โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล

การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงจำนวนประชากรในประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความต้องการอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าย่อมเป็นสาเหตุของการเกิดขยะมูลฝอยเป็นจำนวนมากทั้งที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน หรือเกิดจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ อย่างเช่น พลาสติก เศษอาหาร เศษเหล็กหรือโลหะ แก้ว กระป๋องเครื่องดื่ม กระดาษ ยางล้อรถยนต์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นนั้น บางประเภทสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่บางประเภทกลับต้องใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายเป็นหลายสิบปีหรือไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ประกอบกับประเทศไทยยังไม่มี ระบบการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ จึงก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมตามมา โดยจากรายงานสถานการณ์มลพิษไทยของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ในปี 2557 มีจำนวนขยะมูลฝอยทั่วประเทศสูงถึง 26.2 ล้านตัน นับเป็นการบริโภคโดยเฉลี่ยกว่า 1.11 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน แต่ขยะมูลฝอยจำนวนดังกล่าวกลับถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้องเพียง 14.7 ล้านตัน เช่น การกำจัดผ่านการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การฝังกลบแบบเทกองควบคุม หรือการเผาผ่านเตาที่มีระบบเทกองควบคุม เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ขยะที่เกิดขึ้นจำนวนหนึ่งจะถูกนิยมนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ใน 3 รูปแบบหลักด้วยกัน ได้แก่ 1) การแปรรูปเป็นพลังงาน 2) การแปรรูปขยะอินทรีย์ 3) การใช้ซ้ำและการรีไซเคิล เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณขยะ ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ขยะได้อีกทางหนึ่ง โดยปัจจุบัน เริ่มมีกลุ่มผู้ประกอบการที่เล็งเห็นโอกาสในการทำรายได้จากการใช้ประโยชน์จากขยะเข้ามาทำธุรกิจแปรรูปขยะในรูปแบบต่างๆ ข้างต้น เพิ่มขึ้น เพราะประเทศไทยมีปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม จำนวนประชากร และจำนวนนักท่องเที่ยว

ในปัจจุบัน “การรีไซเคิลขยะ” เป็นรูปแบบของการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดกระบวนการหนึ่งและน่าจะเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีความสนใจทำธุรกิจแปรรูปขยะ เนื่องจากทำได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยีที่สูงมากนักเมื่อเทียบกับการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน ทั้งนี้ การนำขยะมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลด้วยการนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ขยะหลายเท่าตัว อย่างเช่น การผลิตของเล่นเด็กจากขวดแชมพู การผลิตกระดาษทิชชู่หรือกระดาษสมุดจากกระดาษที่ใช้แล้ว หรือการผลิตเสื้อจากขวดน้ำพลาสติก เป็นต้น

 

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โอกาสและอุปสรรคของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล

หากพิจารณาถึงธุรกิจรีไซเคิลในประเทศไทยโดยภาพรวม พบว่า ในปัจจุบัน มีกลุ่มผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลแบบครบวงจร ตั้งแต่การรับซื้อขยะหรือของเก่า การคัดแยกประเภทขยะ การย่อยหรือบดขยะ ไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีเงินทุนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจรีไซเคิลแบบไม่ครบวงจร โดยอาจจะทำธุรกิจเฉพาะเพียงกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง อาทิเช่น ธุรกิจร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลหรือร้านรับซื้อของเก่า ธุรกิจย่อยหรือบดขยะเพื่อส่งต่อสู่โรงงานแปรรูปขยะรีไซเคิล เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้จะใช้เครื่องจักรน้อยชิ้นและใช้เงินลงทุนน้อย ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs

อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจรีไซเคิลในปัจจุบัน ย่อมมีทั้งโอกาสและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการอาจจะต้องเผชิญกับความท้าทาย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้ทำการวิเคราะห์ถึงโอกาสและอุปสรรคของธุรกิจรีไซเคิลโดยภาพรวม เพื่อเป็นทางเลือกให้กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจเพื่อลงทุนหรือวางแผนเพื่อต่อยอดการพัฒนาธุรกิจในระยะถัดไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงรายละเอียดของประเภทขยะรีไซเคิล พบว่า ในปัจจุบัน มีขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์อยู่ 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ กระดาษ เหล็กหรือโลหะ แก้ว พลาสติก อะลูมิเนียม และยาง และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์มลพิษในปี 2556 ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ขยะประเภทเหล็กและโลหะมีสัดส่วนของการนำกลับมาแปรรูปใช้ประโยชน์ใหม่มากที่สุดถึงร้อยละ 95.8 ของขยะประเภทเหล็กและโลหะที่เกิดขึ้นทั้งหมด รองลงมาคือ ขยะประเภทอะลูมิเนียม และกระดาษ ซึ่งมีสัดส่วนการนำกลับมาแปรรูปใช้ประโยชน์ใหม่ร้อยละ 68.0 และร้อยละ 58.6 ของปริมาณขยะอะลูมิเนียมและกระดาษที่เกิดขึ้นตามลำดับ

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล

ในขณะที่ขยะพลาสติกซึ่งมีปริมาณขยะกว่า 2.1 ล้านตัน ถูกนำมาแปรรูปใช้ประโยชน์ใหม่ในสัดส่วนที่น้อยที่สุดเพียงร้อยละ 37.9 ของปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการระบบการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยไม่มีการคัดแยกประเภทขยะพลาสติกที่มีอยู่หลากหลายอย่างจริงจัง ทำให้การนำขยะพลาสติกมาแปรรูปใช้ประโยชน์ใหม่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ ปริมาณความต้องการใช้พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศยังอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้ปริมาณการใช้พลาสติกในประเทศอยู่ในระดับสูงจะมีอยู่ 2 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
จากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นจำนวนมากดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้มีปริมาณขยะพลาสติกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยคิดเป็นการบริโภคพลาสติกโดยเฉลี่ยกว่า 32.1 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แสดงให้เห็นว่ายังมีทรัพยากรขยะพลาสติกเหลืออีกมากที่จะสามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ ประกอบกับการใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนสำหรับการดำเนินธุรกิจรีไซเคิลไม่สูงมากนัก จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการรายเดิมและผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความสนใจเข้าสู่อุตสาหกรรมรีไซเคิล

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โดยปัจจุบัน อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ประกอบไปด้วย 4 ธุรกิจหลัก คือ

1) ธุรกิจรับซื้อของเก่าหรือขยะรีไซเคิล โดยทำการรับซื้อขยะพลาสติกมาจากซาเล้งหรือรถรับซื้อขยะตามบ้านเรือน คนเก็บขยะ หรือแม้แต่รับซื้อจากผู้บริโภคโดยตรง

2) ธุรกิจรับย่อยขยะพลาสติก ซึ่งจะทำการรับซื้อขยะพลาสติกมาจากร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลอีกทอดหนึ่ง แล้วนำขยะพลาสติกที่แยกประเภทแล้วมาย่อยหรือบดเป็นชิ้นเล็กๆ ด้วยเครื่องบดพลาสติก แล้วล้างทำความสะอาด ซึ่งในขั้นตอนการล้างทำความสะอาดดังกล่าว จะสามารถคัดแยกประเภทขยะได้ดีขึ้นในกรณีที่ไม่สามารถแยกประเภทพลาสติกได้อย่างชัดเจนในตอนแรก โดยจะนำเศษพลาสติกที่บดเป็นชิ้นเล็กๆ ดังกล่าวมาลอยน้ำเพื่อคัดแยกประเภทพลาสติกอีกครั้ง โดยชิ้นที่จมน้ำจะถูกจัดอยู่ในประเภทพลาสติกกรอบ ในขณะที่ชิ้นพลาสติกที่ลอยน้ำจะถูกจัดอยู่กลุ่มพลาสติกรวม

3) ธุรกิจหลอม/ รีด และตัดเม็ดพลาสติก โดยจะนำเศษพลาสติกบดที่คัดแยกประเภทและทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว มาหลอม รีด และตัดเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อจัดจำหน่ายเม็ดพลาสติกรีไซเคิลให้แก่โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป

4) ธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล ซึ่งจะรับซื้อเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการขึ้นรูปพลาสติกรีไซเคิล ทั้งนี้ เนื่องจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะมีคุณสมบัติทางกายภาพลดลง เพราะสายโพลิเมอร์ถูกเฉือนไปตั้งแต่ขั้นตอนการย่อยขยะพลาสติก จึงทำให้ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลส่วนใหญ่มักนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลไปผสมกับเม็ดพลาสติกใหม่ เพื่อยังคงคุณสมบัติทางกายภาพไว้หากนำไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกใหม่ อย่างไรก็ดี ด้วยเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมีราคาโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเม็ดพลาสติกใหม่กว่าร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง เมื่อเทียบกับการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ทั้งหมด เนื่องจากราคาเม็ดพลาสติกใหม่ที่ผลิตจากปิโตรเคมีจะมีราคาสูงและยังมีความผันผวนไปตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้เม็ดพลาสิตกรีไซเคิลก็ยังเป็นที่นิยมสูงในกลุ่มผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ที่มีเงินลงทุนไม่มาก สามารถเข้ามาลงทุนธุรกิจต่างๆ ในอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิลได้ โดยในช่วงแรกอาจจะดำเนินธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวก่อน อาทิเช่น ธุรกิจร้านรับซื้อของเก่าหรือขยะรีไซเคิล ธุรกิจบดหรือย่อยพลาสติก ธุรกิจหลอมและตัดเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เป็นต้น และในระยะถัดไปอาจจะทำธุรกิจแบบครบวงจรมากขึ้น ตั้งแต่การรับซื้อขยะพลาสติกเพื่อเข้ากระบวนการบดหรือย่อยไปจนถึงกระบวนการหลอมและตัดเป็นเม็ดพลาสติกเพื่อจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกต่อไป

โดยทุกกระบวนการในแต่ละธุรกิจในอุตสาหกรรมรีไซเคิลดังที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ขยะพลาสติกเป็นอย่างมาก โดยจากการประมาณการของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า การแปรรูปขยะพลาสติกเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ขยะพลาสติกมากถึงร้อยละ 126.8 – 147.4

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2558 จะมีสัดส่วนการนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิลเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 37.9 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 40.0 ของปริมาณขยะพลาสติกทั้งหมด และน่าจะส่งผลให้ตลาดเม็ดพลาสติกรีไซเคิลในไทยมีมูลค่าสูงถึง 27,520 – 28,900 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 16.8 – 22.7 จากปี 2557

กลยุทธ์ในการทำธุรกิจรีไซเคิลให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว

ในปัจจุบัน มีกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายเล็ก ให้ความสนใจทำธุรกิจรีไซเคิลขยะกันมากขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมรีไซเคิลมีการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะรีไซเคิลขยะพลาสติก เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสทำรายได้จากกองขยะที่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ไม่มีค่า แต่แท้จริงแล้วกลับให้มูลค่าเพิ่มมหาศาล อีกทั้ง ในปัจจุบัน ยังมีปริมาณขยะพลาสติกเหลืออยู่อีกมากที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสนำขยะพลาสติกที่เหลือเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้อีกมากเช่นกัน อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการแข่งขันในภาคธุรกิจที่มีความเข้มข้นมากขึ้นนั้น ปริมาณความต้องการใช้สินค้าที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะจากภาคส่วนธุรกิจที่ต้องการใช้สินค้าที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิลเพื่อทำการประชาสัมพันธ์องค์กร เช่น ห้างสรรพสินค้าทำการใช้ถุงบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากขยะพลาสติก ธุรกิจแฟรนไชส์กาแฟทำการใช้แก้วกาแฟและกระดาษทิชชู่ที่ทำมาจากขยะพลาสติกหรือกระดาษที่ใช้แล้ว เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจพลาสติกรีไซเคิลประสบความสำเร็จในระยะยาวท่ามกลางการแข่งขันที่มีความเข้มข้นมากขึ้นนั้น ผู้ประกอบการ SMEs จึงควรต้องทำการกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและขจัดอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจพลาสติกรีไซเคิล โดยมีรายละเอียดดังนี้

โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
โอกาสทางธุรกิจของ SMEs ในธุรกิจรีไซเคิล
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการ SMEs ควรต้องพึงระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจพลาสติกรีไซเคิล ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากราคาเม็ดพลาสติกใหม่ที่ลดลงซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกหันมาใช้เม็ดพลาสติกใหม่กันมากขึ้น เพราะเม็ดพลาสติกใหม่มีคุณภาพดีกว่าเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ทำให้ความน่าสนใจในการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลในอุตสาหกรรมพลาสติกมีแนวโน้มลดลง และความเสี่ยงเรื่องการจัดหาวัตถุดิบก็เป็นอีกความเสี่ยงหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรพึงระวังเช่นกัน โดยผู้ประกอบการอาจจัดหาขยะพลาสติกได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากระบบการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพดังที่กล่าวมาข้างต้นที่ทำให้ไม่สามารถแยกขยะพลาสติกออกจากขยะประเภทอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ขยะพลาสติกอาจถูกนำมาใช้ในการแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้นในอนาคต อาทิเช่น การผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติก โดยในปัจจุบัน ได้มีเทคโนโลยีไพโรไลซีส (Pyrolysis) ซึ่งเป็นระบบการใช้ความร้อนประมาณ 300-500 องศาเซลเซียส ทำให้พลาสติกกลายเป็นไอระเหยและเข้าสู่กระบวนการควบแน่นกลายเป็นน้ำมัน ซึ่งน้ำมันที่ได้นั้น สามารถนำไปใช้กับเครื่องจักรต่างๆ หรือแม้แต่รถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น จึงอาจมีผลต่อการจัดหาวัตถุดิบได้

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจพลาสติกรีไซเคิล จึงควรวางแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ เพื่อขจัดอุปสรรคและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตตามที่กล่าวมาข้างต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
กุมภาพันธ์ 2558

แสดงความคิดเห็น