เริ่มต้น “เปิดร้านทอง” ข้อควรรู้ในการเปิดร้าน

ธุรกิจร้านทองเป็นธุรกิจอยู่คู่คนไทยมานาน เป็นเครื่องประดับที่มีมูลค่า ที่นับวันก้็ยิ่งจะมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายคนจึงนิยมซื้อมาเก็งกำไร หรือซื้อมาสะสม บางคนก็ซื้อให้เป็นของขวัญในวันสำคัญๆต่างๆ จึงไม่แปลกที่ร้านขายทองนั้นจะเป็นที่นิยมและคึกคักมาในช่วงเทศกาล

ผู้ประกอบการที่กำลังสนใจอยากจะลงทุนเปิดร้านขายทองนั้น มีข้อควรรู้หรือข้อปฏิบัติใดบ้างนั้น เราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เบื้องต้นมาให้ท่านดังนี้

มีเงินทุน

เปิดร้านทองนั้นจำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่สูงพอสมควร ทั้งค่าตกแต่งสถานที่ ค่าเช่าสถานที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าทองคำ ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณ ร่วมๆแล้วก็หลายล้านบาท ดังนั้นจะต้องเตรียมเงินทุนให้พร้อมครอบคลุมทุกค่าใช้จ่าย หรือผู้ประกอบท่านใดที่ไม่อยากวุ่นวายจัดเตรียมทุกอย่างด้วยตัวเอง ก็สามารถลงทุนแฟรนไชส์ ก็นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

มีความรู้เรื่องทอง

จำเป็นต้องมีความรู้ในการดูทองเป็น ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณ สำหรับการซื้อ-ขายและจำนำทองหรือดำเนินกิจการภายในร้าน หากท่านผู้ประกอบการไม่มีความรู้ด้านนี้ สามารถสมัครเข้าคอร์สเรียนดูทองได้ มีหลายสถาบันเปิดคอร์สสอน ซึ่งนอกจากสอนวิธีการดูทองคำแท้ ทองปลอมแล้ว ท่านอาจจะได้ความรู้อื่นๆเพื่มเติมด้วย เช่น ทองลวดลายยอดนิยม วิธีวัดน้ำหนักของทอง วิธีซ่อมทองคำ ค่ากำเหน็จ เป็นต้น

อัพเดทราคาทองอยู่เสมอ

ราคาทองนั้นสมาคมค้าทองไม่ได้อัพเดทราคาตลอดเวลา แตะจะอัพเดทเป็นช่วงๆ ดังนั้นจึงค่อนข้างมีความเสี่ยงสำหรับคนที่กำลังจะซื้อ-ขายทองคำ หากพลาดไปอาจมีโอกาสขาดทุนได้ ปัจจุบันแอพพลิเคชั่น Line ได้เปิดช่องทางในการติดตามราคาทองคำแบบเรียลไทม์ โดยสามารถดูได้บนแอพพลิเคชั่น Line โดยไปยังหน้า FINNOMENA MONEY

การจดทะเบียนและภาษีที่ต้องจ่าย

การเริ่มต้นธุรกิจร้านทอง ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ จากนั้นยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อใช้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชำระภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้อง

เมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายทองผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมเสียภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจร้านทอง ได้แก่

  • ภาษีเงินได้ เมื่อมีรายได้การขายผลิตภัณฑ์ทองคำ ทั้งขายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานในกระบวนการผลิตเครื่องทองต่างๆ
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าจนมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจาก ภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อ

ทั้งนี้ผู้ประกอบการร้านทองสามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อ เสียภาษีกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตพื้นที่ที่ร้านตั้งอยู่

ความเสี่ยงที่ร้านทองต้องเจอ

  • เศรษฐกิจที่มีความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีการคิด วิเคราะห์ถึงสภาพเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกๆขณะอย่างรอบคอบ เพื่อลดปัจจัยความเสี่ยงในการลงทุน
  • มีเครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายกับทองคำวางขายกันอย่างมากมาย หากไม่สามารถซื้อทองที่มีราคาสูงได้ผู้คนก็สามารถหันไปซื้อเครื่องประดับอย่างอื่นที่สวยงามเช่นกัน แต่ในขณะที่มีราคาถูกกว่ามาก
  • การโจรกรรม เนื่องจากทองคำนั้นมีมูลค่าสูง จึงเป็นเป้าต่อการก่ออาชญากรรม ทั้งจากบุคคลภายนอกและพนักงงาน ซึ่งแม้ว่าร้านขายทองแต่ละร้านจะมีวิธีการจัดการกับปัญหานี้ ทั้งจ้างผู้ดูแลความปลอดภัย ติดกล้องวงจรปิด ติดตั้งกระจกนิรภัย ติดตั้งประตูล็อกอัตโนมัติ เป็นต้น แต่เราก็ยังเห็นข่าวการโจรกรรมหรือปล้นร้านทองออกข่าวกันอยู่บ่อยๆ

รายจ่ายของร้านทองมีอะไรบ้าง?

1. ค่าซื้อทองรูปพรรณใหม่
2. ค่าซื้อทองรูปพรรณเก่า
3. ค่าซื้อทองค าแท่ง
4. ค่าซื้อสินค้าอื่น (ถ้ามี)
5. ค่ำจ้ำงช่ำงทำทอง
6. ดอกเบี้ยจ่าย (ในกรณีที่กู้เงินมาลงทุน)

รายได้ของร้านทองมาจากไหนบ้าง?

1.ขายทองคำแท่ง
2.ขายทองรูปพรรณ
3.รับขายฝากทองรูปพรรณ
4.รับจำนำ ให้เช่าอาคาร
5.ขายสินค้าอื่น เช่น ทองหุ้ม เครื่องประดับ อัญมณี เป็นต้น
6.ให้บริการ เช่น รับซ่อมทอง ซ่อมเครื่องประดับ ชุบทอง ฝังพลอย เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น