ไอเดียธุรกิจ “เครื่องช่วยกอด” ความอบอุ่นจากโลกอนาคต

Lucy McRae ศิลปินนักคิดค้นสิ่งประดิษฐ์จากลอสแองเจลิส ได้สร้างเครื่องจักรที่เธอเรียกว่า Compression Carpet ซึ่งนำเสนอ “การกอด” ให้กับคนขี้เหงาและต้องการความอบอุ่นอย่างแนบแน่น

McRae กล่าวว่าในฐานะสถาปนิกคนหนึ่ง เธอลองจินตนาการถึงอนาคตที่เทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการเพิ่มสูงขึ้น เริ่มส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตของผู้คน เธอเลยสงสัยว่าการสัมผัสจากจักรกลแทนที่จะสัมผัสทางกายภาพกับมนุษย์คนอื่นจะกลายเป็นการตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตได้หรือไม่?

โดยเธอได้สร้างเครื่องนี้ขึ้นมามีลักษณะเหมือนแซนวิซ ซึ่งมีช่องตรงกลางสำหรับให้เราสามารถลงไปนอน และด้านทั้ง 2 ด้านเป็นลักษณะเหมือนหมอนอิงนุ่มนิ่มหลายๆใบประกบกัน ตัวเครื่องมีสีด้วยสีชมพูและสีน้ำตาลทำให้นึกถึงโทนสีผิวซึ่งให้ความรู้สึกของการสัมผัสของมนุษย์ เรียกง่ายๆว่าเหมือนกำลังถูกคนกอดจริงๆ

การใช้งานก็ให้เรานอนตรงกลางและหมุนที่จับเพื่อให้ทั้งสองด้านประกบเข้ามาที่ตัวเรา อยากจะให้กอดแน่นแค่ไหนก็หมุนเข้า – ออกได้ตามต้องการ แต่ในเบื้องต้นของเจ้าเครื่องกอดนี้อาจจำเป็นต้องให้คนอื่นช่วยหมุนให้ ซึ่งอาจจะมีการพัฒนาต่อยอดให้อนาคตต่อไป

เครื่องกอดนี้ถูกเปิดตัวตรั้งแรกในงานเทศกาล Impossible นิทรรศการซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นการสำรวจความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร แขกรับเชิญที่มาร่วมงานได้ลองใช้เครื่องกอดด้วยตนเองด้วย

ผู้ใช้คนหนึ่งกล่าวว่าการทดลองใช้เครื่องกอดนี้ให้ความรู้สึก “อบอุ่นใจ” เหมือนเธอกำลังกอดเพื่อนถึง 2 คนในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ผู้ทดลองอีกคนหนึ่งสามารถใช้และเพลิดเพลินไปกับเครื่องแม้ว่าจะกลัวอยู่บ้างเล็กน้อยในช่วงแรก

การทำงานของ McRae นั้นมุ่งเน้นไปที่ความคิดในการตอบโจทย์ความต้องการทางด้านร่างกายและการใช้ชีวิตในโลกอนาคต จากโครงการที่ผ่านมารวมถึงการเข้าร่วมงาน Institute of Isolation ซึ่งเป็นโครงการสำรวจว่ามนุษย์สามารถเตรียมร่างกายของพวกเขาสำหรับชีวิตในอวกาศได้อย่างไร? เป็นการเผยให้เห็นถึงจินตนาการอันก้าวล้ำและผสานกับเทคโนโลยีและสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้เป็นจริง

นับเป็นไอเดียการนำเสนอการตอบโจทย์ในโลกอนาคตในด้านการเยียวยาจิตใจไปพร้อมๆกับการตอบโจทย์ความต้องการทางกายภาพ ในอนาคตอันใกล้นี้คนที่ขี้เหงาก็ไม่ต้องทนเหงาเดียวดายอีกต่อไปเพราะมีเครื่องช่วยกอดให้ความอบอุ่นเสมือนการโอบกอดจากมนุษย์จริงเครื่องนี้ ไม่แน่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าอาจมีการพัฒนาต่อยอดไปสู่ “หุ่นยนต์หมอนข้าง” ในอนาคตก็เป็นได้

แสดงความคิดเห็น