรือยาบางประเภทผู้บริโภคสามารถเลือกเองได้โดยไม่จำเป็นต้องสอบถามจากเภสัชฯ เช่น ยาดม ยาหม่อง ยาอม เป็นต้น ติดป้ายบอกราคาให้ชัดเจนและป้ายราคาตรงกับสินค้าเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคสับสน
  • การบริหารร้านที่ดี ดูแลระบบการบริหารร้านขายยาให้เป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบสต็อกสินค้า ระบบบัญชี ระบบคลังสินค้า เพื่อที่จะสามารถตรวจเช็คได้ตลอดเวลาว่ามียาหรืออาหารเสริมตัวไหนที่ใกล้จะหมดสต็อกบ้าง อีกทั้งยังเป็นการเก็บข้อมูลว่าสินค้าตัวไหนที่ขายดี สินค้าใดขายไม่ดี ในการสั่งครั้งต่อไปจะได้ควบคุมประมาณได้อย่างแม่นยำ

ซื้อแฟรนไชส์ร้านขายยา

สำหรับรูปแบบการลงทุนนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่เน้นความสะดวก รวดเร็วและง่ายในการดูแล เพราะมีระบบที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน มีทีมงานที่คอยให้คำปรึกษาในการบริหารร้าน มีการวางแผนการตลาดให้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมทำเลที่ดีเนื่องจากระบบแฟรนไชส์นั้นจะพิจารณาจากทำเลเป็นหลัก งบประมาณการลงทุนก็อยู่ที่ประมาณ 100,000 – 1,000,000 บาท

รวมข้อมูล “แฟรนไชส์ร้านขายยา” คลิ๊ก >>

แสดงความคิดเห็น