7 เคล็ดลับ ทำอย่างไรให้สินค้าหรือบริการน้องใหม่ ประสบความสำเร็จ
7 เคล็ดลับ ทำอย่างไรให้สินค้าหรือบริการน้องใหม่ ประสบความสำเร็จ

7 เคล็ดลับ ทำอย่างไรให้สินค้าหรือบริการใหม่ ประสบความสำเร็จ!

ในยุคที่พฤติกรรมของผู้คนกำลังเปลี่ยนไป ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน สินค้าและบริการย่อมปรับตัวตามความต้องการของผู้บริโภคด้วยการออกสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ๆ แต่ทำอย่างไรถึงจะขายสินค้า เสนอบริการได้ถูกใจผู้บริโภค หรือควรจะตั้งราคาอย่างไรเพื่อเข้าถึงลูกค้ามากที่สุด

1.สำรวจราคาสินค้าหรือบริการของตลาดเดิม

เมื่อจะมีการวางขายสินค้าหรือบริการ ควรสำรวจถึงราคาขายของตลาดที่มีอยู่เดิมหรือราคาที่เกี่ยวข้อง จะทำให้คุณสามารถตั้งราคาสินค้าหรือบริการอยู่ในระดับที่กลุ่มลูกค้าของคุณสามารถจับต้องได้

2.ทดสอบราคากับผู้ซื้อ

ทุกๆครั้งที่จะมีการออกสินค้าหรือบริการใหม่ๆ ที่จะเสนอให้กับลูกค้า นอกจากการคำนวณราคาด้วยตนเองแล้ว สิ่งที่ต้องทดสอบคือ การทดสอบราคากับลูกค้า โดยการทดสอบนี้หากคุณมีกลุ่มลูกค้าเดิมอยู่แล้ว การทดสอบอาจจะทำการสุ่มโดยการส่งอีเมล์หาลูกค้าพร้อมยื่นข้อเสนอพิเศษ หากลูกค้าตอบคำถาม 2-3 ข้อ

3.ตั้งราคาสูง

เมื่อคุณสำรวจตลาดราคาสินค้าหรือบริการ และสำรวจความต้องการจากลูกค้าแล้ว คุณจะทราบได้ถึงราคาสินค้าและบริการที่เหมาะสม แต่หลักการตั้งราคาที่ดี ควรจะตั้งราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงเล็กน้อย การตั้งราคาสูงจะเป็นผลดีเมื่อมีการจัดโปรโมชั่น sale จะทำให้ลูกค้าเกิดแรงจูงใจที่จะซื้อสินค้าของคุณมากขึ้น

4.ทำการวิจัยเชิงแข่งขัน

การทำวิจัยในทุกภาคธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้ทราบถึงความเป็นไปของตลาด คู่แข่ง หรือความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง เมื่อคุณมีข้อมูลดังกล่าว การจะทำการตลาดสินค้าหรือบริการจะทำให้ถูกใจลูกค้าคุณมากขึ้น

ทำอย่างไรให้สินค้าหรือบริการน้องใหม่ ประสบความสำเร็จ

5.กำหนดตำแหน่งทางการตลาด

การรับรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ การวางตำแหน่งทางการตลาด คือหนึ่งในขั้นตอนของการสร้างภาพลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของแบรนด์ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตกระเป๋า อาจจะวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความหรูหรา แต่หากเป็นบริษัทประกันชีวิตอาจจะกำหนดการสร้างแบรนด์ให้มีความน่าเชื่อถือ หรือหากเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์อาจกำหนดตำแหน่งว่าตัวเองเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่และใช้งานง่าย

6.กำหนดต้นทุนแบบคูณ 2

หากคุณพึ่งเริ่มต้นธุรกิจ แต่ยังไม่ทราบถึงต้นทุนที่แท้จริง ขั้นตอนนี้คือ การที่คุณจะต้องคำนวณต้นทุนสินค้าหรือบริการด้วยตนเองก่อน จากนั้นให้ลองคูณ 2 ของต้นทุน เช่น คำนวณต้นทุนขายอาหาร 1,000 บาท เมื่อคูณ 2 จะเท่ากับต้นทุน 2,000 บาท การนำรูปแบบการคำนวณนี้มาใช้จะทำให้คุณสามารถบริหารต้นทุนสินค้าหรือบริการน้องใหม่ได้ง่ายขึ้น  เนื่องจากต้นทุนสินค้าแต่ละแหล่งอาจจะมีราคาที่แตกต่างกัน หรือบางครั้งอาจจะมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดที่อาจจะเกิดขึ้นเพิ่มเติม

7.ทดสอบแบบ A และ B

การเริ่มต้นทำการตลาดสินค้าหรือบริการแรกๆ คุณอาจจะยังไม่ทราบถึงความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง วิธีการนี้คือ หากคุณต้องการทำสินค้า ควรจะทำสินค้าออกมาให้ลูกค้าทดลอง 2 แบบ หรือหากเป็นบริการ อาจจะมีการจัดโปรโมชั่น 2 แบบ คือแบบรายสัปดาห์และแบบรายเดือน เพื่อสำรวจว่าลูกค้าของคุณชอบสินค้าหรือบริการแบบไหนมากที่สุด

แสดงความคิดเห็น