โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs
โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs
โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารทั้งเครือข่ายโทรคมนาคมและอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญที่เอื้อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลาที่ต้องการ และโมบายแอพพลิเคชั่นก็เป็นโปรแกรมประยุกต์อย่างหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทต่อการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และ

มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าใช้งานได้โดยตรง อีกทั้ง ยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี อาทิเช่น ผู้บริโภคสามารถจับจ่ายซื้อสินค้า ทำธุรกรรมทางการเงิน ฟังเพลง เล่นเกม หรือสื่อสารกับเพื่อนในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น ขณะที่ทางด้านผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือแม้แต่องค์กรของรัฐ ก็สามารถใช้โมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการเผยแพร่ข้อมูล ติดต่อสื่อสารหรือทำการตลาดกับผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรืออาจจะใช้โมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพการทำงานภายในบริษัท เป็นต้น

ภาพรวมและความน่าสนใจของธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น

ในปัจจุบัน โมบายแอพพลิชั่นไทย มีหลากหลายประเภท เช่น ไลฟ์สไตล์ บันเทิง การศึกษา เกม ข่าว โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น อย่างไรก็ดี จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า โมบายแอพพลิเคชั่นไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นมามากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ แอพพลิเคชั่นสำหรับรองรับกับการใช้ชีวิตของผู้บริโภคหรือไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) เช่น แอพพลิเคชั่นที่รวบรวมแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหารแนะนำ หรือนิตยสารต่างๆ เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 26.7 ของจำนวนโมบายแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด ลำดับถัดมา คือ แอพพลิเคชั่นสำหรับความบันเทิง (Entertainment) และแอพพลิเคชั่นสำหรับการศึกษา (Education) คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 20.1 และ 19.0 ของจำนวนโมบายแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด

เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการดาวน์โหลดโมบายแอพพลิเคชั่นไทย พบว่า โมบายแอพพลิเคชั่นไทยอยู่ในรูปแบบการให้บริการดาวน์โหลดฟรีสูงถึงร้อยละ 81.5 ขณะที่การดาวน์โหลดในรูปแบบการชำระเงินมีสัดส่วนอยู่เพียงร้อยละ 18.5 จากจำนวนโมบายแอพพลิเคชั่นไทยทั้งหมด โดยโมบายแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในรูปแบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีฟังก์ชั่นหรือลักษณะการใช้งานแบบเฉพาะเจาะจง อาทิเช่น แอพพลิเคชั่นสำหรับการแปลภาษาหรือคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิค แอพพลิเคชั่นอ่านหนังสือออนไลน์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก เป็นต้น

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs
โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

โมบายแอพพลิเคชั่นไทยในปัจจุบัน จะถูกพัฒนาโดยองค์กรของรัฐ บริษัทเอกชนทั้งขนาดใหญ่ ไปจนถึงบริษัทเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ และนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแตกต่างกันไป นั่นคือ องค์กรของรัฐและกลุ่มบริษัทเอกชนโดยส่วนใหญ่ จะต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ข้อมูล อำนวยความสะดวก ติดต่อสื่อสาร หรือทำการตลาดกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เช่น แอพพลิเคชั่นแนะนำแหล่งท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แอพพลิเคชั่นช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้ประกอบการค้าปลีกต่างๆ และแอพพลิเคชั่นสำหรับตรวจสอบเที่ยวบินและจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ของผู้ประกอบการการบิน เป็นต้น

หรืออาจจะทำการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใช้ภายในบริษัทเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น แอพพลิเคชั่นสำหรับการบริหารจัดการคลังสินค้าของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับการบันทึกรายการอาหารตามคำสั่งของลูกค้าของผู้ประกอบการร้านอาหาร เป็นต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาเองหรือจ้างบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระก็เป็นได้ ในขณะที่บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระส่วนใหญ่ จะต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อหารายได้จากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะรายได้จากการรับจ้างพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น หรือรายได้จากการขายโมบายแอพพลิเคชั่นให้แก่องค์กรของรัฐหรือบริษัทเอกชนอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ โดยภาพรวมแล้ว ผู้ที่เป็นเจ้าของโมบายแอพพลิเคชั่นไทย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐ บริษัทเอกชนต่างๆ ตั้งแต่ขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ หรือแม้แต่นักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ จะสามารถรับรายได้จากแหล่งต่างๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

จะเห็นได้ว่า ในโลกยุคดิจิตอล “โมบายแอพพลิเคชั่น” ถูกใช้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ และลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของโมบายแอพพลิเคชั่นดังที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ มีความต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมากขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้งานโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ย่อมมีส่วนผลักดันให้ธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเป็นตลาดที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จากปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ดังนี้

การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคไทยมากขึ้นจากการเปิดให้บริการ 3G/4G และการขยายพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายของภาครัฐ

ด้วยโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายฟรีในที่สาธารณะ (Free Wi-Fi) เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว หรือแม้แต่กลุ่มประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยในปัจจุบัน มีจุดให้บริการกว่า 150,000 จุดทั่วประเทศ ซึ่งสามารถรองรับการใช้บริการของผู้บริโภคได้ราว 10 ล้านคน ประกอบกับการเปิดให้บริการ 3G และการเริ่มเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในบางพื้นที่เฉพาะเขตเมืองใหญ่ของผู้ประกอบการโทรคมนาคม ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคไทยสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น และคาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนา รวมถึงการเข้าใช้โมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมากขึ้น อาทิเช่น การชมรายการโทรทัศน์ย้อนหลังหรือการชมภาพยนตร์แบบออนไลน์ และการเล่นเกมออนไลน์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ผู้บริโภคไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ประมาณ 16.2 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 62.0 ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดของไทย และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตลดลงสู่จุดที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้
เนื่องจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และการเข้ามาในตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของผู้ประกอบการที่หลากหลาย เพื่อทำการตลาดกับผู้บริโภคในระดับกลางและระดับล่างมากขึ้น มีส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ในปัจจุบัน ราคาเฉลี่ยของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 9,500 บาท และ 6,500 บาท ตามลำดับ โดยมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 1,690 บาท และ 1,290 บาท ตามลำดับ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้บริโภคทุกระดับสามารถจับจ่ายได้ ส่งผลให้ความนิยมในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง และคาดว่าจะขยายไปยังตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ทั้งนี้ การขยายตัวของตลาดสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในไทยดังกล่าว ย่อมมีส่วนผลักดันให้ฐานผู้บริโภคในตลาดโมบายแอพพลิเคชั่นไทยเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในวัยกลางคนถึงวัยเกษียณอายุที่หันมาใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่กันมากขึ้น
จากการใช้งานของอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่อยู่ในรูปแบบการสัมผัสบนหน้าจอที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบาย และง่ายต่อการใช้งานในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะการใช้งานของโมบายแอพพลิเคชั่นที่เอื้อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใช้งานได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเว็บบราวเซอร์ ทำให้การใช้โมบายแอพพลิชั่นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี สำหรับกลุ่มผู้บริโภควัยกลางคนไปจนถึงวัยเกษียณ ที่มีอายุระหว่าง 35-65 ปี ก็เป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีกำลังซื้อ และเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มหันมาใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น ส่งผลให้การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้มีมากขึ้นเช่นกัน เช่น แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับการรวบรวมแหล่งท่องเที่ยวและอาหารการกินต่างๆ เป็นต้น

ความต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่มีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อรองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายของผู้บริโภค
ด้วยการที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคยุคใหม่ จึงทำให้เกิดความต้องการในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ เพื่อเข้ามารองรับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในหลากหลายกลุ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นสำหรับสุขภาพอย่างแอพพลิเคชั่นการออกกำลังกายที่สามารถจับเวลาหรือวัดระยะทางในการเดินหรือวิ่ง รวมถึงสามารถวัดอัตราการเผาผลาญได้

แอพพลิเคชั่นสำหรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ตรวจเช็คสถานะการเดินทางของสินค้า รวมถึงสามารถเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในการจัดส่งสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นได้โดยตรง นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นดังกล่าวยังมีส่วนลดค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งหน้าร้านของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่าสถานที่ เป็นต้น

แอพพลิเคชั่นสำหรับผู้พิการในด้านต่างๆ ที่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันแก่ผู้พิการเหล่านั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่นบอกเส้นทางการเดินทางและบอกพิกัดสิ่งกีดขวางให้แก่ผู้พิการทางสายตา หรือแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการทางสมองสำหรับเด็กออทิสติก

แอพพลิเคชั่นสำหรับเรียกใช้บริการแท็กซี่ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการในการนัดหมายรถแท็กซี่ให้ไปรับในจุดที่ต้องการ รวมถึงคนขับแท็กซี่ที่ไม่จำเป็นต้องวิ่งวนเพื่อหาผู้โดยสาร

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

ความต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นของกลุ่มผู้ประกอบการในเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ หรือกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการขยายฐานลูกค้าไปต่างประเทศ

กลุ่มผู้ประกอบการที่อยู่ในเทรนด์ธุรกิจใหม่ๆ หรือกลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการขยายฐานลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้าต่างประเทศ จะมีความต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อรองรับความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค อาทิเช่น ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ให้บริการช่องรายการทีวีดิจิตอล หรือผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ อาจจะพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับการรับชมเนื้อหารายการแบบออนไลน์ทั้งในรูปแบบรายการสดและรายการย้อนหลัง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถรับชมเนื้อหารายการต่างๆ ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ขณะที่ผู้ประกอบการสร้างภาพยนตร์ อาจจะพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ภาพยนตร์ออกสู่ลูกค้าต่างประเทศ เป็นต้น

ธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น…กับโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs

เมื่อความต้องการโมบายแอพพลิเคชั่นไทยมีมากขึ้น ย่อมจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการ SMEs ทั้งที่อยู่ในรูปแบบบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ขนาดเล็กหรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ โดยลักษณะหรือรูปแบบการให้บริการของธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น สามารถอธิบายได้ดังนี้

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

สภาวะการแข่งขัน…จุดแข็ง-จุดอ่อน-โอกาส-อุปสรรค ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิตอล

เพื่อความเข้าใจถึงโอกาสทางธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นในโลกยุคดิจิตอล และสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของรูปแบบทางธุรกิจได้เต็มที่ ในขณะที่ระมัดระวังหรือกำจัดจุดด้อย และหาทางรับมือกับอุปสรรคทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ผู้ประกอบการควรพิจารณาและทำความเข้าใจผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/จุดแข็ง/โอกาส/อุปสรรคของธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ดังนี้

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากแนวโน้มการเติบโตของการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่อยู่ในระดับสูง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ผู้บริโภคไทย รวมถึงการที่มีกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ SMEs หันมาสนใจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมากขึ้น จึงนับว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นทั้งที่อยู่ในรูปแบบบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์และนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ควรพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญที่จะสามารถนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ดังรายละเอียดต่อไปนี้

• ปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่องตามเทรนด์ในรูปแบบที่สร้างสรรค์และแตกต่าง
เนื่องจากตลาดโมบายแอพพลิเคชั่นทั่วโลกมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด โดยมีผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ รวมถึงนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ ทั้งในไทยและต่างประเทศเข้ามาในตลาดมากขึ้น ทำให้โมบายแอพพลิเคชั่นในประเภทหนึ่งๆ มีแอพพลิเคชั่นให้เลือกอย่างมากมาย และแอพพลิเคชั่นเหล่านั้นอาจจะมีลักษณะการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น จึงควรหมั่นปรับปรุงและพัฒนาแอพพลิเคชั่นของตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างรูปแบบของโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีจุดเด่น แตกต่าง และแปลกใหม่ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่ได้ในอนาคต นอกจากนี้ การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ และบริษัทเอกชนต่างๆ ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นควรทำความเข้าใจและพยายามตอบโจทย์ตามความต้องการของผู้ว่าจ้างดังกล่าวด้วย

• พัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับบนระบบปฏิบัติการที่หลากหลายได้
ด้วยระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีอย่างหลากหลาย ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นจึงควรพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับกับระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้ เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้น

• ร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนานักพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น
ถึงแม้ว่า ในปัจจุบัน จะมีหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ของไทย สนใจทำโมบายแอพพลิเคชั่นมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ส่งผลให้บุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการที่อยู่ในระดับสูง ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นอาจทำการร่วมมือกับสถานศึกษาในการเปิดหลักสูตรการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น เพื่อเตรียมพัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด

โดยสรุป

ปัจจุบัน “โมบายแอพพลิเคชั่นไทย” ถูกพัฒนาโดยองค์กรของรัฐ บริษัทเอกชน บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยองค์กรของรัฐและกลุ่มบริษัทเอกชนโดยส่วนใหญ่ จะต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ข้อมูล ติดต่อสื่อสารหรือทำการตลาดกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรืออาจจะทำการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใช้ภายในบริษัทเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ในขณะที่บริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์หรือนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระส่วนใหญ่ จะต้องการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อหารายได้จากแหล่งต่างๆ เช่น รายได้จากการรับจ้างพัฒนาหรือปรับปรุงโมบายแอพพลิเคชั่น ซึ่งจะเป็นรายได้หลัก รายได้จากการดาวน์โหลด รายได้จากการขายคอนเทนต์ รายได้จากค่าโฆษณา รายได้จากการขายข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค หรือแม้แต่รายได้จากการขายโมบายแอพพลิเคชั่นให้แก่องค์กรของรัฐหรือบริษัทเอกชนอื่นๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ตลาดพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก จากแนวโน้มการเติบโตของการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่อยู่ในระดับสูง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ผู้บริโภคไทยที่มีมากขึ้น รวมถึงการที่มีกลุ่มผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ SMEs หันมาสนใจพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นมากขึ้น จึงนับว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นทั้งที่อยู่ในรูปแบบบริษัทพัฒนาซอฟท์แวร์ขนาดเล็กและนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ควรพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญที่จะสามารถนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงและพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่องตามเทรนด์ที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นให้มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับกับระบบปฏิบัติการที่หลากหลายได้ รวมถึงการร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรสู่การเป็นนักพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นที่ตรงกับความต้องการของตลาด

โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs
โมบายแอพพลิเคชั่น โอกาสที่ไม่ควรมองข้ามของธุรกิจ SMEs

แหล่งที่มาของข้อมูล
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
มีนาคม 2557

แสดงความคิดเห็น