เปิดร้าน “ชาบูเสียบไม้” กำไรดีไหม? ชาบูเสียบไม้มีอะไรบ้าง? เริ่มต้นอย่างไร?

ขายชาบูเสียบไม้ เทรนด์ใหม่ที่เข้ามาในบ้านเราสักระยะนึงแล้วและได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยความที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย ราคาไม่แพง จึงเจาะกลุ่มลูกค้าทั่วไปได้ไม่ยาก และสามารถทำการตลาดได้อย่างรวดเร็ว

ชาบูเสียบไม้ ใช้เวลาไม่นานก็เข้ามาเป็นอาชีพยอดนิยม ยิ่งในช่วงนี้ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ทุกคนต้อง Save ตัวเองด้วยการไม่นั่งรับประทานอาหารที่ร้าน เน้นซื้อกลับบ้านและดิลิเวอรี่กันมากขึ้น บวกกับร้านค้าเองก็ปรับตัวตามมาตรการความปลอดภัย หันมาขายแบบออนไลน์กันมาขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบการร้านชาบูที่ต้องผันตัวเองมาลงเล่นตลาดออนไลน์และแบบซื้อกลับบ้าน ด้วยความที่ชาบูนั้นเป็นเมนูที่ลูกค้ารู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว จึงทำการตลาดได้ไม่ยาก

สำหรับท่านผู้ประกอบการ หรือผู้เริ่มต้นธุรกิจที่ต้องการจะเปิดร้านขายชาบูแบบเสียบไม้ หรือหาข้อมูลสำหรับเปิดร้านเล็กๆขายหลังจากที่เข้าสู่สถานการณ์ปกติ เราได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเปิดร้านขายชาบูเสียบไม้มาให้ท่านดังนี้

 

เปิดร้านขายชาบูเสียบไม้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง

  • ความหลากหลาย เลือกวัตถุดิบให้มีความหลากหลาย ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ลูกค้าจะได้มีตัวเลือกเยอะๆ ไม่รู้สึกจำเจ
  • ทำเลขาย เลือกทำเลขายที่เหมาะสม ทำเลที่ดีสามารถสร้างกำไรได้มากกว่าวันละ 500 บาท เน้นขายตามตลาดนัด ย่านชุมชน หน้าโรงเรียนหรือหน้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น
  • ควบคุมต้นทุน จัดสรรงบการลงทุนให้ครอบคลุม ทั้งต้นทุนวัตถุดิบ อุปกรณ์ ค่าแรงพนักงาน ตลอดจนเงินหมุนเวียนที่จำเป็นต้องใช้ในร้าน
  • มีสูตรน้ำซุป หลักการขายชาบู หัวใจสำคัญนอกจากความหลากหลายแล้ว น้ำซุปก็มีความสำคัญเช่นกัน น้ำซุปที่นิยม เช่น ซุปดำ ซุปใส ซุปต้มยำ เป็นต้น

เปิดร้านชาบูเสียบไม้มีอะไรบ้าง ?

ชาบูเสียบไม้ จุดเด่นคือยิ่งมีให้เลือกเยอะ ยิ่งน่าสนใจ เน้นความหลากหลาย เอาใจลูกค้า ตัวอย่างของ วัตถุดิบชาบูเสียบไม้ ขายดีมีดังนี้

  • เบคอนพันเห็ดเข็มทอง
  • ปลาหมึกกรอบ
  • ปูอัด
  • หมูสามชั้น
  • เต้าหูปลา
  • ลูกชิ้นสาหร่าย
  • ไส้กรอกไก่
  • กุ้ง
  • แฮม
  • เนื้อไก่
  • ลูกชิ้นหมู / ลูกชิ้นเอ็นหมู / ลูกชิ้นปลา
  • ปลาหมึก
  • ผักชนิดต่างๆ เช่น เห็ดออริจิน เห็ดเข็มทอง ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว คะน้า เป็นต้น

อุปกรณ์ขายชาบูเสียบไม้ มีอะไรบ้าง ?

  • หม้อสตูว์ หม้อสต็อกทรงสูง ราคาประมาณ 300 – 500 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาด)
  • ถาดสแตนเลส ราคาประมาณ 100 – 300 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาด)
  • ถ้วยกระดาษ ราคาประมาณ 50 – 100 บาท/แพ็ค
  • ตะเกียบไม้ ราคาประมาณ 20 บาท/แพ็ค
  • โต๊ะวางของ ราคาประมาณ 500 – 1,000 บาท
  • อุปกรณ์ไม้เสียบสําหรับใช้ทําบาร์บีคิว/ชาบูเสียบไม้ ราคาประมาณ 50 บาท (มีหรือไม่มีก็ได้ หากไม่ใช้เครื่องเสียบไม้ก็ใช้มือเสียบอาหารเอาก็ได้เช่นกัน)
  • อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถุงพลาสติก ที่คีบอาหาร กระตร้าเล็กสำหรับให้ลูกค้าเลือกอาหารใส่ เป็นต้น ใช้งบประมาณไม่เกิน 500 บาท

เปิดร้านชาบูเสียบไม้ลงทุนเท่าไหร่ ?

ลงทุนขายชาบูเสียบไม้ใช้งบประมาณ 5,000 – 10,000 บาท สำหรับเปิดร้านขายในตลาดนัด เปิดร้านขนาดเล็กๆ ตั้งโต๊ะขาย โดยให้แบ่งงบประมาณสำหรับวัตถุดิบ งบประมาณสำหรับอุปกรณ์ และเงินสำรองใช้ในแต่ละวัน

เปิดร้านชาบูเสียบไม้กําไร ?

ขายชาบูเสียบไม้สามารถสร้างกำไรได้มากกว่าวันละ 500 – 1,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทำเลขายเป็นหลักดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งรสชาติอาหาร ความหลากหลายของสินค้า ตลอดจนการบริการจากร้านและคนขาย ต้องมีใจบริการ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ การขายอาหารเวลาที่เร่งรีบลูกค้าอาจต้องรอนาน ฉะนั้นการพูดจากับลูกค้าด้วยถ้อยคำสุภาพ จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกเต็มใจที่จะรอได้อย่างไม่รู้สึกหงุดหงิด

ขายชาบูเสียบไม้ แหล่งซื้อวัตถุดิบ

  • ตลาดสด ตลาดสดขายสินค้าราคาส่ง จะมีขายทั้งเนื้อสัตว์และผักชนิดต่างๆ เหมาะสำหรับคนที่ซื้อเพื่อนำไปผลิตชาบูเสียบไม้เอง ข้อดีของการเดินตลาดสดคือเราสามารถเลือกซื้อสินค้าได้หลากหลาย ต่อรองราคาได้
  • ร้านขายส่งชาบูเสียบไม้ ออนไลน์ ปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้นมีร้านที่ขายส่งชาบูเสียบไม้ 5 บาท แบบสำเร็จรูปพร้อมขาย ข้อดีคือเราไม่ต้องเสียเวลามานั่งเสียบไม้เอง แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความสดใหม่ สะอาด ถูกหลักอนามัย ดูร้านที่น่าเชื่อถือ ทำสดใหม่ทุกวัน

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ตั้งราคาที่เหมาะสม เช่น ชาบูไม้ละ10บาท / ชาบูไม้ละ 20 บาท เป็นต้น ทั้งนี้ต้องดูให้เหมาะสมกับปริมาณและทำเลขาย
  • มีน้ำจิ้มรสเด็ด น้ำจิ้มชาบูนั้นต้องเน้นความจัดจ้านกำลังดี หากไม่ลงมือทำด้วยตัวเอง ก็สามารถซื้อจากร้านที่ผลิตน้ำจิ้มชาบูขายโดยตรง วิธีการนั้นให้ทดลองสั่งซื้อมาชิมดูก่อนว่าถูกปากหรือไม่ และลองให้คนอื่นๆชิมดูด้วย เพื่อขอคำแนะนำ ก่อนตัดสินใจซื้อ
  • มีสูตรน้ำซุป ผู้ประกอบการสามารถศึกษา ชาบูเสียบไม้วิธีทําน้ำซุปสูตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำซุปใส ซุปดำ ซุปต้มยำ เป็นต้น โดยสามารถเรียนรู้ได้จากช่องทางออนไลน์ เช่น YouTube, Facebook, Website เป็นต้น ซึ่งจะมีคลิบสอนทำน้ำซุปชาบูให้เรียนกันได้แบบฟรี ไม่ต้องเสียเงินไปเรียน
  • เพิ่มช่องทางขาย ผ่านทางสื่อโซเชียล ทั้ง Facebook, Line เป็นต้น เพื่อใช้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสาร แจ้งโปรโมชั่น หรือรับออเดอร์ล่วงหน้าจากลูกค้า เป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในวงกว้าง

ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นเพียงแค่ข้อมูลเบื้องต้นส่วนหนึ่งเพื่อให้ท่านผู้ประกอบการ ผู้เริ่มต้นธุรกิจ หรือผู้ที่กำลังมองหาอาชีพเสริมสร้างรายได้ สามารถนำไปประกอบการการพิจารณาลงทุน โดนสามารถปรับเปลี่ยนงบประมาณ รูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับความต้องการของท่านได้ตามใจชอบ

แสดงความคิดเห็น