ขั้นตอนการ “เปิดร้านสัก” ต้องรู้ข้อปฏิบัติอะไรบ้าง?

ธุรกิจร้านสัก ได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้ที่ชื่นชอบลายสักโดยเฉพาะ สำหรับเมืองไทยนั้นจะเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยว เมื่อมาเยือนเมืองไทย หลายคนก็เลือกที่จะหาลายสักสวยๆติดตัวกลับไป นั่นก็เพราะฝีมือการสักของช่างคนไทยนั้นเป็นกล่าวขานและโด่งดังในกลุ่มผู้คลั่งใคร้ศิลปะบนผิวหนัง ด้วยความที่คนไทยนั้นมีความละเอียดละออ ปราณีตเป็นทุนเดิม จึงไม่แปลกที่จะเป็นที่นิยม

หากอยากเปิดร้านสัก ไม่ว่าจะเป็นสักคิ้ว สักผิวหนัง สักปาก มีข้อควรรู้ก่อนเปิดร้านดังต่อไปนี้

ขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ร้านสักลวดลายลงบนร่างกาย สักคิ้ว หรือสักปาก ตามมาตรการควบคุมการประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย นับว่าเป็นกิจการอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นหากจะประกอบกิจการประเภทนี้จำเป็นต้องมีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ

หลักฐานที่ต้องใช้

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ (กรณีไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้ขอใบอนุญาต)
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
4. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล)
5. ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือหลักฐานที่ใช้แสดงว่าที่ตั้งสถานประกอบการสามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
6. หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสำเนาหนังสือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร
7. หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง)
8. ใบอนุญาตจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

แบบฟอร์มสำหรับติดต่อ
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบบ อภ.1 http://www.bangkok.go.th

สิ่งที่ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติ

1. ต้องจัดสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบให้ได้สุขลักษณะ มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเหตุเดือดร้อนรำคาญตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
2. ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนังงานท้องถิ่นแล้วแต่กรณี

บทกำหนดโทษ
1. ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องถูกจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดในใบอนุญาต ต้องถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาท
3. ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยต้องถูกปรับไม่เกิน 500 บาท

สถานที่ติดต่อ
สำนักงานเขต หรือสำนักงานเทศบาล อำเภอทุกจังหวัด

ช่างต้องปฏิบัติดังนี้

  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขณะให้บริการ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจและโรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
  • มีใบรับรองแพทย์การตรวจสุขภาพประจำปี และการตรวจเฝ้าระวังโรคติดต่อได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และวัณโรค
  • มีความรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ และการจัดการมูลฝอยที่เกิดจากการประกอบกิจการ
  • ให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หลังการสักผิวหนัง
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัวที่ไม่ควรสัก เช่น เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตไหลไม่หยุด โรคลมชัก โรคเบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่องและผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นต้น

สถานที่ให้บริการปฏิบัติดังนี้

  • โต๊ะ เก้าอี้ หรือเตียงที่ให้บริการสัก จะต้องสะอาด มีความแข็งแรง ปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ
  • อุปกรณที่ใช้ในการสัก ไม่ว่าจะเป็น เข็มเจาะ มีดโกน เครื่องสัก จะต้องทำความสะอาด ฆ่าเชื้อทั้งก่อนและหลังให้บริการ และต้องจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน ป้องกันสิ่งสกปรกและการปนเปื้อน
  • อุปกรณืที่ใช้แล้ว เช่น สำลี ผ้าก๊อช มีดโกน เข็มเจาะ ใช้เพียงครั้งเดียว หรือมช้แล้วทิ้งเท่านั้น ก่อนทิ้งให้ฆ่าเชื้อด้วยแฮลกอฮอล์ แล้วจึงใส่ถุงหรือกล่องให้มิดชิด สำหรับถุงที่มีเข็มเจาะหรือของมีคมให้ปิดป้ายแสดงข้อความว่า “มูลฝอยมีคม” หรือ “ของมีคม” นั่นเอง
แสดงความคิดเห็น